ความก้าวหน้าและการประยุกต์ใช้ของจีโนมทางการแพทย์
CALL NO : QH447 ค181 2561
IMPRINT : [กรุงเทพฯ] : โครงการตำรารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จะชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ประเทศกำลังพัฒนา อย่างประเทศไทยได้รับจากการนำความรู้และเทคโนโลยีด้านจีโนมมาประยุกต์ใช้ในงานด้านสาธารณสุขของประเทศไทย โดยหลายโครงการเป็นความสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กับสถาบันภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและจากประเทศที่พัฒนาแล้วหลาบองค์กร ได้แก่ ศูนย์พันธุศาสตร์การแพทย์ สถาบันขีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์ และศูนย์ติมตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายเภสัชศาสตร์ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asian Pharmacogenomics Research Network, SEAPHARM) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ริเก้น ประเทศญี่ปุ่น (Riken, Center for Genomic Medicine) สถาบันวิจัยจีโนมมนุษย์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Human Genome Research Institute, NHGRI) สถาบันสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ (Healthcare UK) เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยเป็น “ศูนย์กลางสุขภาพ” (Medical Hub) ของเอเชียในด้านจีโนมทางการแพทย์ ข้อมูลจีโนมทางการแพทย์ที่ได้สามารถนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมด้านสุขภาพสำหรับประชากรไทยในการตรวจกรอง ป้องกัน เฝ้าระวัง และรักษาผู้ที่มาตรวจสุขภาพหรือรักษาตัวในทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่ก่อนเกิด แรกเกิด วัยเจริญพันธุ์ ไปจนถึงผู้สูงวัย เพื่อให้มีอายุที่ยืนยาวขึ้นและมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ (live lomger and live better) รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครอบครัวและในระดับประเทศ อีกทั้งจะช่วยให้ไทยมีศักยภาพที่จะนำนวัตกรรมจีโนมทางการแพทย์ ไปสนับสนุนอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อันเป็นหนึ่งใน 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-curve) เพื่อขับเคลื่อนเศรฐกิจของประเทศตามนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0”