ชุมชนแนวปฏิบัติ (CoP) สารสนเทศ ประจำปี พ.ศ. 2557

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปี พ.ศ. 2558

รอบที่ 42 : เดือนธันวาคม 2557
กิจกรรมเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk 10/ 2557)

หัวข้อการเสวนา : "PA 2558"
8:45 - 9:30 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ P114 ชั้น 1 ตึกฟิสิกส์

ลำดับ วัน-เดือน-ปี ผู้เสวนา
1 2 ธ.ค. 57

วรัษยา เอกสารประกอบการบรรยาย

2 4 ธ.ค. 57

อภิชัย

3 8 ธ.ค. 57

สมภพ

4 9 ธ.ค. 57

พิชิต

5 11 ธ.ค. 57

ณิชดาภา

6 12 ธ.ค. 57

ปิยะนันต์

7 16 ธ.ค. 57

กนกพร

8 17 ธ.ค. 57

บุญญาวดี

9 18 ธ.ค. 57

เฉลิมพันธุ์

10 19 ธ.ค. 57

ครรชิต

11 22 ธ.ค. 57

ดวงพร

12 23 ธ.ค. 57

อริศรา เอกสารประกอบการบรรยาย

13 29 ธ.ค. 57

นุชสรา

14 30 ธ.ค. 57

เฉิดฉันทร์

15 5 ม.ค. 58

สุภัคจิรา

16 6 ม.ค. 58

รัตน์ชนก

17 8 ม.ค. 58

สรวง

 

รอบที่ 41 : เดือนพฤศจิกายน 2557
กิจกรรมเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk 9/ 2557)

หัวข้อการเสวนา : "การเตรียมงาน Book Fair 2015 ของแต่ละทีม และ ความประทับใจมาเลเซีย ของข้าพเจ้า  (English Version)"
8:45 - 9:30 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ P114 ชั้น 1 ตึกฟิสิกส์

ลำดับ วัน-เดือน-ปี ผู้เสวนา
1 10 พ.ย. 57

ทีมกิจกรรมพิเศษ/วิทยากร/เอกสาร (วรัษยา, สุภัคจิรา)

2 11 พ.ย. 57

ความประทับใจมาเลเซีย ของข้าพเจ้า  (English Version) โดย เฉลิมพันธุ์

3 17 พ.ย. 57

ทีมผลิตสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อออนไลน์ (สื่อสิ่งพิมพ์/เว็บไซต์/สื่อออนไลน์)

4 18 พ.ย. 57

ความประทับใจมาเลเซีย ของข้าพเจ้า  (English Version) โดยกนกพร

5 24 พ.ย. 57

ทีมสถานที่ โสตทัศนูปกรณ์ และเวทีการแสดง (สรวง, พิชิต, ปิยะนันต์, ครรชิต)

6 25 พ.ย. 57

ทีมประสานงานการออกร้าน

7 27 พ.ย. 57

ความประทับใจมาเลเซีย ของข้าพเจ้า  (English Version) โดยปิยะนันต์

 

รอบที่ 40 : เดือนกันยายน 2557
กิจกรรมเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk 8/ 2557)

หัวข้อการเสวนา : "งานที่เรากำลังทำ -แล้วที่อื่นเขาทำอย่างไร" (Benchmarking)
8:45 - 9:30 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ P114 ชั้น 1 ตึกฟิสิกส์

ลำดับ วัน-เดือน-ปี ผู้เสวนา
1 29 ก.ย. 57

อภิชัย เรื่อง การดำเนินการงานพิพิธภัณฑ์ และจดหมายเหตุ

2 30 ก.ย. 57

วรัษยา เรื่อง การบริการสารสนเทศเชิงรุก

3 1 ต.ต. 57

เฉิดฉันทร์ เรื่อง ฐานข้อมูลผลงานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ (MUSC E-Publication Monitoring System)

4 2 ต.ต. 57

พิชิต เรื่อง การให้บริการเครื่องแม่ข่ายเสมือน (Virtualization Server)

5 7 ต.ต. 57

นุชสรา เรื่อง ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ (MUSC Expertise)

6 8 ต.ต. 57

ณิชดาภา เรื่อง งานพัฒนาทรัพยากรด้านการรับบริจาคสิ่งพิมพ์

7 9 ต.ต. 57

บุญญาวดี เรื่อง งานบริการทรัพยากรยืม-คืน

8 10 ต.ต. 57

ปิยะนันต์ เรื่อง การวิเคราะห์ช่องโหว่ของเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์

9 13 ต.ต. 57

กนกพร เรื่อง กระบวนการวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ (Catalog)

10 17 ต.ต. 57

รัตน์ชนก เรื่อง การบริการสำเนาเอกสารระหว่างห้อ งสมุด

11 20 ต.ต. 57

สุภัคจิรา เรื่อง ขั้นตอนการขออนุมัติจัดซื้อวารสารต่างประเทศ

12 24 ต.ต. 57

สมภพ เรื่อง การประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการ

13 27 ต.ต. 57

อริศรา  เรื่อง การประชาสัมพันธ์ภาพข่าวกิจกรรมบนเว็บไซต์ของคณะ

14 28 ต.ต. 57

เฉลิมพันธุ์ เรื่อง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Books)

15 29 ต.ต. 57

ครรชิต เรื่อง ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Databases)

16 30 ต.ต. 57

สรวง เรื่อง การอบรม IT Literacy

17 31 ต.ต. 57

ดวงพร เรื่อง Quiet Zone

 

รอบที่ 39 : เดือนกรกฎาคม 2557
กิจกรรมเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk 7/ 2557)

หัวข้อการเสวนา : "อ่านหนังสือบอกนิสัย!!"
8:45 - 9:30 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ P114 ชั้น 1 ตึกฟิสิกส์

ลำดับ วัน-เดือน-ปี ผู้เสวนา
1 15 ก.ค. 57 วรัษยา เรื่อง  ตามหา...หุ้นตัวแรก โดย ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์
อภิชัย เรื่อง  พม่ารบไทย: ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพ ม่า โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์
2 16 ก.ค 57 พิชิต เรื่อง นอกโจทย์โฆษณา - Beyond Advertising Path
กนกพร เรื่อง วรรณกรรมเยาวชน ชุด The Giver โดย Lois Lowry
3 21 ก.ค. 57 สรวง เรื่อง "สี่แผ่นดิน VS ร่มฉัตร : ความเหมือนและความต่าง"
สมภพ เรื่อง My Generation โดย สีลม
4 22 ก.ค. 57 ณิชดาภา เรื่อง ทิล ออยเลนชะปีเกล (ศรีธนญชัยเยอรมัน)
เฉลิมพันธุ์ เรื่อง ลุกขึ้นใหม่ หัวใจมีเธอ Matthew Quick เขียน / รัตนสุดา กิตติก้องนภางค์ แปล 
5 23 ก.ค. 57 ปิยะนันต์ เรื่อง  824 เรื่องราวของแปดชีวิตในยี่สิบสี่ชั่วโมง, งามพรรณ เวชชาชีวะ
บุญญาวดี เรื่อง รู้โรค รู้รักษา นอนหลับและนอนไม่หลับ
6 24 ก.ค. 57 รัตน์ชนก เรื่อง วินธัย (ศรีสุรางค์)
สุภัคจิรา เรื่อง  จัดระเบียบจัดระบบพบชีวิตที่ดีกว่า (Stephanie Culp เขียน / สมพิศ แดงโกเมน แปล)
7 25 ก.ค. 57 ครรชิต เรื่อง "ทำอย่างไร ให้สุขภาพจิตดี" โดย พุทธทาสภิกขุ
ดวงพร เรื่อง "เราจะมีชีวิตที่ดี" โดย ภานุมาศ ทองธนากุล 
8 28 ก.ค. 57 อริศรา เรื่อง "ชะตากรรมราชวงศ์เกาหลี" 
นุชสรา เรื่อง "Geisha, A Life"  แปลโดย เฉิดฉวี แสงจันทร์
9 30 ก.ค. 57 เฉิดฉันทร์ เรื่อง The Hunger Games Trilogy โดย Suzanne  

 

รอบที่ 38 : เดือนมิถุนายน 2557
กิจกรรมเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk 6/ 2557)

หัวข้อการเสวนา : "เข้าใจงานที่เพื่อนทำ"
8:45 - 9:30 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ P114 ชั้น 1 ตึกฟิสิกส์

ลำดับ วัน-เดือน-ปี ผู้เสวนา
1 23 มิ.ย. 57 วรัษยา : เฉลิมพันธุ์  
เฉิดฉันทร์ : ณิชดาภา
2 24 มิ.ย. 57 สรวง :  วรัษยา 
กนกทิพย์ :  สุภัคจิรา
3 26 มิ.ย. 57 พิชิต :  กนกพร
สมภพ :  รัตน์ชนก
4 30 มิ.ย. 57 ณิชดาภา :  ปิยะนันต์
5 1 ก.ค. 57 ครรชิต :  ดวงพร
ดวงพร :  เฉิดฉันทร์
6 2 ก.ค. 57 ปิยะนันต์ :  พิชิต
7 4 ก.ค. 57 สุภัคจิรา :  อภิชัย
บุญญาวดี :  ครรชิต
8 8 ก.ค. 57 รัตน์ชนก :  สมภพ
อริศรา :  บุญญาวดี 
9 9 ก.ค. 57 นุชสรา :  อริศรา
อภิชัย
 :  นุชสรา
10 10 ก.ค. 57 กนกพร :  สรวง

 

รอบที่ 37 : เดือนมิถุนายน 2557
กิจกรรมเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk 5/ 2557)

หัวข้อการเสวนา : "เล่าเรื่องงานให้เพื่อนฟัง ตอนที่ 1"
8:45 - 9:30 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ P114 ชั้น 1 ตึกฟิสิกส์

วัน-เดือน-ปี ผู้เสวนา
2 มิ.ย. 57

วรัษยา เรื่อง ช่องทางการติดต่อสื่อสารของบุคลากรภายในงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข http://intranet.sc.mahidol/stang/QA/Stang-Emergency.pdf" และการฟังเสียงลูกค้า (Voice of Customers) https://stang.sc.mahidol.ac.th/voc
อภิชัย เรื่อง สรุปความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ เรื่อง การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (Connecting Knowledge: Library, New Media & Technology) https://stang.sc.mahidol.ac.th/kb/?p=256

4 มิ.ย. 57

เฉิดฉันทร์ , พิชิต เรื่อง เสนอร่างการเขียนบทความ เรื่อง การพัฒนาระบบตรวจสอบและวิเคราะห์สารสนเทศผลงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUSC E-Publication Monitoring System Development)

5 มิ.ย. 57

กนกทิพย์ เรื่อง นำเสนอประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับจากการไปเข้าร่วมสัมมนาเรื่อง "การพัฒนาบุคลิกภาพและการสร้างความประทับใจเพื่องานบริการที่เป็นเลิศ" ณ อาคารสำนักงาน สภาคริสจักรในประเทศไทย จัดโดย ศูนย์วิทยบริการและหอสมุด มหาวิทยาลัยคริสเตียน
กนกพร เรื่อง นำเสนอการ update ข้อมูล holding ของสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องรายปี ใน collection หมวด W1 ที่บอกรับให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน โดยทำการ update ในเว็บห้องสมุด http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/book.htm ฐานข้อมูล Library Catalog (INNOPAC)  http://library.mahidol.ac.th/ และระบบ Journal Link http://www.journallink.or.th/

6 มิ.ย. 57

ณิชดาภา เรื่อง แนะ นำให้รู้จักกิจการของ มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย (Books for Thailand Foundation) ซึ่งบริจาคหนังสือภาษาอังกฤษประเภทต่างๆ โดยรับหนังสือมาจากมูลนิธิ Asia Foundation ปัจจุบันมููลนิธิหนังสือเพื่อไทย ย้ายสำนักงานจากธนาคาร SCB สาขาอังรีดูนังต์ มาอยู่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ เว็บไซต์ http://www.bft.or.th/ Facebook: https://www.facebook.com/BooksForThailandFoundation
สรวง เรื่อง แนะ นำระบบฐานข้อมูล ที่ใช้ในการบริหารจัดการห้องอบรมคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การสมัครสมาชิกใหม่ ประกาศตารางหัวข้อการจัดอบรม รับลงทะเบียนสำรองที่นั่ง และสรุปสถิติการจัดอบรมประจำปี http://stang.sc.mahidol.ac.th/AIT/ituserclub/

10 มิ.ย. 57

รัตน์ชนก เรื่อง อธิบาย flow chart ขั้นตอนการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ คืองานบริการสำเนาเอกสารระหว่างห้องสมุด ซึ่งมีทั้งหมด 12 ขั้นตอน มีลูกค้าสำคัญที่ใช้บริการ ได้แก่ ห้องสมุดทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ศูนย์ซินโครตรอน กรมวิทยาศาสตร์บริการ STKS สวทช เป็นต้น และเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีรายรับจากการบริการ จึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการตรวจสอบประจำปีจากงานตรวจสอบภายในของ คณะด้วย
สมภพ เรื่อง อธิบาย ผลการประเมินกิจกรรม Book Shopping Day ที่ผ่านมา เป็นกิจกรรมพาอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร ไปร้านหนังสือชั้นนำ เช่น Booknet ศูนย์หนังสือจุฬาฯ PB for Books เพื่อร่วมพิจารณาคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด เมื่อวันที่ 7, 14, 21 พฤษภาคม 2557 http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/photo-May57-7.htm (การนำเสนอครั้งนี้ ได้ทดลองใช้โปรแกรมสร้าง Infographic เป็นเครื่องมือในการทำ presentation)

11 มิ.ย. 57

ครรชิต เรื่อง นำเสนอเว็บเพจที่ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ เว็บ e-journals A-Z http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/ejournal.htm และเว็บรายชื่อห้องสมุดในประเทศไทย http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/library.htm ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ สำหรับรายชื่อห้องสมุดที่เป็นภาษาไทย จะแสดงที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อด้วย
ดวงพร เรื่อง เสนอรายงานการดำเนินงานคัดวารสารชื่อที่ไม่มีการใช้งานออกจากชั้น จำนวน 82 ชื่อ จาก 1,092 ชื่อ และนำเสนอโครงการปรับปรุงป้ายข้างชั้นวารสาร ปรับปรุงป้ายแสดงชื่อวารสารที่ชั้นวางวารสาร  และแสดงเว็บไซต์สถิติการยืมวารสารสูงสุด http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/mostusedjournal.htm

13 มิ.ย. 57

เฉลิมพันธุ์  เรื่อง นำเสนอเว็บเพจที่ปรับปรุงใหม่ (ทำแทนอาจารย์สรวง) คือ คลังความรู้สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Institutional Repositoies) http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/IR.htm 
ปิยะนันต์ เรื่อง แนะนำเทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานโปรแกรม Windows 8

16 มิ.ย. 57

สุภัคจิรา เรื่อง แนะนำโปรแกรมจดสถิติรายงานเวลาเข้าออกงาน ATIMS (Attendance & Time Management System) http://10.9.22.201/ATIMS/Home.aspx ระบบลาอิเล็กทรอนิกส์ http://database.sc.mahidol/ILeave/ ระเบียบ เกี่ยวกับสิทธิในการลา มาสาย ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาคลอด ลาอุปสมบท ลาไปปฏิบัติธรรม และระเบียบที่เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ มีผลจากการลามาสาย

17 มิ.ย. 57

อริศรา เรื่อง แนะ นำให้รู้จักกับเว็บต่างๆที่น่าสนใจ ในเว็บไซต์ของคณะทั้ง SC internet และ SC intranet เช่น Mahidol University Visual Identity Guideline http://intranet.sc.mahidol/Identity/index.htm สื่อสารถึงกัน http://www.sc.mahidol.ac.th/e-magazine/ หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา http://www.sc.mahidol.ac.th/health/ ของที่ระลึกคณะวิทยศาสตร์ http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/souvenirs.htm ระบบใบแจ้งรายได้ http://e-payslip.mahidol/PaySlip/ ระบบใบลาอิเล็กทรอนิกส์ http://database.sc.mahidol/ILeave/ เว็บ KM http://www.sc.mahidol.ac.th/SCKM/index.htm และรายชื่อผู้ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/award/index.htm
นุชสรา เรื่อง เล่าประสบการณ์ความรู้ที่ได้รับจากการไปอบรมเชิงปฏิบัติแผนกลยุทธการสื่อ สารมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2557  เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 57 วิทยากรโดย ทีมงานบริษัท เป็นสุข จำกัด เกี่ยวกับเรื่องการสร้างแบรนด์ของมหิดล ปัญหาและแนวทางแก้ไข http://stang.sc.mahidol.ac.th/kb/?p=268

17 มิ.ย. 57

บุญญาวดี เรือง

 

รอบที่ 36 : เดือนพฤษภาคม 2557
กิจกรรมเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk 4/ 2557)

หัวข้อการเสวนา : "เล่าเรื่องงานให้เพื่อนฟัง ตอนที่ 4"
8:45 - 9:30 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ P114 ชั้น 1 ตึกฟิสิกส์

วัน-เดือน-ปี ผู้เสวนา
2 พ.ค. 57

วรัษยา เรื่อง รายงานความคืบหน้าการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำเว็บไซต์ผลงานวิจัยสู่สังคม (MUSC-USR) http://www.sc.mahidol.ac.th/USR ที่ผ่านมามีอาจารย์เขียนบทความใหม่มาส่ง 3 ภาควิชา 7 เรื่อง และนำเรื่องเก่าที่อาจารย์เคยแถลงข่าวไปแล้วมาจากงานประชาสัมพันธ์ รวมทั้งเรื่องเก่าที่เคยมีอยู่แล้วจากเว็บ http://wisdom.sc.mahidol.ac.th ขณะนี้กำลังทำหนังสือเวียนขอความอนุเคราะห์เพิ่มเติมจากภาควิชาต่างๆ

อภิชัย เรื่อง รายงานความคืบหน้าโครงการ digitize วารสารต่างประเทศฉบับเก่าย้อนหลัง ซึ่งกำลังทยอยทำ โดยมีรัตน์ชนก และสุภร ทำหน้าที่ scan บทความ และเก็บบทความไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปของ PDF 

6 พ.ค. 57

พิชิต เรื่อง นำเสนอแนวความคิดในการจัดทำระบบฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์เพื่อรองรับโครงการ digitize วารสารต่างประเทศฉบับเก่าย้อนหลัง (ของอภิชัย) ในเบื้องต้นได้ศึกษาข้อมูลและขอนำเสนอการใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนเครือ ข่ายที่เรียกว่า NAS (Network Attached Storage) ที่ใช้ harddisk tray แบบ 8 Bays จำนวน 2 ตัว เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล มีพื้นที่ในการจัดเก็บในหลัก terabytes และใช้ซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูลแบบ open source ส่วนราคาของระบบคาดว่าอยู่ในหลักประมาณ 200,000-300,000 บาท 

เฉิดฉันทร์ เรื่อง อธิบายสรุปประโยชน์ของการให้บริการฐานข้อมูล MUSC e-Publications ซึ่งพัฒนาร่วมกับพิชิต ว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารจากฝ่ายต่างๆ เช่น งานวิจัย (ค้นหานักวิจัยที่มีผลงานเหมาะสมเพื่อเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล) งานบริหารและธุรการ (ตรวจสอบผลงานวิจัยของอาจารย์เพื่อเลื่อนระดับเงินเดือนและตำแหน่งทาง วิชาการ) งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ (วิเคราะห์ข้อมูลผลงานวิจัยของคณะประกอบการจัดทำ EdPEx, KPI และแผนงานต่างๆ) เป็นต้น โดยทั่วไปโปรแกรมสามารถสืบค้นได้ตามต้องการ ยกเว้นบางครั้งที่คำถามมีความซับซ้อน ไม่สามารถค้นคำตอบได้โดยตรง จะขอให้พิชิตทำ query และทำเพิ่มเติมด้วยวิธีกึ่ง manual ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

7 พ.ค.57

สมภพ เรื่อง เสนอระบบ Library's Suggestion Box ซึ่งทำเสร็จแล้ว โดยความร่วมมือของปิยะนันท์ และเฉิดฉันทร์ อยู่ที่เว็บไซต์ http://stang.sc.mahidol.ac.th/suggestion

8พ.ค. 57

อริศรา   เสนอเว็บแนะนำอาจารย์ใหม่ (New Academic Staff) http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/academics/NewAcademicStaff.htm

นุชสรา  เสนอเว็บ MUSC Talent Management 2014 http://www.sc.mahidol.ac.th/tha/talents

12 พ.ค. 57

กนกพร เรื่อง แนะนำคู่มือออนไลน์ที่ใช้ในการวิเคราะห์หมวดหมู่และให้หัวเรื่อง ทั้งระบบ LC http://catalog.loc.gov/ และระบบ NLM (คู่มือ NLM Classification 2014 และ Medical Subject Headings อยู่ที่ http://www.nlm.nih.gov/tsd/cataloging/mainpge.html) ต่อไปกำลังจะนำระบบ RDA มาใช้ สำหรับวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งเป็นมาตรฐานการลงรายการแบบใหม่ที่จะมาแทน AACR2 และ MARC 21 ส่วนคู่มือหนังสือภาษาไทย จะใช้คู่มือออนไลน์ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา http://thaiccweb.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php

กนกทิพย์   เรื่อง แนะนำข้อมูลที่ควรรู้สำหรับบุคลากรเข้าใหม่ เช่น สวัสดิการรักษาพยาบาล สวัสดิการด้านการเงิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การประเมินผลการทดลองงาน ผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ของกองทรัพยากรบุคคล ของมหาวิทยาลัย http://www.op.mahidol.ac.th/orpr/

14 พ.ค. 57

ปิยะนันต์ เรื่อง นำ เสนอข้อมูลจากการสำรวจความแรงของสัญญาณ Wifi (Wireless Site Survey) ในบริเวณชั้น 1,2,3 ของอาคารห้องสมุด  ซึ่งจะเก็บข้อมูลเป็นระยะทุกเดือน เพื่อสำรวจดูว่า บริเวณใดบ้างภายในห้องสมุดที่มีสัญญาณ Wifi น้อยเกินไป เพื่อจะได้ปรับปรุงการบริการให้แก่นักศึกษา  

16 พ.ค. 57

ณิชดาภา, รัตน์ชนก  เรื่อง flowchart ระเบียบปฏิบัติ และคู่มือการปฏิบัติงาน (Procedure & Work Manual) ของศูนย์รับบริจาคฯ ฉบับสมบูรณ์ ที่มีรายละเอียดครบทุกขั้นตอน 

19 พ.ค. 57

ครรชิต เรื่อง เสนอผลการปรับปรุงเว็บเพจ แก้ไขและเพิ่มเติมรายชื่อห้องสมุดในประเทศไทย http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/library.htm                       

เฉลิมพันธุ์ เรื่อง เสนอความคืบหน้าในการจัดทำ MUSC IR ด้วยโปรแกรม DSPACE ในส่วนของการบันทึกข้อมูล โดยได้จำแนก communities ออกเป็น 13 ภาควิชาและ 1 สำนักงานคณบดี  และจำแนก collections ออกเป็น บทความจากวารสารวิชาการระดับนานาชาติ บทความจากวารสารระดับชาติ  และรายงานการประชุมวิชาการ ในเบื้องต้นได้ทดลองบันทึกข้อมูลเข้าไป 4 รายการ โดยใช้มาตรฐาน Dublin Core Metadata Elements ซึ่งประกอบด้วยรายการที่แสดงลักษณะพื้นฐานของสารสนเทศ 15 ข้อ รวมทั้งการ ตั้งชื่อไฟล์เอกสาร PDF และการใส่ properties ของไฟล์ให้ถูกต้องตามมาตรฐานดิจิทัล     

สรวง  เรื่อง แนะนำเครื่องมือตรวจสอบการคัดลอกทางวิชาการ (plagiarism detection tools)  ชนิดต่างๆ เช่น Turnitin, อักขราวิสุทธิ์ ของจุฬา, CopyCat ของ สวทช, Plagiarism detector ฯลฯ และสาธิตการตรวจสอบการคัดลอกข้อความในบทความทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ข้อดีข้อเสียแต่ละโปรแกรม รวมทั้งการใช้ google ในการตรวจสอบด้วย

20 พ.ค. 57

สุภัคจิรา เรื่อง ขั้นตอนการจัดทำเอกสารเพื่อขออนุมัติจัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
บุญญาวดี เรือง สาธิตระบบการสมัครสมาชิกห้องสมุดแบบดิจิทัล (Library User Registration - Digital version) ซึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้ว    
ดวงพร เรื่อง แนะนำฐานข้อมูลและบริการสืบค้นต่างๆ ผ่าน mobile devices ได้แก่ Turnitin on iPad, EndNote on iPad, iMathematics เป็นต้น

 

รอบที่ 35 : เดือนเมษายน 2557
กิจกรรมเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk 3/ 2557)

หัวข้อการเสวนา : "เล่าเรื่องงานให้เพื่อนฟัง ตอนที่ 3"
8:45 - 9:30 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ P114 ชั้น 1 ตึกฟิสิกส์

