Home » การบรรยายพิเศษ » การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐาน RDA (Resource Description & Access)

การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐาน RDA (Resource Description & Access)

วิทยากร       คุณนันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์ รองผู้อำนวยการสำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

วันที่อบรม    วันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2559

สถานที่         ห้องสื่อโสตทัศน์ ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้เข้าอบรม :  นางสาวณิชดาภา อัจฉริยสุชา, นางสาวกนกพร งามสว่างรุ่งโรจน์

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA

  • RDA – มาจากคำว่า Resource Description and Access หมายถึง มาตรฐานการลงรายการและการเข้าถึงทรัพยากรในรูปแบบดิจิทัล
  • เริ่มใช้เมื่อปี ค.ศ.1997 เป็นมาตรฐานการลงรายการรูปแบบใหม่ ที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดิจิทัล เพื่อมาแทนที่มาตรฐานการลงรายการ AACR2
    • ใช้สำหรับลงรายการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์และวัสดุอื่น ๆในห้องสมุด รวมถึงชุมชนอื่นๆ เช่น พิพิธภัณฑ์, หอศิลป์/ห้องแสดงงานศิลปะ, หอจดหมายเหตุ, สำนักพิมพ์ เป็นต้น ครอบคลุมการใช้ งานทั้งในชุมชนแบบเดิม และสภาพแวดล้อมแบบเครือข่ายออนไลน์
    • เป็นรหัสการลงรายการแบบใหม่ (New cataloging code) ที่รองรับสื่อสารสนเทศประเภทใหม่ๆ (New types of publication) เช่น Digital content, Web resources, Integrating resources, Continuing Resources นอกจากนี้ยังรองรับการขยายตัวของอินเทอร์เน็ต และการเข้าถึงข้อมูลผ่านเว็บไซต์ด้วย

 

ความสำคัญและผลกระทบของ RDA ต่อการลงรายการ

  • ช่วยในการสร้างรายการโดยผู้สร้างสารสนเทศเอง
  • ทำให้สามารถใช้ Metadata จากสำนักพิมพ์ได้ (ONIX – Online Information exchange)
  • สามารถบันทึกข้อมูลในระเบียนรายการแบบเต็มคำได้ ลดการบันทึกข้อมูลในแบบคำย่อ ซึ่งจากเดิมทำเพื่อประหยัดพื้นที่ในบัตรรายการ
  • มีการเปลี่ยนแปลงในระเบียนบรรณานุกรม (Bibliographic Records) เช่น

– มีการเพิ่ม รหัส เขตข้อมูลหลัก เขตข้อมูลย่อยใหม่ ๆ ใน MARC21 Bibliographic format
– มีการใช้เขตข้อมูลอธิบาย Content types, Media types และ Carrier types

  • มีการเปลี่ยนแปลงใน Authority records โดยการเพิ่มเขตข้อมูลใหม่ใน MARC Authority format

 

หลักการและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ RDA

  1. International Cataloging Principles (ICP)
  2. FRBR และ FRAD
  • FRBR : Functional Requirements for Bibliographic Records (1998)
  • FRAD : Functional Requirements for Authority Records (2009)
  • หลักการของ FRBR และ FRAD เป็น Entity Relational Model มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ดังนี้

1. Entities มี 3 กลุ่ม

– กลุ่มที่ 1 ผลงานที่สร้างสรรค์ (Products of intellectual & artistic endeavor) ได้แก่ Work,  Expressions, Manifestations, Items

– กลุ่มที่ 2 ผู้สร้างสรรค์ผลงาน (Those responsible for the intellectual & artistic content) ได้แก่ Persons, Families, Corporate Bodies

– กลุ่มที่ 3 เนื้อหาของผลงาน (Subjects of works) ซึ่งสัมพันธ์กับกลุ่มที่ 1 และ 2 ได้แก่ Concept,  Object, Event, Place

2. Attributes ลักษณะเฉพาะของ Entities

3. Relationships ความสัมพันธ์ระหว่าง Entities

 

ข้อแตกต่างระหว่าง AACR2 กับ RDA

AACR2

RDA

เป็นกฏหรือหลักเกณฑ์ (Rules) เป็นคำแนะนำหรือแนวทาง (Guideline)
ลงรายการทรัพยากรสิ่งพิมพ์เป็นหลัก ลงรายการทรัพยากรสิ่งพิมพ์ และครอบคลุมสื่อดิจิทัล
ใช้ในชุมชนห้องสมุดเป็นหลัก ใช้ในชุมชนห้องสมุด และชุมชนอื่นๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ สำนักพิมพ์
อธิบายลักษณะของสารสนเทศประเภทสื่อไม่ชัดเจน อธิบายลักษณะของสารสนเทศประเภทสื่อได้หลากหลายชัดเจน
ลงรายการตามกฎ (เช่น Rule of 3) หรือคำย่อ เนื่องจากเดิมทำเพื่อประหยัดพื้นที่ในบัตรรายการ ลงรายการแบบเต็ม หรือใส่ข้อมูลได้เท่าที่ต้องการ โดยกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
tag 300 อธิบายลักษณะทางกายภาพของทรัพยากรไม่เพียงพอ เพิ่มเติม tag 336, 337, 338 อธิบายลักษณะเฉพาะของสื่อ โดยแยกเป็น content type, media type, carrier type

