Home » บรรณารักษ์ » การพัฒนาศักยภาพของบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล

การพัฒนาศักยภาพของบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล

จัดโดย ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
ณ ห้องประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ชั้น 3 อาคาร B ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ข้างสถานฑูตจีน) กรุงเทพมหานคร

วันที่ 29 สิงหาคม 2559 เวลา 08.30 – 16.30 น.

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1. นางสาวรัตน์ชนก ยอดพินิจ
2. นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา

การบรรยาย เรื่อง “เสริมสร้างการเรียนรู้ทางการเงิน (Financial Literacy)

โดย คุณภาวัช ทองเนื้อแปด และคุณวัชราวลี ดาโต๊ะ

 

สิ่งที่จะเกิดในอนาคต… ความท้าทายในอนาคต

  1. สังคมผู้สูงอายุ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ในปี 2568 โดยจะมีคนอายุเกิน 60 ปี มากกว่า 20% ของประชากรในประเทศ ในขณะที่สวัสดิการเพื่อวัยเกษียณยังมีไม่เพียงพอ
  2. เงินเฟ้อ ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น ทำให้เงินออมมีมูลค่าลดลง
  3. หนี้สิน ความต้องการในชีวิตเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น

 

หลุมพรางที่ทำให้เกิดปัญหาทางการเงิน เพราะเกิดจากเหตุ 4 ประการ

  1. ใช้จ่ายไม่ยั้งคิด
  2. ไม่วางแผนทางการเงิน
  3. ไม่มีเงินสำรอง
  4. ไม่มีความรู้ทางการเงิน

 

เราสามารถสร้างอิสรภาพทางการเงินได้ด้วย เคล็ดลับ 4 รู้ สู่ความมั่งคั่ง ดังนี้

  1. รู้หา (How to Earn) คือ รู้จักวิธีหารายได้จากช่องทางต่างๆ ทั้งจากการทำงานและการลงทุน
  2. รู้เก็บ (How to Save) คือ รู้วิธีการเก็บออมเงินและสร้างวินัยทางการเงิน เพื่อให้ฐานเงินออมขยายตัวสำหรับรองรับการขยายดอกผลและเพิ่มความมั่งคั่งต่อไปในอนาคต
  3. รู้ใช้ (How to Spend) คือ รู้วิธีการใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้มีเงินออมเพิ่มขึ้น
  4. รู้ขยายดอกผล (How to Invest) คือ รู้วิธีนำเงินออมไปลงทุนในทางเลือกต่างๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงและแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นอย่างเหมาะสมกับตนเอง

 

การเสวนา เรื่อง “สมดุลแห่งชีวิต ในโลกเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อประสิทธิผลที่ดีในการทำงาน”

โดย นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์

รองผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ ดร.นฤมล รื่นไวย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

Work Life Balance คือ สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน การใช้ชีวิตให้สมดุล ทำงานให้สมดุล รู้จักแบ่งเวลา เมื่ออยู่ในที่ทำงานก็ทำงานให้เต็มที่ในเวลางาน หลังเลิกงานก็ควรเป็นเวลาส่วนตัว ไม่นำเรื่องงานมาปะปนกับเวลาส่วนตัวหลังเลิกงาน หรือนำงานมาเบียดเวลาส่วนตัวจนไม่ได้พักผ่อน

 

ทำอย่างไรให้มีความสุขกับงานห้องสมุด

  1. รักในสิ่งที่ทำ ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าตัวเองชอบในงานห้องสมุดหรือไม่ รักในงานที่ตัวเองทำหรือไม่ หากมีใจรักในงานที่ทำก็จะทำให้มีความสุขในการทำงาน
  2. โต๊ะทำงานน่ามอง การจัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถหยิบของใช้ได้อย่างสะดวก ก็จะเป็นการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่มีความสุข ไม่ต้องเครียดในการค้นหาของใช้ให้วุ่นวาย
  3. เปิดมุมมอง พยายามออกไปอบรม สัมมนา หรือไปร่วมกิจกรรมภายนอกห้องสมุดบ้าง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
  4. หาแรงบันดาลใจ โดยอาจจะออกไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์ การได้พบเจอบางสิ่งบางอย่างอาจจะทำให้เกิดแรงบันดาลใจนำกลับมาใช้ในการทำงานก็เป็นได้
  5. สร้างสมดุลชีวิต รู้จักแบ่งเวลาระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานให้พอดี
  6. สร้างกิจกรรม โดยออกไปร่วมกิจกรรมหรือไปปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกที่ทำงานบ้าง
  7. ออกกำลังกายบ้าง อย่ามัวเพลินกับการทำงาน ควรหาเวลาไปออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ
  8. เลือกกินของดี ควรเลือกกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อจะได้มีสมองที่แจ่มใสและร่างกายที่แข็งแรงพร้อมในการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างมีความสุข

 

สถานการณ์ที่บรรณารักษ์ต้องเผชิญในยุคดิจิทัล

ในปัจจุบันสารสนเทศมีอย่างท่วมท้น ผู้คนสามารถรับรู้เรื่องราวได้อย่างรวดเร็วแม้อยู่คนละซีกโลก มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย สามารถเข้าได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่จำกัดอุปกรณ์ เราผู้เป็นบรรณารักษ์มีหน้าที่จัดกลุ่ม Content ไม่ใช่สร้าง Content การวัดกระแสของเทคโนโลยีดูได้จากอะไรที่กำลังเป็นที่สนใจคือความนิยม

  • Not specific devices
  • Real-time library data
  • Virtual reality
  • Balancing access and privacy
  • Super-fast, super-easy app development

บทสรุป : สมดุลแห่งชีวิตในโลกดิจิทัลเพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน คือ หาเวลาให้เจอ ค้นหาในสิ่งที่รัก คุยกับคนที่รู้ อย่าเพียงคุยแต่กับหนังสือหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ เท่านั้น

 

การบรรยายเรื่อง “การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่องานสัมฤทธิ์ผล เพื่อคนเบิกบาน”

โดย นายธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร

 

การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ที่ดี ความสุข และความสำเร็จ

  • การสื่อสารที่ดีนำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่ดี
  • ความสัมพันธ์ที่ดีนำมาซึ่งความสุข
  • ความสุขนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการทำงาน

 

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังโดยไม่ตัดสินถูกผิดด้วยความคิดเห็นของเราเอง สามารถก้าวข้ามเสียงตัดสินเล็ก ๆ ในหัวของเรา โดยฟังไปที่หัวใจของผู้พูด

 

สรุป การสื่อสารภายในองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ต้องใช้เครื่องมือ คือการฟังเขาพูด การฟังคือเครื่องมือที่ดีของการสื่อสาร เพราะถ้าต่างฝ่ายต่างไม่ฟังกันก็จะเกิดความท้าทายหรือความเบื่อและเซ็งกัน ดังนั้นต้องพบกันครึ่งทางจึงจะเกิดความพอดีในการสื่อสาร

About

Comments are closed.