เข้าใจ copyright’ เตรียมต้นฉบับง่ายขึ้น ครั้งที่ 3

สรุปการอบรม “เข้าใจ copyright’เตรียมต้นฉบับง่ายขึ้น ครั้งที่ 3” จัดโดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.30-11.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสิริวัฒนภักดี สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อที่ 1 กฎหมายลิขสิทธิ์ วิทยากร : คุณไรวินท์ รุจิเรข นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กองลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือ สร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่จากัดชนิดของการสร้างสรรค์ หรือวิธีการแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือในรูปแบบของสิ่งของที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ กรรมวิธีการผลิตในอุตสาหกรรม เป็นต้น ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น...
Continue reading

การประชุมทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ความยั่งยืน โดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

การประชุมทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ความยั่งยืน (Library Development Towards Sustainability) และประชุมใหญ่สามัญประจำปี พุทธศักราช 2565 วัน-เวลา : วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 สถานที่ : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพ ผู้เข้าอบรม :  วรัษยา สุนทรศารทูล และ  อภิชัย อารยะเจริญชัย สรุปประเด็นน่าสนใจแบบรวบยอด ESCAP Library Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP หรือ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก เป็นส่วนหนึ่งของ UN ซึ่งแน่นอนว่าพันธกิจต่าง ๆ...
Continue reading

อบรม Data Storytelling

วิทยากร : คุณจิตตยา ธรรมสรณ์ ตำแหน่ง Manager, Academy Innovation and Strategic Partnership กลุ่มงาน SCB Academyวัน-เวลา : วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา09.00-12.00 น.สถานที่ : Co-MU Space ชั้น 1 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลผู้เข้าอบรม :     1. กนกพร งามสว่างรุ่งโรจน์ 2. เฉลิมพันธุ์ ตาทิพย์ 3. บุญญาวดี พงษ์ศิลา 4. พิทวัส ดาราทิพย์ 5. สมภพ แสนสมบูรณ์สุข “การนำเสนอที่ดีต้องมี Data ประกอบ แต่ถ้ามี...
Continue reading

การสร้างทัวร์สถานที่เสมือนด้วย VR 360 Tour by 3DVista

วิทยากร : คุณเฉลิมพล ภูวัชร์อดิสฐ  นักวิชาการโสตทัศนศึกษา                   งานพัฒนาสื่อผสม กองเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล วัน-เวลา: วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 09.00-16.30 น. ผู้เข้าร่วมอบรม:   นายเฉลิมพันธุ์ ตาทิพย์  นางสาวอัมฤตา เปรื่องกระโทก เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า VR ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เพื่อการฝึกอบรม ใช้เพื่อการนำชมสถานที่ ใช้เพื่อการฝึกปฏิบัติทางการแพทย์ เป็นต้น โดยจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนขึ้น ผู้ใช้สามารถโต้ตอบได้ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ จอทัชสกรีน แว่นตา 3 มิติ เป็นต้น ในด้านการศึกษา เทคโนโลยี...
Continue reading

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564

โครงการสัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (เสวนาออนไลน์ผ่าน Webex Meeting) การจัดการเอกสารจดหมายเหตุเป็นไฟล์ดิจิทัล วิทยากร : คุณณัฏฐา กล้าหาญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รูปแบบการแปลงเอกสารจดหมายเหตุเป็นไฟล์ดิจิทัล เอกสารจดหมายเหตุดิจิทัล ดำเนินการด้วยหลักการเดียวกับเอกสารที่เป็นแผ่นกระดาษ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต จัดเก็บ อนุรักษ์ โดย สำนักหอจดหมายเหตุฯ แบ่งเอกสารจดหมายเหตุดิจิทัลเป็น 3 ประเภท คือ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และเอกสาร มาตรฐานการแปลงภาพถ่ายให้เป็นไฟล์ดิจิทัล – ต้นฉบับ TIFF ความละเอียดไม่น้อยกว่า 800 dpi และไม่น้อยกว่า 8 bit – ไฟล์ JPG ความละเอียดไม่น้อยกว่า...
Continue reading

