Monthly Archive: December 2021

“ม้าน้ำ” มหัศจรรย์แห่งท้องทะเล

AUTHOR  ปาริฉัตร ลักษณะวิมล CALL NO SF458.S43 ป553ม 2563 IMPRINT กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2563 (For MU Student and Staff can request here)       หนังสือเล่มนีได้รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ งานวิจัย เพื่อนำเสนอความรู้ เกี่ยวกับม้าน้ำ ทางด้านอนุกรมวิธาน สัณฐานวิทยา กายวิภาค ชีววิทยา นิเวศวิทยา...

ระบบควอรัมเซนซิง : การสื่อสารของแบคทีเรีย = Quorum sensing : bacterial communication

AUTHOR นัฐ ตัณศิลา CALL NO QW125.5.B4 น387ร 2564 IMPRINT สงขลา : คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564, [2021] (For MU Student and Staff can request here)       ปัจจุบันการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ทั่วโลกกำลังเผชิญและเป็นแรงผลักดันให้งานวิจัยด้านการพัฒนายาใหม่หรือสารที่มีศักยภาพลดความรุนแรงของโรค (anti-virulence) ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เป้าหมายหลักของงานวิจัยด้านนี้คือระบบ quorum sensing เนื่องจากเป็นระบบที่ควบคุมการแสดงออกของยีนที่กำหนดปัจจัยการก่อโรคของแบคทีเรียโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างไบโอฟิล์ม (biofilm...

รากฐานของคอปูลา = Foundations of Copulas

AUTHOR  ทรงเกียรติ สุเมธกิจการ CALL NO QA273.6 ท126ร 2563 IMPRINT กรุงเทพฯ : ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 (For MU Student and Staff can request here)       คอปูลาคือฟังก์ชันการแจกแจงร่วมจำเพาะที่สามารถแยกพฤติกรรมการขึ้นต่อกันออกจากการแจกแจงของแต่ละตัวแปรสุ่มได้ ด้วยเหตุนี้ คอปูลาจึงเป็นเครื่องมือจากทฤษฎีความน่าจะเป็นที่มีประโยชน์อย่างมากมายในสถิติและศาสตร์ต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยตัวแบบของการขึ้นต่อกันระหว่างตัวแปรสุ่ม เช่น คณิตศาสตร์การเงิน เศรษฐศาสตร์...

ว่าด้วย กล้วยไม้ : ศาสตร์และศิลป์เพื่อการพัฒนา

AUTHOR  – CALL NO SB409 ว459 2563 IMPRINT กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์, 2563 (For MU Student and Staff can request here)       เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ถูกสืบค้นและรวบรวมจากแหล่งต่างๆโดยหวังที่จะหมดความสะดวกให้แก่ผู้ที่ต้องการค้นหาความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ซึ่งมีเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันรวมถึงมีเนื้อหาซึ่งเกี่ยวข้องกับการปลูกเลี้ยงและขยายพันธุ์กล้วยไม้ทั้งที่เป็นพื้นฐานความรู้ซึ่งสามารถนำไปดัดแปลงและต่อยอดให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการปลูกเลี้ยงของตนและตัวอย่างการปฏิบัติที่มีการปฏิบัติอยู่ในช่วงเวลานี้

เชื้ออาวุธชีวภาพและเชื้ออันตรายร้ายแรง : แนวทางการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

AUTHOR  – CALL NO QH212.T7 ก453 2564 IMPRINT กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์, 2564 (For MU Student and Staff can request here)       คู่มือเชื้ออาวุธชีวภาพและเชื้ออันตรายร้ายแรง : แนวทางการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการมีเป้าหมายที่จะพัฒนาสมรรถนะห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้สามารถรองรับการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้เผยแพร่ให้กับห้องปฏิบัติการทั่วประเทศ โดยคู่มือเล่มนี้จัดทำเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการเก็บตัวอย่างการส่งตัวอย่างและการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการนอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการและหน่วยงานสาธารณสุขอื่นๆในการเก็บและนำส่งตัวอย่างมายังเครือข่าย

การเตรียมตัวอย่างสำหรับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน = Specimen preparation for transmission electron microscopy

AUTHOR  – CALL NO QH212.T7 ก453 2564 IMPRINT กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์, 2564 (For MU Student and Staff can request here)       ในปัจจุบันการหาข้อมูลระดับโมเลกุลที่ใช้ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นของ พืช สัตว์ หรือมนุษย์ เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลระดับชีวโมเลกุลในการพัฒนาและส่งเสริมการสนับสนุนในงานวิจัยทางการแพทย์เพื่อให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีความรอบรู้ในการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับจากการศึกษาและวิจัยว่ามีคุณภาพและประสิทธิภาพในการใช้งานจากอดีตถึงปัจจุบันด้วยความเป็นจริงข้อดีของการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนคือการมีกำลังขยาย (Resolution) สูงกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Optical Microscope) เป็นพันเท่า อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของการใช้กล้องชนิดนี้คืออุปกรณ์และค่าดูแลมีราคาแพงมากและขนาดของตัวกล้องมีขนาดใหญ่ใช้พื้นที่มากอีกทั้งการเตรียมตัวของผู้ใช้กล้องจะต้องมีความชำนาญพิเศษในการใช้กล้องสูงมากแค่ดูตัวอย่างในระบบสุญญากาศได้นอกจากนี้การดูชิ้นตัวอย่างและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านจำเป็นต้องมีการเตรียมเนื้อเยื่อแต่ละชนิดตามรูปแบบความต้องการที่จะศึกษาและต้องคำนึงถึงรายละเอียดทุกขั้นตอนอย่างถี่ถ้วนซึ่งต้องใช้เทคนิคและทักษะของนักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านนี้...

ปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์พื้นฐาน = Basic organic chemistry reactions

AUTHOR  กนกอร ระย้านิล CALL NO QD251.3 ก125ป 2564 IMPRINT กรุงเทพฯ : โครงการตำรา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, [2564] (For MU Student and Staff can request here)       ตำราเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการสอนรายวิชา 513 251 เคมีอินทรีย์ 1 (Organic Chemistry 1)...

ตำราอณูชีววิทยา. เล่ม 2 : ยีน อาร์เอ็นเอ และโปรตีน

AUTHOR อริยพงษ์ วงษ์นพวิชญ์ CALL NO QU34 อ397ต ล.2 2563 IMPRINT เชียงใหม่ : ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2563 (For MU Student and Staff can request here)       ตำราอณูชีววิทยา เล่ม 2 ยีนส์ อาร์เอ็นเอ และโปรตีนนี้เน้นเนื้อหาหลักเกี่ยวกับการแสดงออกของยีนแบ่งออกเป็น 5...

โครมาโทกราฟีของเหลว-แมสสเปกโทรเมตรี (Liquid chromatography-mass spectrometry : theory and applications)

AUTHOR  จุติมา บุญเลี้ยง CALL NO QD79.C454 จ619ค 2563 Cop.1-2 IMPRINT สงขลา : ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563 (For MU Student and Staff can request here)       ตำรา เรื่อง “โครมาโทกราฟีของเหลว-แมสสเปกโทรเมตรี : ทฤษฎีและการประยุกต์” จัดทำขึ้นสำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รายวิชาเภสัชวิเคราะห์...

การตรวจวัดความสามารถในการต้านออกซิเดชันของสารสกัดจากพืช

AUTHOR  ประสาร สวัสดิ์ซิตัง CALL NO QK861 ป411ก 2561 IMPRINT กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2561 (For MU Student and Staff can request here)       ปัจจุบันนี้ผู้คนหันมาสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของอาหารซึ่งให้สารอาหารและสารอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะสารต้านออกซิเดชันที่มีสมบัติในการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันที่จะทำความเสียหายต่อชีวโมเลกุลของอนุมูลอิสระ จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่ากลุ่มคนที่รับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้อยู่ในปริมาณที่มากมีสุขภาพโดยรวมดีกว่าผู้ที่รับประทานผักและผลไม้ในสัดส่วนที่น้อยกว่าหรือผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้เลย การที่จะทราบได้ว่าพืชผักและผลไม้ชนิดใดมีสมบัติในการต้านออกซิเดชันได้มากน้อยเพียงใดนั้น จำเป็นต้องมีวิธีการตรวจสอบซึ่งวิธีการส่วนใหญ่เป็นการตรวจสอบโดยปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำได้ง่ายในหลอดทดลองแต่จะนำผลที่ได้มาสรุปว่าพืชผักและผลไม้ที่นำมาทดสอบนั้นจะให้ผลเช่นเดียวกันในสิ่งมีชีวิตที่กินพืชผักและผลไม้นั้นไม่ได้การทดสอบความสามารถในการต้านออกซิเดชันของสารใดสารหนึ่งที่จะบอกได้ถึงการออกฤทธิ์ในสิ่งมีชีวิตได้จะต้องกระทำในสิ่งมีชีวิตเช่นในสัตว์ทดลองแล้วตรวจสอบตัวบ่งชี้ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม หนังสือการตรวจวัดความสามารถในการต้านออกซิเดชันของสารสกัดจากพืชเล่มนี้มีเนื้อหาประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับสารที่เป็นอนุมูลอิสระและสารต้านออกซิเดชันวิธีการสกัดสารจากพืชและวิธีการตรวจสอบความสามารถในการต้านออกซิเดชันของสารสกัดจากพืชวิธีการส่วนใหญ่เป็นวิธีการทางเคมีที่นิยมกันอย่างแพร่หลายบางวิธีมีการใช้อนุภาคจากชีวโมเลกุลเช่นไมโครโซมและลิโพโปรตีนรวมทั้งวิธีการที่ทำการทดสอบโดยการเลี้ยงเซลล์สัตว์ตลอดจนการทดสอบในสัตว์ทดลองคำศัพท์ในหนังสือเล่มนี้ได้ยึดตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานและใช้ทับศัพท์ในบางคําเพื่อคงความหมายในสาขาวิชาและวิธีการทดสอบผู้เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาในการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานในด้านนี้อีกทั้งช่วยให้ผู้ที่สนใจมีความเข้าใจในเรื่องนี้ดีขึ้น