 

ศัพท์ที่แตกต่างระหว่าง AACR2

 

AACR2 Terminology

RDA Terminology

Heading Authorized access point
Author, composer, etc. Creator
Main entry Authorized access point for creator+preferred title
Added entry Access point
Uniform title Preferred title, conventional collective title
“see” reference Variant access point
“see also” reference Authorized access point for related entity
Physical description Carrier description
General material designation (GMD) Content type, media type, carrier type (CMC)
Chief source (a single source) Preferred sources (multiple sources)
Areas Element

เอกสารที่สำคัญเกี่ยวข้องกับ RDA

  1. RDA Toolkit (http://access.rdatoolkit.org) เป็นคู่มือที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับคำอธิบายในการลงรายการ ซึ่งห้องสมุดต้องบอกรับเป็นสมาชิก จึงจะสามารถเข้าใช้งานได้ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ Full-text print version และ Online RDA toolkit
  2. Library of Congress (LC) RDA Training Materials (http://www.loc.gov/catworkshop/RDA%20training%20materials/LC%20RDA%20Training/LC%20RDA%20course%20table.html)
  3. RDA : Strategies for implementation by Magda El-Sherbini, Chicago : ALA, 2013

 

การประยุกต์ใช้ RDA ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

  • สำหรับผู้ปฎิบัติงาน(บรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ/ผู้ลงรายการ)
  1. ทำความเข้าใจกับแนวคิด หลักการ คำศัพท์ วัตถุประสงค์และส่วนต่างๆ ของ FRBR & FRAD ทั้งหมด

ได้แก่ เข้าใจส่วนประกอบของ RDA ความหมายของ FRBR terms รวมถึงการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องของ FRBR & FRAD

  1. 2.  ควรทราบคำต่าง ๆ ที่ใช้ใน RDA และความแตกต่างของคำที่ใช้ใน RDA และ AACR2 เช่น

– Work, Expression, Manifestation, Item, Preferred title (เทียบได้กับ Main entry ของ AACR2)

– Authorized access points (เทียบได้กับ Headings ของ AACR2)

– Creator (เทียบได้กับ author, composer, illustrator ของ AACR2)

3. ควรศึกษาการใช้งานและทำความเข้าใจกับ RDA ทั้งโครงสร้างและการจัดระบบข้อมูล เนื่องจากโครงสร้างของ RDA มีความแตกต่างจาก AACR2 อย่างมาก ทั้งนี้ ผู้ลงรายการ ควรจัดทำ map กฎการใช้งาน MARC โดยเฉพาะข้อมูลที่มีการใช้บ่อย ๆ รวมถึง RDA และใช้ RDA toolkit ทำแผนที่กฎการใช้ AACR2 จนถึง RDA

          4. ควรทำความคุ้นเคยกับ RDA toolkit ซึ่งใน toolkit ประกอบด้วย ชุดการสอนและคอร์สการอบรม RDA อีกทั้งควรสามารถใช้ Keyword ในการค้น, การค้นผ่านจากสารบัญของ RDA toolkit, หมายเลขกฎของ AACR2 เพื่อการเข้าถึงการใช้งานของ RDA, รวมถึงการสร้าง customized view ได้

5. คำแนะนำ/เคล็ดลับสำหรับการเตรียมจัดฝึกอบรมภายในหน่วยงาน

6. จัดเตรียมเอกสารเรื่องของ RDA โดยเฉพาะ

7. ปรับเปลี่ยนนิสัยการทำงานของผู้วิเคราะห์รายการ (ปรับตัวและยอมรับระเบียบการลงรายการใหม่)

8. ศึกษาเรื่อง RDA อย่างต่อเนื่อง

9. คำแนะนำสำหรับห้องสมุด

10. แจ้งรูปแบบใหม่ของระเบียนรายการ RDA ไปยังส่วนงานบริการและผู้ใช้

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการลงรายการ RDA ในด้านส่วนประกอบและการนำไปใช้

2. ได้รับทราบความแตกต่างของรูปแบบการลงรายการระหว่าง AACR2, MARC21 และ RDA

3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ได้จริงในการปฏิบัติงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ

About