Tagged: การเตรียมตัวอย่าง

การเตรียมตัวอย่างสำหรับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน = Specimen preparation for transmission electron microscopy

AUTHOR  – CALL NO QH212.T7 ก453 2564 IMPRINT กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์, 2564 (For MU Student and Staff can request here)       ในปัจจุบันการหาข้อมูลระดับโมเลกุลที่ใช้ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นของ พืช สัตว์ หรือมนุษย์ เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลระดับชีวโมเลกุลในการพัฒนาและส่งเสริมการสนับสนุนในงานวิจัยทางการแพทย์เพื่อให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีความรอบรู้ในการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับจากการศึกษาและวิจัยว่ามีคุณภาพและประสิทธิภาพในการใช้งานจากอดีตถึงปัจจุบันด้วยความเป็นจริงข้อดีของการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนคือการมีกำลังขยาย (Resolution) สูงกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Optical Microscope) เป็นพันเท่า อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของการใช้กล้องชนิดนี้คืออุปกรณ์และค่าดูแลมีราคาแพงมากและขนาดของตัวกล้องมีขนาดใหญ่ใช้พื้นที่มากอีกทั้งการเตรียมตัวของผู้ใช้กล้องจะต้องมีความชำนาญพิเศษในการใช้กล้องสูงมากแค่ดูตัวอย่างในระบบสุญญากาศได้นอกจากนี้การดูชิ้นตัวอย่างและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านจำเป็นต้องมีการเตรียมเนื้อเยื่อแต่ละชนิดตามรูปแบบความต้องการที่จะศึกษาและต้องคำนึงถึงรายละเอียดทุกขั้นตอนอย่างถี่ถ้วนซึ่งต้องใช้เทคนิคและทักษะของนักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านนี้...