วิศวกรรมตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์
CALL NO : QD505 ส838ว 2561
AUTHOR : สุภาภรณ์ เทอดเทียนวงษ์
IMPRINT : กรุงเทพฯ : โพสต์ช็อป, 2561
การเรียนรู้เรื่องตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ตามหลักสูตรวิศวกรรมเคมีในระดับปริญญาตรีมีอยู่น้อย โดยเรื่องที่เรียนตามหลักสูตรจะเน้นในเรื่องปฏิกริยาเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เคมีสำหรับปฏิกริยาเอกพันธุ์เป็นหลัก และมีการเรียนรู้ในเรื่องปฏิกริยาวิวิธพันธุ์เฉพาะส่วนที่เป็นพื้นฐานเท่านั้น ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเร่งปฏิกริยาวิวิธพันธุ์มักเปิดสอนเป็นวิชาเลือกในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ดังนั้นเนื้อหาที่สอนจึงมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้สอนเป็นส่วนใหญ่ ในหนังสือเล่มนี้จะเน้นที่ตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์เป็นหลักและถูกใช้ในการเรียน การสอนของวิชา Che543 วิศวกรรมตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ โดยมีเนื้อหาทั้งหมด 10 บท เริ่มตั้งแต่การให้ภาพรวมของปฏิกริยาวิวิธพันธุ์ คือ ความสำคัญของตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์และพื้นฐานการเกิดปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ซึ่งกล่าวในบทที่ 1 และ 2 ตามลำดับ เนื้อหาที่เกี่ยวกับตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์จะอยู่ในบทที่ 3 และ 4 เป็นหลัก นั่นคือ วัสดุองค์ประกอบของตัวเร่งปฏิกิริยา ตลอดจนการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา ส่วนในบทที่ 5 จนถึง 10 จะเกี่ยวข้องกับวิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาลักษณะเฉพาะของตัวเร่งปฏิกิริยาทั้งหมด โดยเริ่มตั้งแต่เทคนิคการดูดซับพื้นผิว เทคนิคโปรแกรมอุณหภูมิ เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์โครงสร้างละเอียด เทคนิคโฟโตอิเล็กตรอน กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและการเลี้ยวเบนอิเล็กตรอน เนื่องจากนักศึกษาส่วนมากจะไม่เข้าใจว่าการหาลักษณะเฉพาะมีที่มาอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง และตีความผลการวิเคราะห์ได้อย่างไร ลักษณะเด่นของหนังสือเล่มนี้จึงให้รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาลักษณะเฉพาะของตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ โดยมีเนื้อหาของหลักการพื้นฐานของแต่ละเทคนิครวมทั้งการประยุกต์ใช้งานกับการศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ซึ่งได้รวบรวมจากวารสารทางวิชาการนานาชาติทั้งที่เป็นของงานวิจัยของผู้เขียน และของผู้อื่น