ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.บุญเสริม วิทยชำนาญกุล

ประวัติ

ศ.เกียรติคุณ ดร. นพ.บุญเสริม วิทยชำนาญกุล นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย สาขากายวิภาคศาสตร์ และ ชีววิทยาระบบสืบพันธุ์ เป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในประเทศไทย โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาวิธีตรวจเชื้อและศึกษาหาวิธีป้องกันโรคไวรัสในกุ้งกุลาดำ จนได้รับรางวัล "กุ้งทองคำเกียรติยศ" จากชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี เป็นนักวิจัยในกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตกุ้งกุลาดำ ที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2546 และรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2543

ประวัติการศึกษา

  • พ.ศ. 2512 : ปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2516 : ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2518-2521 : ปริญญาเอก สาขา Neuroendocrinology จากมหาวิทยาลัยรอเชสเตอร์ สหรัฐอเมริกา โดยทุนมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
  • Post Doctoral Training จากมหาวิทยาลัยอินดีแอนา และมหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา

ประวัติการทำงาน

    ตำแหน่งทางวิชาการ
  • พ.ศ. 2516 : บรรจุเข้าเป็นอาจารย์ ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2543 : ศาสตราจารย์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปัจจุบัน : เป็นนักวิจัยหลัก ของหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ตำแหน่งทางบริหาร
  • พ.ศ. 2536-2544 : ผู้อำนวยการโครงการผลิตอาจารย์แพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง)
  • พ.ศ. 2541-2544 : หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ
พ.ศ. 2536 : ได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษางานวิจัยเกี่ยวกับกุ้ง ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
พ.ศ. 2540 : หัวหน้าโครงการวิจัย การเพาะเลี้ยงและคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ โดยได้รับทุนจากบริษัทวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้ง สนับสนุนโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

เกียรติคุณและรางวัลที่ได้รับ

พ.ศ. 2532 : ได้รับรางวัลอนันทมหิดล สำหรับผู้อุทิศตนให้การสอนนักศึกษาแพทย์
พ.ศ. 2540 : รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รางวัลชมเชย ประเภททั่วไป จากผลงาน "ชิ้นส่วนชีวภาพกำซาบด้วยสารพลาสติก เพื่อการเรียนการสอนในทางการแพทย์"
พ.ศ. 2543 : รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (คณะผู้วิจัยเรื่องกุ้งกุลาดำ)
พ.ศ. 2546 : รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ (กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตกุ้งกุลาดำ)
พ.ศ. 2563 : ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2562 สาขาวิทยาศาสตร์

ที่มาข้อมูล : มูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย. (2543). รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
ที่มาภาพ : หน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล