โครงการสัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564
วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (เสวนาออนไลน์ผ่าน Webex Meeting)
การจัดการเอกสารจดหมายเหตุเป็นไฟล์ดิจิทัล
วิทยากร : คุณณัฏฐา กล้าหาญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
รูปแบบการแปลงเอกสารจดหมายเหตุเป็นไฟล์ดิจิทัล
เอกสารจดหมายเหตุดิจิทัล ดำเนินการด้วยหลักการเดียวกับเอกสารที่เป็นแผ่นกระดาษ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต จัดเก็บ อนุรักษ์ โดย สำนักหอจดหมายเหตุฯ แบ่งเอกสารจดหมายเหตุดิจิทัลเป็น 3 ประเภท คือ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และเอกสาร
- มาตรฐานการแปลงภาพถ่ายให้เป็นไฟล์ดิจิทัล
– ต้นฉบับ TIFF ความละเอียดไม่น้อยกว่า 800 dpi และไม่น้อยกว่า 8 bit
– ไฟล์ JPG ความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi
– ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์และศักยภาพการจัดเก็บของแต่ละหน่วยงาน - มาตรฐานการแปลงฟิล์มและสไลด์ให้เป็นไฟล์ดิจิทัล
– ต้นฉบับ TIFF ความละเอียดไม่น้อยกว่า 600 dpi
– ไฟล์ JPG ความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi
– ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์และศักยภาพการจัดเก็บของแต่ละหน่วยงาน - มาตรฐานการแปลงเอกสารให้เป็นไฟล์ดิจิทัล
– ต้นฉบับ TIFF ความละเอียดไม่น้อยกว่า 600 dpi และไม่น้อยกว่า 8 bit
– ไฟล์ JPG ความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi
– ไฟล์ PDF ความละเอียดไม่น้อยกว่า 150 dpi
– ไฟล์ PDF/A ความละเอียดไม่น้อยกว่า 200 dpi
– ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์และศักยภาพการจัดเก็บของแต่ละหน่วยงาน - มาตรฐานการแปลงแถบบันทึกภาพเคลื่อนไหวให้เป็นไฟล์ดิจิทัล
– ต้นฉบับที่เป็นแถบแม่เหล็กบันทึกด้วยระบบ SD (Standard Definition) เช่น VHS, Betacam, miniDV ให้บันทึกในรูปแบบ MPEG-II หรือ MPEG-IV
– ต้นฉบับที่เป็นแถบแม่เหล็กบันทึกด้วยระบบ HD (High Definition) เช่น D5 HD, D-VHS, HDCAM ให้บันทึกในรูปแบบ H264 หรือ MPEG-IV - มาตรฐานการแปลงแถบบันทึกเสียงให้เป็นไฟล์ดิจิทัล
– บันทึกในรูปแบบ WAV เก็บไฟล์เสียงแบบ Pulse Code Modulation มี Samplinf Rate ไม่น้อยกว่า 44.1 kHz/16 bit
– บันทึกในรูปแบบ MP3 มี Bit Rate ไม่น้อยกว่า 196 kbps
ข้อกำหนดการลงรายละเอียด Metadata สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กำหนดมาตรฐานของส่วนประกอบไว้ดังนี้
1) การพรรณาเนื้อหาของเอกสาร (มีคู่มือต่างหาก)
2) โครงสร้าง เช่น รูปแบบเอกสาร ความสัมพันธืระหว่างอค์ประกอบต่าง ๆ ของเอกสาร
3) บริบทขององค์กรในการสร้างหรือรับเอกสาร
4) ความสัมพันธ์กับเอกสารหรือ metadata อื่น
5) ตัวระบุเอกสาร (Identifier) และข้อมูลอื่นที่จำเป็นสำหรับการสืบค้น
6) การดำเนินงานขององค์กรและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเอกสาร
(การบันทึกข้อมูลของ สำนักจดหมายเหตุฯ ใช้โปรแกรม Adobe Bridge)
เอกสารประกอบการบรรยาย >> Seminar-64-slide-AM