หนังสือเล่มโปรด - My Loved Book ของชาวมหิดล คนรักการอ่าน ปี 2007

ผู้ให้สัมภาษณ์

 

 

ดร.ณัฐพล อ่อนปาน
อาจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์


หนังสือเล่มโปรด

 

“Evolutionary Analysis (3rd edition)

แต่งโดย : Scott Freeman และ Jon C. Herron

 

ทำไมจึงชอบ?

 

หนังสือ Evolution Analysis มีสไตล์การเขียนสมชื่อของมัน ผู้เขียนได้ใช้ตัวอย่างจำนวนมากมาเป็นกรณีศึกษา วิเคราะห์แต่ละตัวอย่างนั้น บนพื้นฐานของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่การสังเกต ตั้งปัญหา สร้างสมมติฐาน ออกแบบการทดลอง วิเคราะห์ผลการทดลองที่ได้ รายละเอียดเชิงลึกของทฤษฏีวิวัฒนาการ อาจไม่ใช่จุดแข็งของหนังสือเล่มนี้ แต่สิ่งที่ผู้อ่านจะได้คือการนำทฤษฎีวิวัฒนาการไปใช้ในการตอบปัญหาต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน เช่นเพราะเหตุใดยีนที่ทำให้คนมีความต้านทานต่อการติดเชื้อ HIV จึงเกิดขึ้น แต่ไม่ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกเป็นต้น

จากการนำหนังสือเล่มนี้มาใช้ในการเรียนการสอนวิชาวิวัฒนาการ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3-4 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การเรียนการสอนไม่ซ้ำซากจำเจกับทฤษฏีแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ผู้อ่านยังสามารถใช้คำถามและเอกสารอ้างอิงท้ายบทต่อยอด เพื่อศึกษาตัวอย่างอื่นๆ เองในระดับที่สูงขึ้นได้เช่นกัน

หนังสือ Evolutionary Analysis จึงเหมาะสำหรับนักศึกษาและผู้สนใจวิวัฒนาการ ผ่านสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย ตัวอย่างทันสมัย น่าสนใจ มีการวิเคราะห์กรณีศึกษาต่างๆ เป็นขั้นตอน และส่งเสริมการค้นคว้าเพิ่มเติม

 

ข้อเสนอแนะที่มีต่องาน
มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร
ครั้งที่ 3

 

-

ผู้ให้สัมภาษณ์

 

 

ดร.ฐิตินันท์ สำราญวานิช
อาจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์


หนังสือเล่มโปรด

 

Men Are from Mars, Women Are from Venus: A Practical Guide for Improving Communication and Getting What You Want in Your Relationships.”

แต่งโดย : John Gray

 

ทำไมจึงชอบ?

 

หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ออกมานานมากแล้ว แต่เนื้อหายังใช้ได้ตลอดเวลา เพราะอุปนิสัยของผู้หญิง-ผู้ชายที่กล่าวไว้ดูจะเป็นความจริงที่อยู่เคียงข้างเราตลอดไป แนะนำให้ผู้ที่กำลังมีแฟน หรือกำลังจะมีลองอ่านดู บางอย่างอาจโดนใจถึงขนาดร้อง”อ๋อ”ได้

Magazines
1. Times
เหตุผล: อ่าน Times เพราะเคยอ่านประจำตอนเรียนอยู่อเมริกา แต่ Times ฉบับโซนเอเชียต่างกับฉบับของอเมริกา โดยเฉพาะเนื้อหาและความหนา ฉบับโซนเอเชียจะมีบทความสั้นๆและบางกว่ามาก แต่ก็ได้สาระดีกว่าอ่านนิตยสารแฟชั่น
2. มติชนสุดสัปดาห์
เหตุผล: บทความวิเคราะห์ข่าวสารสถานการณ์บ้านเมืองน่าสนใจ แต่ไม่เร้าใจเท่าเนชันสุดสัปดาห์
3. เนชันสุดสัปดาห์
เหตุผล: บทความค่อนข้างแสดงตนชัดเจนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย บางครั้งใช้ถ้อยคำรุนแรง ไม่ออกกลางๆเหมือนมติชน ซึ่งผู้อ่านต้องชั่งใจว่าเป็นความคิดของบุคคล (ผู้เขียน) เพียงคนเดียว

 

ข้อเสนอแนะที่มีต่องาน
มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร
ครั้งที่ 3

 

-

ผู้ให้สัมภาษณ์

 

 

ดร.เทวัญ จันทร์วิไลศรี
อาจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์


หนังสือเล่มโปรด

 

คิดให้ได้ ขายให้ด What’s the big idea?

แต่งโดย :
โธมัส เอช ดาเวนพอร์ต, ลอเรนซ์ พรูแซค และ เอช เจมส์ วิลสัน
ผู้แปล: เทวัญ จันทร์วิไลศรี

 

ทำไมจึงชอบ?

 

พอดีผมได้มีโอกาสแปลหนังสือเรื่อง ‘What’s the big idea?’ ที่แต่งโดย โธมัส เอช ดาเวนพอร์ต, ลอเรนซ์ พรูแซค และ เอช เจมส์ วิลสัน ก็เลยอยากจะขอแนะนำนะครับ

ถ้าอ่านจากชื่อหนังสือแล้ว คุณอาจจะคิดว่ามันออกไปในแนวทางธุรกิจและการตลาด แต่ถ้าลองอ่านดูแล้วเนี่ย เราสามารถนำแนวคิดต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ได้ในทุกองค์กรเลยทีเดียว ทั้งการพัฒนาระบบ, การปฏิบัติการขององค์กรให้มีทั้งประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล และนวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอ หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนคู่มือที่ช่วยการทำงานและการปฏิบัติการในหน่วยงานอย่างมีหลักการและเหตุผลโดยใช้แนวคิดใหม่ ๆ นอกจากนี้ ผู้เขียนยังเล่าถึงประสบการณ์จริงของคณะผู้เขียน และการนำเสนอโดยการยกตัวอย่าง และบทสัมภาษณ์ของนักปฏิบัติการทางแนวคิดจากองค์กรที่ประสบความสำเร็จมาแล้วทั่วโลก

ยิ่งในปัจจุบันคณะวิทย์ฯ ของเราได้ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและพัฒนาเพื่อก้าวไปในธุรกิจ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นแหล่งค้นคว้าที่ดีในการหาความรู้ว่าอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร จึงจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่คุณกำลังทำ

 

ข้อเสนอแนะที่มีต่องาน
มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร
ครั้งที่ 3

 

เป็นกิจกรรมที่ดีที่ควรจัดขึ้นในสถาบันการศึกษานะครับ หนังสือนอกจากจะเป็นแหล่งความรู้ที่ดีของผู้อ่านแล้ว ยังเป็นสื่อในการถ่ายทอดหลาย ๆ สิ่งจากผู้เขียนอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นศิลป์ หรือ ศาสตร์แขนงใดก็ตาม ผมก็อยากจะเสนอให้ประชาสัมพันธ์ไปยังสถาบันอื่น ๆ ด้วย เพราะน่าจะเป็นประโยชน์แก่นิสิต นักศึกษาในสถาบันนั้น ๆ

ผู้ให้สัมภาษณ์

 

 

ดร. สุพีชา คุ้มเกตุ
อาจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์


หนังสือเล่มโปรด

 

"ทางชีวิต"

โดย วศิน อินทสระ

 

ทำไมจึงชอบ?

 

เพราะเป็นหนังสือปรัชญาศาสนาพุทธที่ร่วมสมัย อ่านเข้าใจง่าย เป็นตอนสั้นๆ ทำให้เห็นมุมมองชีวิตปัจจุบันกับศาสนาได้

 

ข้อเสนอแนะที่มีต่องาน
มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร
ครั้งที่ 3

 

อยากให้มี Publisher ที่มีหนังสือหลากหลายด้าน ไม่เฉพาะ Science อย่างเดียว

ผู้ให้สัมภาษณ์

 

 

ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี
อาจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์


หนังสือเล่มโปรด

 

“อยู่กับก๋ง”

 

ทำไมจึงชอบ?

