แนะนำหนังสือเล่มโปรด

วรัษยา สุนทรศารทูล

หัวหน้างานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

          เรื่อง “กิน” สำหรับแล้วนับเป็นเรื่องใหญ่ที่ใส่ใจพิถีพิถัน แต่กับบางคนกลับมองว่ามีอะไรก็กินๆ เข้าไปเถอะ อันนี้ก็แล้วแต่ว่าใครจะมีนิสัยการกินอย่างไร แต่การกินของเรานั้นไม่ใช่เพียงให้อิ่มท้องไปวันๆ มันยังบ่งบอกอะไรอีกมากมายอย่างที่เราเองก็คาดไม่ถึง

          หนังสือ เศรษฐศาสตร์นักกิน (An Economist Gets Lunch) ผลงานของ Tyler Cowen แปลโดย อรนุช อนุศักดิ์เสถียร จะพาเราตระเวนไปทั่วโลกเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการกินของผู้คนหลากเชื้อชาติต่างวัฒนธรรม โดยอิงหลักเศรษฐศาสตร์ที่ผู้เขียนมีความชำนาญ หากคิดว่าหนังสือเล่มนี้จะพาเราไปแวะชิมอาหารเหมือนอย่างหนังสือพาชิมทั่วไป แต่ Cowen อาศัยหลักเศรษฐศาสตร์พาคนอ่านไปค้นหาความจริงที่น่าพิศวงมากมาย

          เพราะไม่ใช่เพียงแค่การวิจารณ์ว่าอาหารอะไรอร่อยหรือไม่อย่างไร แต่ Cowen เจาะลึกไปถึงรากเหง้าของอาหาร ขุดไปถึงวัฒนธรรมการกินของแต่ละเชื้อชาติ ทำไมใครๆ ถือมองว่าอาหารอเมริกันเป็นขยะ การช้อปปิ้งอาหารในซูเปอร์มาร์เก็ตสะท้อนอะไรมากมายถึงผู้คนในแต่ละท้องถิ่น ทำไมอาหารเอเชียจึงขึ้นว่าชั้นเลิศถึงขนาดที่ว่า อาหารเอเชีย คือส่วนสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจว่าอาหารดีๆ นั้นเป็นอย่างไร ฯลฯ

          เสน่ห์อีกอย่างของหนังสือเล่มนี้คือลีลาการเล่าเรื่องของ Cowen ที่คล้ายจะพาเราเดินทางผจญภัยไปทั่วโลกเพื่อหาอาหารรสเลิศ พร้อมๆ กับการศึกษาวิถีชีวิตของผู้คน ประสบการณ์การเดินทางหาของอร่อยของ Cowen ก็ช่วยเสริมประเด็นเสียดสีวัฒนธรรมการกินที่เจ็บแสบ อย่างเช่นตอนที่ Cowen เดินทางไปประเทศนิคารากัว

          “...ผมตั้งใจเลี่ยงอาหารเช้าแบบบุฟเฟต์ที่โรงแรม อาหารเช้าข้างทางอาจเป็นมื้อที่อร่อยที่สุดของวัน แต่ถ้ากินตามโรงแรมมักเป็นมื้อที่ไม่ได้เรื่องที่สุด...”

          ว่าแต่พวกเราเองมีพฤติกรรมการกินแบบไหนหัน ลองคิดทบทวนกันบ้างไหมว่าเรากินสักแต่ให้อิ่มรึเปล่า หรือว่าฉันก็พิถีพิถันเหมือนกันนะ