ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มาลียา เครือตราชู

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน

ข้าราชการบำนาญ/ที่ปรึกษาภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ประวัติการศึกษา

  • พ.ศ. 2514 : B.S. (Botany) - University of Califoenia Davis, California, U.S.A.
  • พ.ศ. 2516 : M.S. (Botany) - University of Wisconsin Madison, Wisconsin. U.S.A.
  • พ.ศ. 2519 : Ph.D. (Botany) - University of Wisconsin Madison, Wisconsin. U.S.A.

ประวัติการทำงาน

  • ตำแหน่งทางวิชาการ
  • พ.ศ. 2519 - 2521 : อาจารย์
  • พ.ศ. 2521 - 2526 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  • พ.ศ. 2526 - 2539 : รองศาสตราจารย์
  • พ.ศ. 2539 - 2547 : ศาสตราจารย์ ระดับ 10
  • พ.ศ. 2547 - 2557 : ศาสตราจารย์ ระดับ 11
  • พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
  • ตำแหน่งทางบริหาร
  • พ.ศ. 2535 - 2539 : รองหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2543 - 2546 : หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2546 - 2547 : รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2546 - 2552 : รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2552 - 2554 : รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2554 - 2557 : คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

เกียรติคุณและรางวัลที่ได้รับ

  • - อาจารย์ตัวอย่างระดับศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย)
  • - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
  • - ประถมาภรณ์ช้างเผือก
  • - มหาวชิรมงกุฎ
  • - มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

ที่มา : ศ. ดร.มาลียา เครือตราชู : อาจารย์ “ผู้ให้”. (2552). กรุงเทพ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ประกาศเกียรติคุณผู้ได้รับรางวัล “มหิดลทยากร” ประจำปี พ.ศ. 2564

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มาลียา เครือตราชู เข้าศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2510-2511 สอบชิงทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อและสำเร็จการศึกษาโดยได้รับปริญญา B.S. (Botany), University of California, Davis, California, U.S.A. พ.ศ. 2514 MS (Botany), University of Wisconsin, Madison, Wisconsin, U.S.A. พ.ศ. 2516 Ph.D. (Botany), University of Wisconsin, Madison, Wisconsin, U.S.A. พ.ศ. 2519

ประวัติการทำงาน: ท่านเคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2535-2539, หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2543-2546, รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2546-2547, รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติ พ.ศ. 2546-2552, รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติ พ.ศ. 2552-2554 และคณบดีวิทยาลัยนาชาติ พ.ศ. 2554-2557

ท่านมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นอาจารย์ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงสอบชิงทุนรัฐบาลไทยเพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2511-2519 ด้วยเห็นว่าอาจารย์ในคณะนี้ยังขาดแคลนอยู่มาก โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เมื่อกลับมาปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ ท่านมีความตั้งใจและมุ่งมั่นเต็มที่ในการสร้างชื่อเสียงให้แก่คณะที่เคยเรียนอยู่ แม้จะเป็นระยะเวลาเพียง 1 ปี 3 เดือน แต่ก็มีความผูกพันกับคณะวิทยาศาสตร์อย่างมาก ท่านปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์อย่างสมบูรณ์ ทั้งการสอนนักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จนถึงระดับปริญญาเอก มีงานวิจัย ทุนวิจัย ผลงานตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 40 ปี มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากกว่า 180 เรื่อง มีการอ้างอิงจากงานวิจัยต่าง ๆ จำนวนมากกว่า 3,600 ครั้ง ได้รับเชิญเป็น Associate Editor, Board of Reviewer จากวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงตลอดมา (ข้อมูล พ.ศ. 2564)

ท่านเป็นนักวิจัยระดับแนวหน้าของคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับทุนวิจัยจากองค์กรระดับชาติและนานาชาติ ต่อเนื่องมาเป็นเวลานานมากกว่า 30 ปี ได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกจำนวน 10 ทุน ท่านสละเวลาในการเป็นที่ปรึกษาให้กับภาควิชาชีววิทยา โดยไม่รับค่าตอบแทนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ท่านยังให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาปัจจุบันของคณะวิทยาศาสตร์ ผ่านคณะวิทยาศาสตร์และสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อีกทั้งบริจาคทุนทรัพย์ให้แก่ภาควิชาชีววิทยา เพื่อสนับสนุนภารกิจในหลากหลายด้านเพื่อการพัฒนาภาควิชาอย่างต่อเนื่อง

รางวัลเกียรติยศ: อาจารย์ตัวอย่างระดับศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ ศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2559

จากประวัติ ผลงานและเกียรติประวัติข้างต้น ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มาลียา เครือตราชู สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่น ของมหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ปัจจุบันและสังคมต่อไป สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงมีมติมอบรางวัล “มหิดลทยากร” ประจำปี พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป


ที่มา : สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). รางวัลมหิดลทยากร ประจำปี 2564. ศิษย์เก่ามหิดลสัมพันธ์. 20(1): 34-35.

ที่มาภาพ : หน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล