Tagged: อนุมูลอิสระ

การตรวจวัดความสามารถในการต้านออกซิเดชันของสารสกัดจากพืช

AUTHOR  ประสาร สวัสดิ์ซิตัง CALL NO QK861 ป411ก 2561 IMPRINT กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2561 (For MU Student and Staff can request here)       ปัจจุบันนี้ผู้คนหันมาสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของอาหารซึ่งให้สารอาหารและสารอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะสารต้านออกซิเดชันที่มีสมบัติในการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันที่จะทำความเสียหายต่อชีวโมเลกุลของอนุมูลอิสระ จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่ากลุ่มคนที่รับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้อยู่ในปริมาณที่มากมีสุขภาพโดยรวมดีกว่าผู้ที่รับประทานผักและผลไม้ในสัดส่วนที่น้อยกว่าหรือผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้เลย การที่จะทราบได้ว่าพืชผักและผลไม้ชนิดใดมีสมบัติในการต้านออกซิเดชันได้มากน้อยเพียงใดนั้น จำเป็นต้องมีวิธีการตรวจสอบซึ่งวิธีการส่วนใหญ่เป็นการตรวจสอบโดยปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำได้ง่ายในหลอดทดลองแต่จะนำผลที่ได้มาสรุปว่าพืชผักและผลไม้ที่นำมาทดสอบนั้นจะให้ผลเช่นเดียวกันในสิ่งมีชีวิตที่กินพืชผักและผลไม้นั้นไม่ได้การทดสอบความสามารถในการต้านออกซิเดชันของสารใดสารหนึ่งที่จะบอกได้ถึงการออกฤทธิ์ในสิ่งมีชีวิตได้จะต้องกระทำในสิ่งมีชีวิตเช่นในสัตว์ทดลองแล้วตรวจสอบตัวบ่งชี้ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม หนังสือการตรวจวัดความสามารถในการต้านออกซิเดชันของสารสกัดจากพืชเล่มนี้มีเนื้อหาประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับสารที่เป็นอนุมูลอิสระและสารต้านออกซิเดชันวิธีการสกัดสารจากพืชและวิธีการตรวจสอบความสามารถในการต้านออกซิเดชันของสารสกัดจากพืชวิธีการส่วนใหญ่เป็นวิธีการทางเคมีที่นิยมกันอย่างแพร่หลายบางวิธีมีการใช้อนุภาคจากชีวโมเลกุลเช่นไมโครโซมและลิโพโปรตีนรวมทั้งวิธีการที่ทำการทดสอบโดยการเลี้ยงเซลล์สัตว์ตลอดจนการทดสอบในสัตว์ทดลองคำศัพท์ในหนังสือเล่มนี้ได้ยึดตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานและใช้ทับศัพท์ในบางคําเพื่อคงความหมายในสาขาวิชาและวิธีการทดสอบผู้เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาในการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานในด้านนี้อีกทั้งช่วยให้ผู้ที่สนใจมีความเข้าใจในเรื่องนี้ดีขึ้น