Home » Archive by category จดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564

โครงการสัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (เสวนาออนไลน์ผ่าน Webex Meeting) การจัดการเอกสารจดหมายเหตุเป็นไฟล์ดิจิทัล วิทยากร : คุณณัฏฐา กล้าหาญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รูปแบบการแปลงเอกสารจดหมายเหตุเป็นไฟล์ดิจิทัล เอกสารจดหมายเหตุดิจิทัล ดำเนินการด้วยหลักการเดียวกับเอกสารที่เป็นแผ่นกระดาษ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต จัดเก็บ อนุรักษ์ โดย สำนักหอจดหมายเหตุฯ แบ่งเอกสารจดหมายเหตุดิจิทัลเป็น 3 ประเภท คือ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และเอกสาร มาตรฐานการแปลงภาพถ่ายให้เป็นไฟล์ดิจิทัล – ต้นฉบับ TIFF ความละเอียดไม่น้อยกว่า 800 dpi และไม่น้อยกว่า 8 bit – ไฟล์ JPG ความละเอียดไม่น้อยกว่า...
Continue reading

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี ๒๕๖๓

โครงการสัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี ๒๕๖๓ วันศุกร์ที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ (เสวนาออนไลน์ผ่าน Webex Meeting) หัวข้อการเสวนาแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงเช้า : เรื่อง จดหมายเหตุวิถีใหม่ โดย อาจารย์จุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รับชมการเสวนาได้ที่ https://youtu.be/jvKVMlkEEAI ช่วงบ่าย : เรื่อง การปรับตัวในยุค New Normal และการ Reskill – Upskill โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) รับชมการเสวนาได้ที่ https://youtu.be/tldD98L5dRc
Continue reading

ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ (7 ธันวาคม 2559)

ชื่อโครงการ : โครงการเพื่อการเรียนรู้หน่วยงานใต้เบื้องพระยุคลบาท ณ ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ ผู้ร่วมกิจกรรม : นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันที่ : 7 ธันวาคม 2559 สำนักราชเลขาธิการ เป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการในพระองค์พระมหากษัตริย์ จัดตั้งขึ้นในสมับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทบาทและหน้าที่ของสำนักราชเลขาธิการจะปรับเปลี่ยนไปตามพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์และตามนโยบายการบริหารประเทศของแต่ละรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๒๓  สำนักราชเลขาธิการได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำโครงการห้องสมุดสำนักราชเลขาธิการ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่อยู่ในรูปของเอกสารจดหมายเหตุ สิ่งพิมพ์ และไม่ใช่สิ่งพิมพ์ และเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพระบรมราชจักรีวงศ์โดยเฉพาะ ต่อมาได้ยกฐานะเป็นฝ่ายห้องสมุดเฉพาะ สำนักราชเลขาธิการ และศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ ตามลำดับ
Continue reading

การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ (22 กันยายน 2559 : พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ)

การอบรมโครงการความรู้พิพิธภัณฑศึกษาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านพิพิธภัณฑ์ เรื่อง “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ” โดย กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ และ กลุ่มวิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันที่ 22 กันยายน 2559 สถานที่ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จ.ปทุมธานี ศึกษาเรื่อง ศาสตร์พระราชา : การบริหารพิพิธภัณฑ์เพื่อสังคมที่ยั่งยืน โดยเข้าชมและศึกษาการบริหารจัดการของ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) อ้างอิงแนวคิดและทฤษฎีการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านพิพิธภัณฑ์ รวมถึงงานอื่นๆ ได้อย่างลงตัว ศาสตร์พระราชา หรือหลักการทรงงาน สามารถสรุปได้เป็น 23 หัวข้อสำคัญ คือ
Continue reading

การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ (15 กันยายน 2559 : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

การอบรมโครงการความรู้พิพิธภัณฑศึกษาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านพิพิธภัณฑ์ เรื่อง “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ” โดย กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ และ กลุ่มวิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันที่ 15 กันยายน 2559 สถานที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ศึกษาเรื่อง การบริหารองค์กรเพื่อสังคม เมื่อสังคมเจริญก้าวหน้าและมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงเกิดปัญหาด้านต่างๆ ตามมามากมาย และยังมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะจนเกินกว่าที่หน่วยงานของรัฐจะรับมือได้ จึงเกิดองค์กรสาธารณประโยชน์ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อเกิดองค์กรเครือข่ายที่มีเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม ซึ่งกิจการเพื่อสังคมจะมีลักษณะพิเศษและแตกต่างจากองค์กรภาคเอกชนทั่วไป ที่มีเป้าหมายทางธุรกิจเป็นหลัก แตกต่างจากกิจกรรม CSR ตรงที่เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสังคมและเป็นองค์กรที่สร้างรายได้ สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน และนำรายได้กลับมาลงทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป
Continue reading

การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ (8 กันยายน 2559 : หอศิลปฯ กรุงเทพฯ)

การอบรมโครงการความรู้พิพิธภัณฑศึกษาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านพิพิธภัณฑ์ เรื่อง “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ” โดย กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ และ กลุ่มวิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันที่ 8 กันยายน 2559 สถานที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาของครั้งนี้อยู่ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยผู้ร่วมสัมมนาจะต้องเข้าชมและศึกษาการจัดนิทรรศการและเก็บเกี่ยว Content ที่ได้ นำมาอภิปรายร่วมกันเพื่อตกผลึกประเด็นสำคัญ นิทรรศการที่เข้าชมประกอบด้วย นิทรรศการภาพเขียน “ร้อยริ้วสรรพสีสรร” ตำนานชีวิตและสังคม โดย ประเทือง เอมเจริญ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ นิทรรศการ “ตึก” โดยศิลปิน ไตรรัตน์ ศรีบุรินทร์ นิทรรศการ “เดินสู่หนไหน?” โดยศิลปินชาวเกาหลี Koo Youenmo นิทรรศการ “แรงงาน ไม่มีประวัติศาสตร์”...
Continue reading

การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ (1 กันยายน 2559 : วังบางขุนพรหม)

การอบรมโครงการความรู้พิพิธภัณฑศึกษาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านพิพิธภัณฑ์ เรื่อง “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ” โดย กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ และ กลุ่มวิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันที่ 1 กันยายน 2559 สถานที่ วังบางขุนพรหม ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ประกอบไปด้วยผู้ทำงานด้านพิพิธภัณฑ์ทั้งของภาครัฐและเอกชน อาทิ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ท้องฟ้าจำลอง อพวช. กรมทรัพยากรธรณี และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์พื้นบ้านฯ เป็นต้น ในวันแรกมีการเปิดเสวนาเกี่ยวกับสถานการณ์ของพิพิธภัณฑ์ไทยกับ ICOM : International Council of Museum หรือ สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ โดยวิทยากรผู้ให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์คือ คุณจารุณี อินเฉิดฉาย ผอ.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก และ คุณปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย...
Continue reading

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ฯ : พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ฯ

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๔ ศุกร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ณ พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินานาถ มิวเซียมแห่งนี้เปิดดำเนินการโดยใช้ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในเขตพระราชฐานชั้นนอก อาคารแห่งนี้เป็นอาคารโบราณสร้างมาตั้งแต่ต้นกรุง มาปรับปรุงและเพิ่มเติมครั้งใหญ่ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ ทำหน้าที่เป็นที่ทำการกรมพระคัลงมหาสมบัติ คือจัดการด้านภาษีอากร ต่อมาก็ขยับขยายเป็นสำนักงานของหน่วยงานอื่นๆ อีก ๔ แห่ง คือ สำนักงานธนาคารชาติไทย กรมธนารักษ์ ราชบัณฑิตยสถาน และกองราชพิธี อยู่มาหน่วยงานเหล่านี้ก็แยกย้ายออกไป อาคารจึงว่างเปล่า จนถึงปี ๒๕๔๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นอาคารสำหรับมิวเซียมแห่งนี้ แต่กว่าจะเปิดอย่างเป็นทางการก็เมื่อปี ๒๕๕๕
Continue reading

การเสวนาวิชาการจดหมายเหตุ: เบื้องหลังการวบรวมต้นฉบับหนังสือผู้ประศาสน์การและอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การเสวนาวิชาการจดหมายเหตุ เบื้องหลังการวบรวมต้นฉบับหนังสือผู้ประศาสน์การและอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2477-2556): ประวัติชีวิต ความคิด และการทำงาน และเปิดตัวหนังสือ ธรรมศาสตรานุกรม 80 ปี (พ.ศ. 2477-2557) จัดโดย หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2557 ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องด้วยในปี พ.ศ. 2557 นับเป็นปีที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาปนามาครบรอบ 80 ปี โดยได้เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ มีศิษย์เก่ามากมายที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ ของสังคมไทย โดยเฉพาะแวดวงการเมืองการปกครอง หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้จัดทำหนังสือเพื่อเป็นที่ระลึกแห่งการสถาปนา และเพื่อเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของมหาวิทยาลัยไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง จุดมุ่งหมายในการเข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้คือการไปเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานของคณะทำงานของหนังสือเล่มนี้ เพราะ หน่วยจดหมายเหตุฯ คณะวิทยาศาสตร์ มีแนวคิดที่จะจัดทำหนังสือในทำนองนี้อยู่เหมือนกัน...
Continue reading