วัน-เดือน-ปี ผู้เสวนา
11 เม.ย. 57

วรัษยา เรื่อง นำเสนอรายระเอียดของรายวิชาวิชา SCID 202 การเรียนรู้สารสนเทศขั้นพื้นฐาน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์
นำเสนอรายระเอียดของรายวิชา SCID 202 การเรียนรู้สารสนเทศขั้นพื้นฐาน (Basic Information Literacy) วิชาเลือก 1 หน่วยกิต สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์  ซึ่งเป็นหลักสูตรแบบ double degree กับมหาวิทยาลัย Sussex สหราชอาณาจักร รายวิชาดังกล่าว ประกอบด้วย 5 modules คือ 1. Current status and future trends of ICT สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของ ICT 2. Essential applications / softwares ซอฟแวร์และการประยุกต์ใช้ 3. Information retrieval from internet การค้นคืนสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต 4. Information ethics จริยธรรมสารสนเทศ 5. Special seminar / current topics บรรยายพิเศษหัวข้อที่น่าสนใจในปัจจุบัน 

สรวง เรื่อง Google Analytic
นำ เสนอวิธีการใช้เครื่องมือ Google Analytics ในการตรวจวัดสถิติการใช้งานเว็บเพจต่างๆ และพฤติกรรมผู้เข้าใช้เว็บไซต์ของคณะและของห้องสมุดโดยละเอียด เช่น Audience overview, Acquisition, Behavior, In-page analytics และ Real-time overview เป็นต้น http://www.google.com/analytics/

18 เม.ย. 57

พิชิต เรื่อง ระบบจองเครื่องมือ CIF (Phase 2)
รายงานความคืบหน้าของการพัฒนาระบบจองเครื่องมือ CIF Online Booking System มีการแบ่งผู้มีสิทธิเข้าใช้ระบบเป็น 3 กลุ่ม คือ admin, staff และ user ซึ่งหากเป็นนักศึกษาจะต้องได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน การพัฒนาโปรแกรมมีความคืบหน้าไปมาก โดยจะประสานกับเจ้าหน้าที่ของ CIF เป็นระยะ เพื่อให้โปรแกรมสามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ (รายละเอียดความคืบหน้า จะนำมารายงานใน morning talk ครั้งต่อไป)         

สมภพ เรื่อง Stang Library Shopping Books Day
นำเสนอโครงการจัดกิจกรรม Stang Library Shopping Books Day ซึ่งเป็นการนำอาจารย์ พนักงาน และนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ เดินทางไปคัดเลือกหนังสือ ที่ร้านหนังสือชื่อดัง 3 แห่ง คือ BookNet, PB, ศูนย์หนังสือจุฬา เนื่องจากปีนี้เรางดการจัดงานบุ๊คแฟร์ทำให้อาจารย์และนักศึกษาไม่มีโอกาสคัด เลือกหนังสือเท่าที่ควร กิจกรรมนี้กำลังอยู่ในระหว่างการประชาสัมพันธ์ จัดสรรในเรื่องรถรับส่ง และเชิญชวนให้สำรองที่นั่งทางออนไลน์

22 เม.ย. 57

กนกพร เรื่อง แนะนำงานที่รับผิดชอบ และโครงการที่จะทำ
เล่าเรื่องงานที่กำลังทำ คือ งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ (หนังสือใหม่ และหนังสือบริจาค) โดยในช่วงแรกจะลงรายการใน worksheet และรับการตรวจสอบจากพี่หนูเล็ก (ณิชดาภา) จบการศึกษา ศศ.บ (สารสนเทศศึกษา) จากมหาวิทยาลัยบูรพา และเคยเรียนด้านการวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศด้วยระบบ LC มาแล้ว แต่ยังไม่เคยใช้ระบบ INNOPAC และฝึกการให้หัวเรื่องโดยใช้คู่มือที่เป็นตัวเล่ม จึงยังไม่คุ้นเคยกับการใช้คู่มือออนไลน์มากนัก วันพรุ่งนี้จะติดตามพี่หนูเล็กไปร่วมประชุมคณะทำงาน catalog ที่หอสมุดศาลายาด้วย เพื่อทำความรู้จักกับรุ่นพี่บรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์ฯจากคณะ ต่างๆ และได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมประชุม

กนกทิพย์ เรื่อง แนะนำงานที่รับผิดชอบ และโครงการที่จะทำ
เล่าเรื่องงานที่กำลังทำ คือ การทำข้อมูลทะเบียนครุภัณฑ์ และข้อมูลการพัฒนาบุคลากรสถิติการส่งบุคลากรไปอบรม ประชุม สัมมนาทางวิชาการ / ศึกษาดูงาน  เคยมีประสบการณ์ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งดูแลงานด้านเลขานุการ จดรายงานการประชุม และงานอื่นๆ ด้วย ลักษณะงานค่อนข้างจะแตกต่างกัน ใน morning talk คราวหน้า จะศึกษาข้อมูลระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรและด้านอื่นๆที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มา เล่าสู่กันฟัง 

23 เม.ย. 57

ปิยะนันต์ เรื่อง DSpace (Phase 2)

รายงาน ความคืบหน้าของการติดตั้งโปรแกรม DSPACE (ต่อจากคราวที่แล้ว) ได้ทดลองใส่ข้อมูลเข้าไป 2 รายการ และแสดงผลออกมาเป็นรายการบรรณานุกรม บทคัดย่อ และ full-text ของบทความวิจัย ได้อธิบายโครงสร้างของโปรแกรม และแนะนำรายละเอียดของ Mahidol IR ที่หอสมุดศาลายาจัดทำขึ้น ในขั้นตอนต่อไป จะประสานงานกับพี่เจ (เฉิดฉันทร์) ในการนำข้อมูลบทความวิจัยของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ที่ตีพิมพ์ในวารสารภาษาไทย หนังสือ และรายงานการประชุมวิชาการ ใส่ในระบบ DSPACE เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น และนำขึ้นอินเทอร์เน็ตต่อไป

22 เม.ย. 57

ดวงพร เรื่อง Apps ในการสืบค้นฐานข้อมูลทางวิชาการด้วย mobile devices ที่เป็น iOs (Phase 2)
นำ เสนอความคืบหน้าในการจัดทำคู่มือการใช้งาน Application วารสารและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ใช้ ระบบปฏิบัติการ iOS (iPhone / iPad) http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/mobile.htmในการใช้ผ่านระบบ Wifi ภายในมหิดล และใช้ผ่านระบบ VPN ด้วย Juniper App. จากภายนอกมหาวิทยาลัย
ครรชิต เรื่อง แนะนำคู่มือแนะนำวิธีการสืบค้น และหนังสือพิมพ์ ทีวี และสื่อ
แนะนำเว็บเพจของห้องสมุดที่ปรับปรุงใหม่ คือ  คู่มือแนะนำวิธีการสืบค้น http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/guide.htm และหนังสือพิมพ์ ทีวี และสื่อ http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/newspaper.htm

25 เม.ย. 57

ณิชดาภา, รัตน์ชนก เรื่อง นำเสนอรายละเอียดของ Flow Chart คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) ของศูนย์รับบริจาคฯ ฉบับสมบูรณ์
นำเสนอความคืบหน้าในการจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน Flow Chart ของศูนย์รับบริจาคฯ โดยละเอียด แสดงให้เห็นรายชื่อของผู้รับผิดชอบหลักและผู้ร่วมงานแต่ละขั้นตอน ในครั้งต่อไป น่าจะสามารถสรุป flow chart ฉบับสมบูรณ์ได้ เพื่อจะได้นำไปใช้งานต่อไป

29 เม.ย. 57

สุภัคจิรา เรื่อง แนะนำวิธีการเข้าใช้สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ MUSIS

แนะนำวิธีการเข้าใช้สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ SC-MUSIS จากเว็บห้องสมุดสตางค์ พร้อมสาธิตการใช้งานจริงในการ download PDF ของเอกสารเพื่ออ่านและสั่งพิมพ์ ปัญหาคือ บุคลากรที่เข้าใหม่บางคนยังไม่มี account หรือมีแล้ว แต่ยังไม่ได้เพิ่มชื่อในระบบ SC-MUSIS ฝากให้พิชิตไปช่วยติดต่อประสานงานกับฝ่ายพัฒนาระะบบ

บุญญาวดี เรือง รายงานความคืบหน้าของระบบสมัครสมาชิกห้องสมุดแบบดิจิทัล 
รายงานความคืบหน้าของระบบสมัครสมาชิกห้องสมุดแบบดิจิทัล ขณะนี้ระบบใกล้จะเสร็จแล้ว โดยความร่วมมือขอปิยะนันต์ (โย) ในการพัฒนาโปรแกรม นักศึกษาสามารถพิมพ์กรอกข้อมูลประวัติได้ด้วยตนเอง จากนั้นใช้กล้องถ่ายรูปดิจิทัลที่ติดบนจอคอมพิวเตอร์สแกนและถ่ายภาพได้ทันที รวมทั้งการสแกนบาร์โค้ด และถ่ายบัตรนักศึกษาเพื่อเป็นหลักฐาน จะมีการปรับปรุงโปรแกรมอีกเล็กน้อย และเปิดใช้งานได้เร็วๆน

