หนังสือเล่มโปรด (My Favorite Book)

[ แนะนำหนังสือเล่มโปรด ]

ยุรี เชาว์พิพัฒน์

นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์

 



        ชอบเรื่อง เจ้าชายน้อย (The Little Prince) เขียนโดย อองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี เป็นเรื่องออกแนว แฟนตาซี เป็นวรรณกรรมเยาวชนที่ตีความได้หลายอย่าง อย่างในเรื่องนี่มีตัวอย่างรูปงูที่กินช้างเข้าไปทั้งตัว แต่ว่า ทุกคนมองเป็นรูปหมวกกันหมด หรืออย่างตอนนึงที่เจ้าชายน้อยพบเด็กคนนึงกลางทะเลทราย เป็นเด็กที่ไม่กลัวอะไร เลยชีวิต มองโลกสดใสไม่เคยคิดว่าตัวเองตกอยู่ในอันตราย เป็นการมองในแง่ของความเป็นเด็กว่าเดี๋ยวนี้คนเรา ขาดจินตนาการของความเป็นเด็กไป รูปงูกินช้างก็เป็นตัวอย่าง ใครๆ เห็นก็บอกว่ามันคือรูปหมวก แต่เด็กคนนึงกลับ มองว่ามันน่ากลัวเพราะมันคือรูปงูที่กินช้างเข้าไป เจ้าชายน้อยก็ดีใจว่าในที่สุดก็พบคนที่เข้าใจตัวเองแล้ว
        เรื่องนี้จะสื่อถึงคนที่หลากหลาย แต่ละคนจะให้คุณค่าของแต่ละอย่างต่างกัน บางทีมองในสิ่งเดียวกันแต่ว่าแต่ละคนก็อาจจะตีความต่างกัน ในเจ้าชายน้อยจะมีตัวละครเยอะแยะก็จะสมมุติได้ว่าเราแต่ละคนต่างก็เป็นใครบางคนที่มาจากดาวแต่ละดวง เช่น เจ้าชายน้อย พระราชา ชายขี้เมา คนจุดตะเกียง นักธุรกิจ นักภูมิศาสตร์ คือเรานี่เป็นได้ทุกอย่างแล้วแต่สถานการณ์ว่าตอนนั้นเราจะสวมบทบาทเป็นใคร บางทีทำงานหนักก็ถามตัวเอง ว่าทำไปเพื่ออะไร ทำแล็บนี่ทำไปทำไม เช้าถึงเย็น ๆ เหมือนคนจุดตะเกียงในเรื่อง ว่าเราเห็นคุณค่าของงานเรามั้ย
         อีกเรื่องนึงคือเรื่อง ต้นส้มแสนรัก เขียนโดยนักเขียนชาวบราซิล โจเซ่ วาสคอนเซลอส เป็นเรื่องของเด็กชายที่ชื่อ เซเซ่ เด็กคนนี้น่าสงสาร ขาดคนเข้าใจ ถูกทำร้าย ชีวิตของเซเซ่ยากลำบากมากแต่ว่าเค้ากลับมีมุมมองต่อโลกอย่างใสบริสุทธิ์ เค้ามีจินตนาการสูง เอาต้นส้มมาเป็นเพื่อน เอาคางคกมาเป็นเพื่อน แล้วก็เริ่มจินตนาการหาพี่น้องครอบครัวที่ตัวเองต้องการ

         เค้าก็สอนว่าเราอย่าไปตัดสินคนเพียงภายนอก เหมือนอย่างเซเซ่ที่ใครๆ ก็มองเซเซ่ว่าเป็นเด็กแปลก เพราะเขาไม่เข้าใจว่าเด็กคนนี้ทำไปเพราะมีอะไรอยู่ข้างหลัง เป็นแค่ความซนตามประสาเด็กรึเปล่า มีตอนนึงเค้าร้องเพลง ทำนองประมาณว่าอยากจะกอดสาวซักคน คือเค้าเองก็ไม่เข้าใจหรอกว่าคืออะไรก็ร้องไปตามประสา แต่พ่อของเค้ากลับโมโห อาจเพราะสภาพครอบครัวที่ลำบากกันอยู่แล้วด้วยก็เลยตีเค้า ทั้งที่เค้าแค่อยากจะร้องเพลงปลอบพ่อเฉยๆ คือผู้ใหญ่ตีความเค้าไปอีกอย่าง

         เรื่องต้นส้มนี่มันก็สะท้อนปัญหาเยาวชนด้วย ปัญหาเรื่อง Child Abuse ด้วย เด็กๆ ก็จะสร้างอะไรบางอย่างขึ้นมาเป็นเกราะป้องกันตัว คางคกนี่เค้าก็จินตนาการขึ้นมา มาเป็นเพื่อนเค้า มาคุยกับเค้า ทำให้เค้ารู้สึกว่ายังมีอะไรดีๆ ในชีวิต

         บางทีเราไปตัดสินใครซักคนโดยไม่ดูปูมหลังของเค้า สมมุติเรามีลูกศิษย์ที่ไม่ตั้งใจเรียน เราก็ต้องไม่ตัดสินเค้าในทันที อาจต้องดูว่าเค้ามีปัญหาอะไรอยู่มั้ย ไม่ควรด่วนตัดสินคนเพราะทุกคนต่างมีปัญหาส่วนตัว ทุกคนล้วนมีเหตุผลในการกระทำของตัวเอง คนเราพัฒนาช้าเร็วไม่เหมือนกัน เพราะทุกคนต่างกัน คงเพราะหนูอยู่กับเด็กมากด้วยเลยมองในมุมนี้
 
ปรับปรุงครั้งล่าสุด : 2 มิถุนายน 2565 stang.sc.mahidol.ac.th/bookfair2011