Unpaywall เครื่องมือเข้าถึง Fulltext

ปัญหาสำหรับนักวิจัยในการค้นหาผลงานวิจัยคือมักจะ download เอกสารฉบับเต็มไม่ได้ อาจเป็นเพราะบทความนั้นต้องเป็นสมาชิก บทความนั้นไม่ใช่ OA วารสารหรือฐานข้อมูลนั้นไม่ได้บอกรับ ไปจนถึงขาดความเชี่ยวชาญในการค้นหา ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด อุปสรรคเหล่านี้จะคลี่คลาย (หรือลดลง) ด้วย Unpaywall Unpaywall  เป็น Plugin ที่ติดตั้งบน Browser ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้เข้าถึงและ Download บทความวิจัย Unpaywall เป็นเครื่องมือที่รวบรวมบทความวิจัยจากวารสารประเภท Open Access จากทั่วโลก รวมถึงบทความที่ให้อ่านฟรีในฉบับย้อนหลัง (Embargo) และบทความที่เปิดให้อ่านฟรี ซึ่งแหล่งที่มาของบทความเหล่านี้จะไม่รวมที่มาจาก Sci-Hub และ Research Gate เนื่องจากทั้งสองแหล่งนี้มีความเสี่ยงที่จะเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้นจึงพอจะอุ่นใจได้ว่าบทความที่ได้จาก Unpaywall ถูกกฎหมายแน่นอน Unpaywall ติดตั้งผ่านเว็บไซต์ http://unpaywall.org คลิกที่ Get the Extension และทำตามขั้นตอนไปจนเสร็จสิ้น จะมีสัญลักษณ์รูปกุญแจขึ้นที่แถบเมนูด้านบนของ Browser...
Continue reading

การเขียนบทความปริทัศน์ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

หน่วยบริหารงานวิจัย งานวิจัยและวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษเรื่อง การเขียนบทความปริทัศน์ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยากร ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพุธที่ 9 กันยายน 2563 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุม 729 ชั้น 7 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ สรุปเนื้อหา – บทความปริทัศน์ (Review Article) เป็นบทความวิชาการที่สามารถใช้ประกอบเพื่อขอตำแหน่งได้ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน – เป็นการสำรวจงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว โดยประเมิน วิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบ ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือหลายประเด็น แต่ต้องมีความชัดเจน – ต้องมีข้อสรุปจากมุมมองของผู้เขียน เช่น งานวิจัยชิ้นนั้นมีข้อดี ข้อด้อย อย่างไร แจกแจงให้เห็นภาพโดยละเอียด –...
Continue reading

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี ๒๕๖๓

โครงการสัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี ๒๕๖๓ วันศุกร์ที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ (เสวนาออนไลน์ผ่าน Webex Meeting) หัวข้อการเสวนาแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงเช้า : เรื่อง จดหมายเหตุวิถีใหม่ โดย อาจารย์จุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รับชมการเสวนาได้ที่ https://youtu.be/jvKVMlkEEAI ช่วงบ่าย : เรื่อง การปรับตัวในยุค New Normal และการ Reskill – Upskill โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) รับชมการเสวนาได้ที่ https://youtu.be/tldD98L5dRc
Continue reading

การคาดการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

การคาดการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และทีมงาน ถ่ายทอดสดผ่าน IPTV Mahidol University วันที่ 23 มีนาคม 2563 เวลา 09.00-10.00 น. ผู้เขียน นายเฉลิมพันธุ์ ตาทิพย์ หัวข้อสำคัญ คาดการณ์สถานการณ์ COVID-19 ภายใน 1 เดือน ธรรมชาติของโรคระบาดและมาตรการที่ควรใช้ “Social Distancing” หลักการคือ “โรคติดต่อจะไม่ติดต่อ หากคนไม่ติดต่อกัน” “Shelter in Place” กักตนเองอยู่ในบ้าน ออกนอกบ้านให้น้อยที่สุด แนวทางการ Work from Home เพื่อรับมือ COVID-19 ข้อสรุปและแนวทางการปฏิบัติตนในสถานการณ์ COVID-19 คาดการณ์สถานการณ์...
Continue reading

ห่อปกหนังสือด้วยกระดาษ ง่ายนิดเดียว

กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะพลาสติก รุกมาถึงบรรดาคนรักหนังสือที่นิยมห่อปกหนังสือด้วยพลาสติก บ้างก็ว่านี่ไม่ใช่ขยะ เพราะห่อกันทีอยู่เป็นสิบ ๆ ปี แต่อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและยังประหยัดเงินได้อีกด้วยคือการนำกระดาษมาห่อเป็นปกแทน วิธีการก็ง่ายแสนง่ายเพียงไม่กี่ขั้นตอน ข้อมูลโดย คุณกนกพร งามสว่างรุ่งโรจน์ บรรณารักษ์ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข
Continue reading