30 เม.ย. 57

อภิชัย เรื่อง รายงานความคืบหน้าของการปรับปรุงสถานที่หอเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น (Hall of Fame)
รายงาน ความคืบหน้าของการปรับปรุงสถานที่หอเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น (Hall of Fame) ซึ่งใกล้จะแล้วเสร็จ จะพยายามทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนวันสถาปนาคณะ ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ (มีพิธีสงฆ์เจิมป้าย)  phase ต่อไปจะนำรายชื่อคณาจารย์ที่ได้รับรางวัลอื่นๆ มาจัดทำ Hall of Fame ในรูปแบบดิจิทัล และให้เข้าชมผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์จอ touch screen 

เฉิดฉันทร์ เรื่อง แนะนำฐานข้อมูล MUSC e-Publications
แนะนำฐานข้อมูล MUSC e-Publications ของคณะวิทยาศาสตร์ ที่พัฒนาร่วมกับพิชิต เป็นระบบการสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยของคณะที่มีการลงรายการอย่างละเอียด เพื่อให้ผลการสืบค้นมีลักษณะ dynamic สามารถตอบโจทย์ของผู้บริหารและการประกันคุณภาพได้ตามต้องการ

25 เม.ย. 57

อริศรา, นุชสรา เรื่อง แนะนำเครื่องมือ Majestic SEO และ Ahrefs สำหรับพัฒนาเว็บไซต์ และ Social Media Web Metrics

อริศรา แนะนำเครื่องมือ  Ahrefs ที่ใช้สำหรับตรวจสอบ impact หรือ visibility ของเว็บไซต์ โดยดู external inlinks ที่เชื่อมโยงมายังเว็บเพจต่างๆ ในเว็บไซต์ของคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่ง Ahrefs - Site Explorer & Backlink Checker https://ahrefs.com เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้วยระบบ Webometrics Rankings

นุชสรา แนะนำวิธีการวัดสถิติการเข้าใช้ Social Media โดยเฉพาะ Facebook FanPage ซึ่งสามารถวัดได้โดยละเอียด เพื่อติดตามผลการเข้าใช้บริการและนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงการจัดทำเว็บไซต์ ร่วมกับงานประชาสัมพันธ์ต่อไป

 

รอบที่ 34 : เดือนมีนาคม 2557
กิจกรรมเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk 2/ 2557)

หัวข้อการเสวนา : "เล่าเรื่องงานให้เพื่อนฟัง ตอนที่ 2"
8:45 - 9:30 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ P114 ชั้น 1 ตึกฟิสิกส์

วัน-เดือน-ปี ผู้เสวนา
17 มี.ค. 57

วรัษยา เรื่อง MUSC-USR
แนะนำงานที่กำลังทำ คือ เว็บไซต์ผลงานวิจัยสู่สังคม http://www.sc.mahidol.ac.th/USR ขอให้อาจารย์ช่วยกันเขียนบทความในเชิงวิชาการ ภาควิชาละ 3 ท่าน โดยมีกองบรรณาธิการคือ อาจารย์โจ้ อาจารย์จามร อาจารย์ดวงใจ อาจารย์ปูเป้ ช่วย rewrite เพื่อให้คนทั่วไปได้อ่าน ทีมที่ทำงานนี้คือ เอ ไก่ ตาล นำขึ้นบล็อกโดยใช้ model จากเว็บไซต์ผลงานวิจัยสู่สังคมของคณะเภสัชศาสตร์ และ monitor สถิติ เพื่อเก็บ KPI ปลายปี จะคัดมา 56 เรื่อง เพื่อทำหนังสือฉลองคณะวิทย์รอบ 56 ปี ในวันที่ 21 ต.ค. 57 นี้ เพื่อเอาไปแจกจ่าย สำหรับอาจารย์ผู้เขียนบทความจะได้รับ Apps ฟรีจากทางคณะ ถ้าจำนวนบทความไม่ถึงเป้า อาจจะนำเอาบทคัดย่อผลงานวิจัยภาษาไทย ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากงานวิจัย มา re-write เพิ่มเติม กำลังหาโปรแกรมมานับจำนวนคนเข้ามาอ่าน ขณะนี้มีจำนวนบทความได้รับและนำขึ้นบล็อกไปแล้ว 3-4 เรื่อง

อภิชัย เรื่อง นิทรรศการถาวร Rockefeller
งานที่กำลังทำ คือ เว็บไซต์คลังความรู้จดหมายเหตุ  และเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ Stang Museum http://stang.sc.mahidol.ac.th/stangmuseum ซึ่ง ทำร่วมกับอริศรา (ปุ้ย) แนอกจากนั้นกำลังเตรียมจัดทำนิทรรศการถาวรมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ ที่ห้อง RF ตามคำขอของงานความร่วมมือ

1 เม.ย. 57

พิชิต เรื่อง ระบบจองเครื่องมือ CIF
งานที่กำลังทำ คือ ระบบจองเครื่องมือหน่วยเครื่องมือกลาง CIF Online Booking System ซึ่งทำร่วมกับเจ้าหน้าที่ของงานวิจัย และหน่วยเครื่องมือกลาง เครื่องมือที่ใช้พัฒนาคือ PHP และ MySQL ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม และคาดว่าจะทดสอบการใช้งานได้ในเดือนพฤษภาคมนี้

เฉิดฉันทร์ เรื่อง Scival
สาธิตการ download เอกสารแจกสำหรับบุคลากรทุกคน บน Google Drive (folder Stang Document) แนะนำวิธีการ download เอกสาร Stang Mongkolsuk Emergency Call Tree 2014 / แนะนำเว็บไซต์ใหม่ของห้องสมุด คือ แหล่งสารสนเทศงานวิจัยและพัฒนา/สู่ภาคเอกชน http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/industry.htm / แนะนำฐานข้อมูลเพื่อการบริหารงานวิจัยของบริษัท Elsevier ที่มีชื่อว่า SciVal http://www.scival.com

2 เม.ย. 57

สมภพ เรื่อง User's Suggestion System
นำเสนอระบบรับความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ (Suggestion Box) http://stang.sc.mahidol.ac.th/suggestion/ โดย ทำงานร่วมกับปิยะนันต์ (โย) ในการเขียนโปรแกรมพัฒนาระบบกล่องรับความคิดเห็น เมื่อมีผู้ใช้บริการกรอกข้อความจะถูกส่งเข้าอีเมลของต๊ะโดยอัตโนมัติ ขั้นตอนต่อไปคือ ให้เฉิดฉันทร์ (เจ) ช่วยปรับรูปแบบของเว็บเพจให้สวยงามและทำ banner ให้ตรงกับ suggestion box ต๊ะจะเขียนคำอธิบายต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจวัตถุประสงค์มากขึ้น (โดยดูแนวทางจากเว็บไซต์ของบริษัทต่างๆที่มีการสำรวจความคิดเห็นลูกค้า) ทำการเชื่อมโยงกล่องรับความคิดเห็น กับเว็บเพจอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันภายในเว็บไซต์ของห้องสมุด เช่น คำติชมจาก FB และ user survey เป็นต้น เมื่อเสร็จแล้วจะทำการประชาสัมพันธ์เว็บเพจและติดตามผลการใช้งาน

สรวง เรื่อง MOOCS-Online Courses และเรื่อง Institutional Repositories (IR)
นำเสนอความคืบหน้าของเว็บเพจ Institutional Repositories (IR) http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/IR.htm ซึ่งขณะนี้กำลังทำการสำรวจเว็บ IR ที่มีความเหมาะสม เขียนคำอธิบายและส่งให้นุชสรา (ตาล) update ขึ้นในเว็บ ส่วนเว็บเพจ MOOCs http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/moocs.htm ดำเนิน การเสร็จแล้ว ตาลได้ทำการ update รายวิชาต่างๆ ที่เหมาะสมกับคณะวิทยาศาสตร์ ขึ้นในเว็บเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะทำการตกแต่งโดยเพิ่มภาพประกอบแต่ละรายวิชา เพื่อให้สื่อความหมายมากยิ่งขึ้น

3 เม.ย. 57

ปิยะนันต์ เรื่อง DSpace
นำเสนอข้อมูลเกี่ยว กับระบบ DSpace และระบบ Dataverse Network สำหรับจัดทำคลังความรู้สถาบัน Institutional Repositories (IR) จากการศึกษาข้อมูลจาก http://repositories.webometrics.info/ พบว่า มีสถาบันต่างๆจากทั่วโลกจำนวนกว่า 1,000 แห่งที่ใช้โปรแกรม DSPACE@MIT  ประเทศไทยมีหลายแห่ง เช่น ม.อ. จุฬา ธรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม ม.สุรนารี ส่วนมหิดลใช้โปรแกรม DSPACE เช่นกัน แต่ไม่ติดอันดับ เช่น ที่หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.arms.mahidol.ac.th/ โปรแกรม DSPACE ค่อนข้างยืดหยุ่นและใช้สำหรับข้อมูลหลากหลายประเภท มีชุมชุน (community) ผู้ใช้โปรแกรม DSPACE สำหรับปรึกษาหารือในการแลกเปลี่ยน source code ขณะนี้ได้ทดลองลงโปรแกรม DSPACE เพื่อทดลองใช้บ้างแล้ว จะรายงานความคืบหน้าให้ทราบต่อไป ส่วนระบบ Dataverse Network ของ Harvard ซึ่งเป็นโปรแกรมใหม่กว่า ได้ลองศึกษาพบว่า โปรแกรมยังไม่ได้รับความนิยม และไม่ยืดหยุ่นเท่ากับ DSPACE

4 เม.ย. 57

สุภัคจิรา เรื่อง Flow Chart การดำเนินงานขอบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัย
นำเสนอวิธีการทำ flow chart ขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยใช้วิธีจัดทำตามมาตรฐานที่เคยได้รับการฝึกอบรมมา -- ตัวอย่างที่นำเสนอเป็น flow chart ของการทำเรื่องขออนุมัติบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆโดยละเอียด ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน รวมทั้งชื่อผู้รับผิดชอบดำเนินการ ทั้งจากงานสารสนเทศฯ และจากงานบริหารและธุรการ flow chart ดังกล่าวต่อไปสามารถเย็บเป็นเล่ม คู่มือการปฏิบัติงาน (Operating Manual) ได้ โดยแทรกตัวอย่างเอกสารประกอบ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำไปปฏิบัติได้ นอกจากนั้นจะทำ flow chart ของงานอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย (ผู้สนใจวิธีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามมาตรฐาน สามารถ download เอกสารได้จาก Google Drive ที่ Folder ชื่อ Stang Document)

บุญญาวดี  เรื่อง ทำบัตรสมาชิกใหม่ด้วยกล้องดิจิตอล
นำเสนอเรื่อง การทำบัตรสมาชิกห้องสมุดด้วยระบบดิจิทัล วัตถุประสงค์คือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำบัตรสมาชิกแก่นักศึกษา ทำบัตรได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องนำรูปถ่ายมาเอง และลดการใช้กระดาษ ขั้นตอนคือ เมื่อนักศึกษานำบัตรประจำตัวมายื่นที่เคาน์เตอร์ ตรวจสอบหลักฐานการจ่ายค่าลงทะเบียนเรียนเรียบร้อยแล้ว นักศึกษาจะ key ข้อมูลของตนเองเข้าในฐานข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หน้าเคาน์เตอร์ จากนั้นถ่ายรูปติดบัตรด้วยกล้องถ่ายรูปดิจิทัล ป้อมจะทำการตรวจสอบความเรียบร้อยของข้อมูล และทำการ copy ข้อมูลดังกล่าวไปไว้ในระบบ innopac เองภายหลัง ฐานข้อมูลนี้พัฒนาโดยปิยะนันต์ (โย) ใช้จัดเก็บประวัติและภาพถ่ายของสมาชิกห้องสมุดและสามารถค้นคืนได้ คาดว่าเปิดเทอมนี้จะเปิดให้บริการได้ 

8 เม.ย. 57

ณิชดาภา, รัตน์ชนก
เรื่อง 1. Lesson Learn & Success Story ของศูนย์รับบริจาค (Phase 1)
2. ระเบียบปฏิบัติ และคู่มือการปฏิบัติงาน (Procedure & Work Manual) ของศูนย์รับบริจาคฯ
ณิชดาภา นำเสนอ success story และ lesson learned จากการดำเนินงานศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 โดยมีเหตุการณ์ที่สร้างความประทับใจหลายครั้ง จากนั้นได้ทำเสนอ flow chart ขั้นตอนการปฏิบัติงานของศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ที่ออกแบบตามมาตรฐานของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ แอนซี (American National Standard Institute - ANSI) เป็นร่างที่หนึ่ง เพื่อพิจารณา

รัตน์ชนก ได้นำเสนอ success story และ lesson learned จากการดำเนินงานศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ซึ่งดำเนินการร่วมกันกับหนูเล็ก นำเสนอเรื่องราวที่สร้างความประทับใจ รวมทั้งอธิบายขั้นตอนของการดำเนินงานและแนะนำรายชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน งานของศูนย์ฯด้วย ในการนำเสนอรอบต่อไป จะมีการนำขั้นตอนของหนูเล็กมาปรับและควบรวม เพื่อให้ได้ flow chart ที่มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่้งขึ้น เพื่อนำไปใช้งานจริงร่วมกัน เมื่อศูนย์ฯ เปิดให้้บริการอีกครั้งหนึ่ง

9 เม.ย. 57

ครรชิต เรื่อง Apps ในการสืบค้นฐานข้อมูลทางวิชาการด้วย mobile devices ที่เป็น Android และแนะนำคู่มือสืบค้นฐานข้อมูล (Online Tutorial)
นำเสนอเว็บไซต์แนะนำวิธีการสืบค้นฐานข้อมูลต่างๆ หรือ online tutorial อยู่ที่ http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/guide.htm และแนะนำเว็บไซต์ remote access ที่แสดงช่องทางการสืบค้นฐานข้อมูลต่างๆ โดยใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android มีการจัดทำคู่มือแนะนำการใช้งานเป็นเอกสาร PDF (อยู่ที่เว็บไซต์ http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/connect.htm)  เมื่อจัดทำเสร็จแล้ว ต่อไปจะทำการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้เข้าใช้ และเก็บข้อมูลความคิดเห็นและความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการ

ดวงพร   เรื่อง Apps ในการสืบค้นฐานข้อมูลทางวิชาการด้วย mobile devices ที่เป็น iOs
นำเสนอช่องทางการสืบค้นฐานข้อมูลต่างๆ โดยใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS (iPhone/iPad) ทั้งการใช้จากที่บ้านและใช้ภายในคณะ มีการจัดทำคู่มือแนะนำการใช้งานเป็นเอกสาร PDF (อยู่ที่เว็บไซต์ http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/connect.htm)  โดยแบ่งงานกันทำกับครรชิต (หมี) เมื่อจัดทำเสร็จแล้ว ต่อไปจะทำการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้เข้าใช้ และเก็บข้อมูลความคิดเห็นและความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการ

10 เม.ย. 57

อริศรา  เรื่อง ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์คณะฯ ทาง Social Media
นำเสนอการประชาสัมพันธ์ภาพข่าวกิจกรรมของคณะ ผ่านทางเว็บไซต์ของคณะ และประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมบน Facebook และ Google+ การแก้ไขปัญหาที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีการ share เว็บเพจ เช่น ชื่อเรื่อง และภาพประกอบ ที่ปรากฏบน facebook, google+ ไม่ตรงตามที่ต้องการ โดยการใส่ metatag เพิ่มเติมในส่วนของ meta property และการใช้คำสั่ง https://developers.facebook.com/tools/debug ช่วยในการ clear cache

นุชสรา เรื่อง StangMongkolsuk Library Google+
นำเสนอช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของห้องสมุด บน Facebook https://www.facebook.com/StangMongkolsukLibrary และ Google+ http://googleplusthai.com/stanglibrary และแนะนำวิธีการรับชมภาพข่าวกิจกรรมของคณะ ผ่านทาง Facebook https://www.facebook.com/MahidolSC และ Google+ http://googleplusthai.com/MUSC พร้อมเชิญชวนให้ทุกคน click like Facebook Fanpage และ follow google+ และฝากประชาสัมพันธ์ไปยังนักศึกษาและผู้ใช้บริการห้องสมุดด้วย

 

รอบที่ 33 : เดือนมีนาคม 2557
กิจกรรมเสวนาแบ่งปันความรู้สู่เพื่อนร่วมงาน (Morning Talk 1/ 2557)

หัวข้อการเสวนา : "เล่าเรื่องงานให้เพื่อนฟัง ตอนที่ 1"
8:45 - 9:30 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ P114 ชั้น 1 ตึกฟิสิกส์