 

เป็นหนังสือที่อ่านตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน และคิดว่าเป็นหนังสือที่สอนให้ทุกคนรู้จักความกตัญญู ความซื่อสัตย์ และการสร้างเสริมคุณธรรมความดีงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สังคมต้องการความมีคุณธรรม นอกเหนือไปจากความรู้ความสามารถ

 

ข้อเสนอแนะที่มีต่องาน
มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร
ครั้งที่ 3

 

เป็นงานที่จัดได้ดีมาก มีร้านหนังสือและสำนักพิมพ์จำนวนมากมาออกร้าน และเนื่องมีการประชาสัมพันธ์ที่ดีจึงมีบุคคลภายนอกมาเที่ยวชมงานเป็นจำนวนมากด้วย ขอให้จัดงานบุ๊คแฟร์ได้ดีเช่นนี้ในปีต่อๆ ไปด้วยครับ

ผู้ให้สัมภาษณ์

 

 

จันทนา ตั้งอารมณ์สุข
นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์


หนังสือเล่มโปรด

 

สองดวงจันทร์ (Walk two moons)

 

ทำไมจึงชอบ?

 

 

 

 

 

 

มันยากที่บอกว่าหนังสือเล่มไหนเป็นหนังสือที่ชอบที่สุด เพราะว่ามีหนังสือที่ชอบอยู่หลายเล่ม อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือหลายแนว ไม่ว่าจะเป็นแนวสืบสวน คดีฆาตกรรม หรือ คดีอาชญากรรม หรือ เป็นแนวแฟนตาซี หรือว่าจะเป็นหนังสือท่องเที่ยว หรือแนวสารคดี ทำให้ยากต่อการตัดสินใจ

แต่ถ้าจะให้แนะนำหนังสือสักเล่ม ที่น่าสนใจ ตอนนี้ก็มีอยู่ในใจเล่มหนึ่ง คือ “สองดวงจันทร์” (Walk two moons) เล่มนี้ ถึงจะเป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก แต่ก็เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน น่าติดตาม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการตามหาแม่ของเด็กหญิงคนหนึ่ง ซึ่งให้บรรยากาศที่แตกต่างจาก เรื่อง “ความสุขของกะทิ” คือในเรื่องมีความหลากหลายของเนื้อหา ซึ่งจะทำให้ขบขัน อบอุ่น ซึ้งใจ สับสน และ เศร้า นอกจากนี้ ยังให้ข้อคิดดี ๆ อีกด้วย โดยสรุป เป็นหนังสือที่คนอ่านได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่สำหรับเด็กเท่านั้น ถ้าใครที่ชอบอ่านนิยายแปลที่เนื้อหาไม่หนักมาก แต่แฝงไว้ด้วยข้อคิดต่าง ๆ ก็ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้แหละค่ะ

 

ข้อเสนอแนะที่มีต่องาน
มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร
ครั้งที่ 3

 

-

ผู้ให้สัมภาษณ์

 

 

ปิยาภรณ์ วรานุสันติกูล
นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์

 


หนังสือเล่มโปรด

 

มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ แมวสามสียอดนักสืบ

 

ทำไมจึงชอบ?

 

 

 

 

 

 

ถ้าจะถามว่าชอบอ่านหนังสือเล่มไหนเป็นพิเศษ หรือชอบเล่มไหนมากที่สุดนี่ตอบยากมาก เพราะว่าโดยปกติเป็นคนชอบอ่านหนังสืออยู่แล้ว โดยเฉพาะนิตยสารนี่ชอบสุดๆ ต้องอ่านทุกเดือนเลย พวก Marie Claire, Cosmopolitan, Cleo, Elle, Lisa(รายสัปดาห์) พวกนี้พูดได้เลยว่าอ่านตลอดแทบทุกเดือน แต่ถ้าเป็นหนังสือพวกเป็นเล่มๆนี่อ่านหลายแนวมากๆ อ่านได้แทบทุกแนว อ้อ อาจยกเว้นพวกแนวรักโรแมนติกหวานแหวว ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่อ่านเลย แต่เมื่อก่อนก็อ่านบ้าง ถ้าจะถามตอนนี้ให้ได้ว่าชอบเล่มที่สุด เอาเป็นที่กำลังอ่านอยู่ก็แล้วกัน เรื่องนี้เลย “มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ แมวสามสียอดนักสืบ” แนะนำเลยใครๆก็อ่านได้ สนุก น่ารักดี มีแมวสามสีตัวเมียเป็นคู่หูกับพระเอกที่เป็นตำรวจฝ่ายสืบสวนคดีอาชญากรรม ยิ่งคนที่ชอบแมวคงจะต้องชอบมากเป็นพิเศษ ขนาดว่าตัวเองไม่ค่อยชอบแมว แต่อ่านเรื่องนี้แล้วรู้สึกว่าแมวก็น่ารักดีนะ แล้วก็จะชอบคอยแอบมองแมวๆทั้งหลายที่เจอทั่วไป คิดไปว่ามันอาจเป็นแมวที่พิเศษเหมือนในหนังสือก็ได้

เรื่องนี้เป็นเรื่องชุด คือ เป็นตอนๆ ปัจจุบันถึงตอนที่ 9 ชื่อตอนว่ากล่องแสนกล จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องสั้นจบในตอน ถ้าใครไม่ได้เริ่มต้นอ่านจากเล่มที่ 1 ก็สามารถที่จะรู้เรื่องได้ พูดได้ว่าจะเริ่มต้นอ่านจากเล่มไหนก่อนก็ได้รู้เรื่องแน่รับรอง อ้อ แต่ขอบอกว่าไม่ควรเริ่มด้วยตอนที่ 6 โรงละครสยองขวัญ เพราะรู้สึกว่าจะไม่ค่อยสนุกนักถ้าเทียบกับตอนอื่นๆ ทุกตอนคนเขียนผูกเรื่องได้ดี คนแปลก็แปลได้ดี เรื่องนี้เป็นแนวสืบสวนสอบสวนฆาตกรรม แต่คนแปลจะแทรกมุขตลก ขบขัน เป็นระยะๆ ทำให้ไม่เครียดนัก คือเครียดแบบขำๆ ฮาๆ อ่านแล้วชอบ ก็อยากแนะนำให้ทุกคนลองอ่านเรื่องนี้ดูนะค่ะ


 

ข้อเสนอแนะที่มีต่องาน
มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร
ครั้งที่ 3

 

ชอบงานบุ๊คแฟร์เพราะเหมือนยกร้านหนังสือมาให้เลือกถึงที่ แถมยังได้ราคาที่พิเศษกว่าไปซื้อที่ร้าน ไม่ต้องเดินทางไปไกล ดีจริงๆเลยค่ะ ต้องจัดบ่อยๆนะคะ

ผู้ให้สัมภาษณ์

 

 

ทวีธรรม ลิมปานุภาพ
นักศึกษาปริญญาตรี ปี 3 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์

จ้าของรางวัลพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะเยาวชนดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2548


หนังสือเล่มโปรด

 

หนังสือพิมพ์ The Nation & Bangkok Post

 

ทำไมจึงชอบ?

 

 

 

 

 

 

นอกจากการติดตามข่าวสารในโทรทัศน์หรือวิทยุแล้ว
อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือหนังสือพิมพ์
ที่จะช่วยให้เรารู้ความเป็นไปของข่าวสารบ้านเมือง
มันคงจะดีไม่น้อยที่เราจะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปกับข่าว
และยังได้เห็นมุมมองของเมืองไทย ในรูปแบบที่ชาวต่างชาติมอง เช่น เรื่องการปฏิรูปการปกครองเร็วๆนี้ คนไทยอาจคุ้นหูกับชื่อซ้ำๆ เดิมๆ ที่ประกาศอยู่ในทีวี แต่ถ้าอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ เราจะเรียนรู้ว่า สิ่งที่เรารู้จักอยู่แล้วในบ้านเมืองของเราเอง จะถูกเรียกต่างออกไป โดยคนในส่วนอื่นๆ ของโลก เช่น พล.อ.สนธิ หัวหน้า คมช. และ คุณสนธิ จากเครือผู้จัดการ มีตัวสะกดภาษาอังกฤษที่ต่างกัน และตัวย่อที่มีในภาษาไทย เขาก็มีในภาษาอังกฤษเช่นกัน CDRM คือ คปก. CNS คือ คมช. นอกจากนี้สนุกสนานไปกับคำศัพท์และวลีใหม่ๆ ที่บางครั้งก็สั้น แต่ความหมายลึกซึ้ง เช่น Power corrupts. Absolute power corrupts absolutely ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ผมชอบหนังสือพิมพ์ The Nation และ Bangkok Post และถ้าเป็นไปได้อยากให้ห้องสมุด รับหนังสือพิมพ์ Bangkok Post โดยตรง เพื่อจะได้รับหนังสือพิมพ์ได้เร็วขึ้น