วัน-เดือน-ปี ผู้เสวนา
4 มี.ค. 57

วรัษยา มีความเชี่ยวชาญและเป็นวิทยากรทางด้าน Microsoft Office โดยเฉพาะ MS Excel ต่อไปคาดว่าจะเริ่มโครงการจัดอบรมการใช้ Google Apps. for Education ส่วนงานในอีก 6 เดือนข้างหน้าได้แก่ การดำเนินการตาม PA ปี 2557 ของงานสารสนเทศ ซึ่งมีโครงการต่อเนื่อง 4 โครงการคือ การจัดซื้อหนังสือวารสาร (ประมาณ 20 ล้านบาท) โครงการปรับปรุงเว็บไซต์ โครงการ MUSC E-publications และโครงการ Bookfair มีโครงการใหม่ 1 โครงการ คือ โครงการถ่ายทอดความรู้สู่สังคม (USR) โดยจะขอให้หัวหน้าภาควิชาส่งบทความมาให้ ภาควิชาละ 3 บทความเพื่อขึ้นเว็บ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังเป็นประเด็น หรือเรื่องที่คณะวิทย์มีความเชี่ยวชาญ มีอาจารย์ณัฐพล และอาจารย์ท่านอื่นๆ เป็นกองบรรณาธิการ ส่วนงานที่ทำร่วมกับคุณพิชิต ได้แก่ งานทำระบบ DR Site พญาไท-ศาลายา สำหรับ web server และงานปรับปรุงพื้นที่บริเวณชั้น 1 ตึกฟิสิกส์ เปลี่ยนพื้นห้องคอมพิวเตอร์จากโครงไม้ยกพื้นเป็นโครงเหล็ก รื้อห้องทำงานและศูนย์บริจาคหนังสือเพื่อกำจัดปัญหาปลวก

อภิชัย โครงการ ที่กำลังทำคือเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ และเว็บไซต์คลังความรู้จดหมายเหตุและวัตถุพิพิธภัณฑ์ กำลังอยู่ในระหว่างการ รวบรวมวัตถุพิพิธภัณฑ์ทั้งหมดที่มีอยู่ การจัดทำเว็บใช้โปรแกรม Omega โดยร่วมมือกับคุณอริศรา แต่ยังไม่ได้เปิดตัวเว็บใหม่ ขณะนี้มีปัญหาที่ต้องการแก้ไขคือ ระบบ information retrieval ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ งานที่ 2 คือ งานประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดความรู้สู่สังคมของงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข บน social media ชนิดต่างๆ เช่น Facebook, Blog, Pinterest บริการตอบคำถามทาง LINE สิ่งที่คาดว่าจะทำคือ เป็นครูฝึก (trainer) เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านการเขียน และอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2562) จะครบรอบ 100 ปีอาจารย์สตางค์ ต้องการจะทำหนังสือครบรอบ 100 ปีและหนังสือ "ทุ่งพญาไท"

5 มี.ค. 57

พิชิต ดูแลและบริหารจัดการ web serverู ของคณะจำนวน 3 ตัว (ที่ห้อง K215) และ server ของงานสารสนเทศฯ  (ที่ห้อง P106) โครงการเปลี่ยนระบบ server จาก traditional architecture ไปเป็นระบบ virtual architecture เพื่อให้ Apps. ต่างๆ ที่อยู่บน server ได้รับการดูแลตลอดเวลา แบบ Zero Downtime (เริ่มโครงการตั้งแต่ ต.ค. 56) โครงการ E-publications ร่วมกับคุณเฉิดฉันทร์ (เจ) ซึ่งดำเนินเสร็จแล้ว และกำลังจะทำโครงการต่อยอด E-MUSC Research ร่วมกับคุณรุ่งระวี (งานวิจัย) สำหรับข้อมูลทุนวิจัยและโครงการวิจัยต่างๆของคณะ โครงการที่จะทำต่อไปคือ ระบบ DR Site พญาไท-ศาลายา โดยประสานงานกับหน่วยพัฒนาระบบ ปรับปรุงกายภาพห้องคอมพิวเตอร์ P114 ร่วมกับคุณวรัษยา (เอ) และอาจารย์สรวง และโครงการเร่งด่วนคือ การจัดทำระบบจองเครื่องมือของหน่วยเครื่องมือกลาง (CIF) ร่วมกับคุณรุ่งระวี (อ้อย) งานวิจัย และคุณศิริชัย จากหน่วย CIF

เฉิดฉันทร์ กำกับ ดูแลเว็บไซต์เป็นหลัก แบ่งงานร่วมกับคุณนุชสรา และคุณอริศรา เว็บของงานสารสนเทศจะดูแลหน้าหลัก คุณนุชสรา ดูแลหน้าใน คุณอริศรา ดูแลเว็บศูนย์รับบริจาค พิพิธภัณฑ์ แบบสำรวจความพึงพอใจ คุณครรชิต ดูแลรายชือ e-databases, e-journals ต่อไปจะเพิ่มเติมเมนูใหม่ๆ เกี่ยวกับ MOOCs - Online Courses และฐานข้อมูลเอกสารสิทธิบัตร (Patents) / เว็บ SC Internet จะดูแลหน้าหลัก ส่วนเมนูต่างๆ คุณนุชสรา และคุณอริศรา แบ่งครึ่งกัน / เว็บ SC Intranet คุณนุชสรา ดูแลเองทั้งหมด กำลังทำเรื่องการปรับ layout ของเว็บไซต์ เปลี่ยนหน้าเว็บจาก .htm เป็น .php เพื่อความสะดวกในการแก้ไขเพิ่มเติม นอกจากนั้น ยังมีโครงการ E-publications ทำร่วมกับคุณพิชิต ซึ่งเสร็จแล้ว เป็นระบบสำหรับบริการผู้บริหาร อาจต้องต่อยอดเพิ่มเติมในเรื่องการให้บริการสืบค้นผลงานวิจัยสำหรับบุคคล ทั่วไป และปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการสืบค้นข้อมูลทั้งหมดของเว็บไซต์

6 มี.ค. 57

สมภพ งานปัจจุบันกำกับดูแลหน่วยทรัพยากรห้องสมุด จัดซื้อหนังสือ จัดทำสถิติการให้บริการและการใช้หนังสือ โครงการในอนาคต คือปรับปรุง collection หนังสือ โดยจะนำผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ห้องสมุด มาคัดเลือกเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับ collection หนังสือมาปรับปรุง เช่น comment ของนักศึกษาในเรื่องของหนังสือที่มีน้อยไม่เพียงพอ ปรับ collection ให้เหมาะกับนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งต้องเพิ่มหนังสือทางด้านเศรษฐศาสตร์และบัญชี และปรับปรุง collection หนังสืออ่านนอกเวลาที่มีสถิติการใช้บริการค่อนข้างสูง มีโครงการที่จะยกเลิกบัตรท้ายเล่ม นำแผ่น CD ที่มาพร้อมกับหนังสือเข้าระบบ INNOPAC เพื่อให้สามารถยืมแยกกับเล่มหนังสือได้ จัดทำกล่องใส่ CD ติดบาร์โค้ดและแถบแม่เหล็ก เพื่อให้ยืมได้ วางแผนการทำโครงการจัด Mini-book Fair และโครงการสำรวจ customer satisfaction survey ประจำปี 2014 ให้สอดคล้องกับการเลื่อนเปิดเทอมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ และคาดว่าจะจัดทำหนังสือคู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยทรัพยากรห้องสมุดด้วย ส่วนการประชาสัมพันธ์หนังสือใหม่ จะทำทันทีที่หนังสือ cat. เสร็จแล้ว โดยไม่รอเป็นรอบ  มีการแสดงรายชื่อหนังสือใหม่บน Facebook, Blog และ link ไปยัง OPAC ส่วนโครงการต่อไป จะทำคอลัมน์แนะนำหนังสือน่าอ่าน บน Facebook ด้วย (เป็นผู้ดูแล Facebook "ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข")

ณิชดาภา ในช่วงนี้ทำงานด้านศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสารเป็นหลัก เนื่องจากมีผู้สนใจใช้บริการจำนวนมาก ทำเว็บไซต์ของศูนย์ฯ ร่วมกับคุณอริศรา จัดทำ Facebook Stangdonation เพื่อประชาสัมพันธ์ และติดต่อสื่อสารกับผู้บริจาคและผู้ขอรับบริจาค มีการถ่ายภาพกล่องพัสดุที่ได้รับบริจาคขึ้น FB เพื่อแจ้งให้ผู้บริจาคได้รับทราบ หนังสือชุดที่ได้มาหลาย copies จะแสดงหน้าปกโชว์ไว้บนเว็บไซต์ เป็น New Book for Donation กำลังจะเพิ่มข้อมูลบนเว็บเกี่ยวกับจุดต่างๆ ภายในคณะที่เอาหนังสือบริจาคไปวางให้บริการ (เช่น ที่ MDL) และจัดทำสิ่งพิมพ์แผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์ศูนย์บริจาค ในช่วงปิดเทอม AEC ที่จะถึงนี้ จะมีการปรับปรุงพื้นที่ศูนย์บริจาคฯ บริเวณชั้น 1 เพื่อป้องกันกำจัดปลวกและขยายพื้นที่ของห้อง จำเป็นต้องทะยอยขนหนังสือออก ด้งนั้นที่ผ่านมามีการจัดกิจกรรม Book Share เพื่อแจกหนังสือฟรี และอาจจัดกิจกรรม Book Free ในอนาคต งานอื่นๆ ในความรับผิดชอบคือ งาน catalog หนังสือ รวมทั้งหนังสือ special collection ของหน่วยจดหมายเหตุด้วย

10 มี.ค. 57

ปิยะนันท์ เพิ่งเริ่มทำงานเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557 มีความถนัดในการเขียน php script งานที่กำลังทำในช่วงนี้ คือการ config เครื่องแม่ข่าย Linux server การให้บริการดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ของบุคลากรภายในงานสารสนเทศฯ โครงการที่ทำร่วมกับคุณบุญญาวดี คือ การจัดทำฐานข้อมูลสมาชิกห้องสมุด เพื่อเตรียมทำระบบบริการรับทำบัตรสมาชิกห้องสมุดแบบ one-stop service ให้แล้วเสร็จก่อนเปิดเทอม AEC เดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ โครงการที่ทำร่วมกับคุณสมภพ คือ การจัดทำกล่องรับความคิดเห็นแบบออนไลน์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ห้อง สมุดเป็นผู้ช่วยคุณพิชิตในการทำ DR Site ระหว่างพญาไทและศาลายา และ Search engine optimization (SEO) ของเว็บ ขณะนี้กำลังศึกษาเรื่อง VMware ส่วนเรื่องที่อยากจะทำต่อไปคือ Android apps, CSS และ HTML5 

บุญญาวดี ดูแลบริการ ยืมคืนทั้งหมดของห้องสมุดรวมทั้ง book delivery และการทำบัตรสมาชิก ปรับการจัดเวรบริการเคาน์เตอร์ให้เป็นวันละ 3 รอบ คือ 8:00-12:00, 12:00-16:30, 16:30-17:30 หรือ 20:30 ในช่วงก่อนสอบ โดยมีผู้อยู่เวรสลับกัน 3 คนคือ ป้อม ต๊ะ หนูเล็ก (กำลังรอรับบรรณารักษ์ใหม่อีก 2 ตำแหน่ง) กำกับดูแลและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่โต๊ะตรวจ เตรียมทำโครงการยืมไม่อั้น-อ่านไม่ยั้ง (ปีที่ 2) ให้ยืมหนังสือได้นาน 5 เดือนไม่จำกัดจำนวน (ปีที่แล้วประสบผลสำเร็จมาก) และเตรียมการยกเลิกบัตรท้ายเล่มเนื่องจากปัจจุบันการยืมต่อทำทางออนไลน์ได้ หมดแล้ว

11 มี.ค. 57

ครรชิต งานประจำคือให้บริการ เคาน์เตอร์สืบค้นสารสนเทศ ทุกวัน เช้าหรือบ่าย (สัปดาห์ละ 5 วัน) ออกใบเสร็จรับเงินค่า print สรุปสถิติการบริการ ตรวจสอบและ update รายชื่อ e-databases, e-journals A-Z ช่วยคุณเฉิดฉันทร์ในเรื่องการ update ผลงานวิจัยของคณะ ปรับปรุงเว็บเพจเรื่อง apps ในการสืบค้นฐานข้อมูลทางวิชาการด้วย mobile devices ที่เป็น Android

ดวงพร ให้บริการที่โต๊ะบริการชั้น 3 Quiet Zone บริการสายล็อกโน้ตบุ๊ต ปรับปรุงสถานที่จัดวางวารสารโดยการย้ายวารสารฉบับ ปลีกมาไว้ที่ชั้น (ย้ายจากห้อง P306 และชั้นริมหน้าต่าง) ปรับปรุงห้อง P306 และพื้นที่นั่งอ่านริมหน้าต่าง ปรับปรุงป้ายชื่อวารสารข้างตู้ทั้งหมด ปรับปรุงเว็บเพจเรื่อง apps ในการสืบค้นฐานข้อมูลทางวิชาการ (VPN for Mobile) ร่วมกับคุณครรชิต โดยดูแลในส่วนที่เป็น iOS โครงการที่กำลังจะทำคือปรับปรุงโต๊ะบริการสืบค้นชั้น 2

12 มี.ค. 57

นุชสรา ทำเว็บคณะและเว็บงานสารสนเทศร่วมกับคุณอริศรา โดยแบ่งเมนูกันทำ เช่น เว็บคณะ (SC Internet) เป็นเมนูด้านซ้าย ส่วนคุณอริศราเป็นเมนูด้านขวา รับผิดชอบประกาศข่าวหน้าแรกและเนื้อหาของ Banner ต่างๆ YouTube Channel ในเว็บคณะหน้าแรก บทคัดย่อผลงานวิจัยภาษาไทย รับผิดชอบ SC Intranet ทั้งหมด เว็บห้องสมุดบางส่วน โดยเฉพาะเว็บใหม่ที่กำลังทำคือ Stang Knowledge Base ผลงานวิจัยสู่สังคม Google Apps. for Mahidol Univ. และ MOOCs - Online Courses และเตรียมจัดทำโครงการ Stang Photo Album Sharing

อริศรา ทำเว็บคณะและเว็บงานสารสนเทศร่วมกับคุณนุชสรา เว็บห้องสมุด เช่น จดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ ศูนย์รับบบริจาค ร้านขายหนังสือ สถิติการใช้วารสาร เว็บคณะ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์หน้าแรก รางวัลเกียรติยศ ศิษย์เก่าดีเด่น ภาพข่าวกิจกรรม MUSC Green จัดทำเว็บพิเศษ เช่น SciEx2014 และดูแล Social Media ของคณะ เช่น FB, Blog, Google+

13 มี.ค. 57

สุภัคจิรา งาน ที่ทำคือ 1. งานการเงินและบัญชี ดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ 2. งานสารบรรณและเลขานุการ พิมพ์จดหมาย จัดเก็บแฟ้มเอกสาร ติดต่อประสานงานต่างๆ 3. งานบริหารทรัพยากรบุคคล จัดทำแฟ้มประวัติบุคคล การรับบรรจุบุคลากร การลงทะเบียนผู้เข้าฟังบรรยาย อบรมสัมมนา จัดทำ flow chart ระบบงานครุภัณฑ์เพื่อเตรียมมอบงานให้เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (คนใหม่) งานที่กำลังจะทำต่อไปคือจัดทำ flow chart ของทุกงานในความรับผิดชอบ

รัตน์ชนก รับผิดชอบงานวารสารไทยแบบครบวงจร ทั้งวารสารที่ซื้อและรับบริจาค update ข้อมูลใน INNOPAC และ JournalLink เตรียมเล่มออกให้บริการ ดูแลป้ายที่ชั้น รวบรวมสถิติการใช้วารสารไทยขึ้นเว็บไซต์  ดูแลการจัดเก็บเล่มหนังสือพิมพ์ บริการสำเนาบทความระหว่างห้องสมุด จัดส่งทั้งทางไปรษณีย์และอีเมล งานศูนย์บริจาควารสาร/นิตยสาร สแกนวารสารเล่มเก่าด้วยเครื่อง ATIZ และตกแต่งด้วย photoshop ก่อนจัดทำเป็น PDF

14 มี.ค. 57

สรวง งานจัดอบรม EndNote, Turnitin และ Microsoft Word ในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา โดยจะพยายามลงรายละเอียด EndNote ให้ลึกขึ้น และแนะนำประโยชน์ใช้สอยให้มากขึ้น เช่น ใช้ในการจัดทำ mini collection การเตรียมต้นฉบับบทความก่อนส่งไปตีพิมพ์ในวารสาร การอบรม Turnitin เป็นวิทยากรสอนในคณะและรับเชิญไปตามคณะต่างๆ โครงการที่จะทำคือ จัดอบรม Sigma Plot และเทคนิคการใช้ Microsoft Office โดยลงลึกเฉพาะบางด้าน ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานของนักศึกษาและอาจารย์ อาจจัดอบรมหารายได้ อีกโครงการที่กำลังทำคือ สำรวจ MOOCs และจัดทำชื่อรายวิชาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ขึ้นบนเว็บห้องสมุด

 

 

 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ย้อนหลัง

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2567
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2566
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2565
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2564
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2563
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2562
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2561
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2560
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2559
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2558
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2557
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2556
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2555
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2554
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2553
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ย้อนหลัง พ.ศ. 2549-2552