 

ข้อเสนอแนะที่มีต่องาน
มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร
ครั้งที่ 3

 

อยากให้มีกิจกรรมที่น่าดึงดูดใจมากขึ้น เช่น การประมูลหนังสือ เหมือนอย่างใน COMMART ซึ่งถ้าเป็นหนังสือ ที่นักศึกษาต้องใช้กันประจำ ก็จะดึงดูดความสนใจ และสร้างสีสันในงานได้เป็นอย่างดี

ผู้ให้สัมภาษณ์

อภิชัย อารยะเจริญชัย
บรรณารักษ์ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข
คณะกรรมการจัดงาน Book Fair

 

หนังสือเล่มโปรด

วันดีคืนดี (Good Old Days)
ผู้เขียน : สืบสกุล แสงสุวรรณ

 

ทำไมจึงชอบ?

 

เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความที่ย้อนระลึกถึงเรื่องราวเก่า ๆ ในอดีต ไม่ใช่เหตุการณ์สำคัญระดับที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ เป็นบันทึกความทรงจำที่ช่วยให้เราย้อนกลับไปยังอดีตในวัยเด็ก ได้อารมณ์ประมาณดูหนังเรื่อง "แฟนฉัน" เหมาะสำหรับคนวัย 30 ขึ้นไป (เด็กๆ ก็อ่านได้ แต่อาจจะไม่อินเท่า)

อ่านแล้วจะได้อรรถรสชวนให้นึกถึงชีวิตในวัยเยาว์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ "บรู๊ซ ลี" ฮีโร่กังฟูที่สร้างกระแสหนังจีนกำลังภายในให้กับบ้านเรา, "เกมกด" ของเล่นสุดไฮเทคในสมัยก่อน, "โซฟี มาโช" นางเอกหน้าใสจากฮอลิวู้ด (ในตอนนั้น) ที่ทำเอาหนุ่มๆ ค่อนประเทศถึงกับเก็บเอาไปฝัน, "สโมสรผึ้งน้อย และ น้องหนู" รายการทีวียอดฮิตของคุณหนูๆ ที่ต้องมานั่งรอชมตอนบ่ายแก่ๆ ทุกวันหลังเลิกเรียน, "แคนดี้" การ์ตูนสาวน้อยตาโต และอื่นๆ ซึ่งมันอาจจะเป็นเรื่องราวเล็กๆ แต่ก็อดอมยิ้มไม่ได้เมื่อนึกถึง ...

อดีต เป็นส่วนประกอบหนึ่งของชีวิต เราควรจะเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมา เพื่อจะได้พิจารณาถึงความเป็นไป

ข้อเสนอแนะที่มีต่องาน
มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร
์ ครั้งที่ 3

นับเป็นก้าวที่ 3 แล้วสำหรับ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ หวังว่ายังจะมีก้าวที่ 4-5-6 ...ไปเรื่อย ๆ แม้จะมีข้อจำกัดและอุปสรรคบ้าง แต่ถ้าเห็นคนมาเที่ยวงานเยอะๆ คนจัดก็ชื่นใจตายแล้ว

 

 

Call Center : 02-201-5710 / E-mail : lisc@mahidol.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ปรับปรุงล่าสุด 4 พ.ค. 2550 -