Home » Articles posted by Apichai Arayacharoenchai

การประชุมทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ความยั่งยืน โดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

การประชุมทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ความยั่งยืน (Library Development Towards Sustainability) และประชุมใหญ่สามัญประจำปี พุทธศักราช 2565 วัน-เวลา : วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 สถานที่ : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพ ผู้เข้าอบรม :  วรัษยา สุนทรศารทูล และ  อภิชัย อารยะเจริญชัย สรุปประเด็นน่าสนใจแบบรวบยอด ESCAP Library Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP หรือ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก เป็นส่วนหนึ่งของ UN ซึ่งแน่นอนว่าพันธกิจต่าง ๆ...
Continue reading

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564

โครงการสัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (เสวนาออนไลน์ผ่าน Webex Meeting) การจัดการเอกสารจดหมายเหตุเป็นไฟล์ดิจิทัล วิทยากร : คุณณัฏฐา กล้าหาญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รูปแบบการแปลงเอกสารจดหมายเหตุเป็นไฟล์ดิจิทัล เอกสารจดหมายเหตุดิจิทัล ดำเนินการด้วยหลักการเดียวกับเอกสารที่เป็นแผ่นกระดาษ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต จัดเก็บ อนุรักษ์ โดย สำนักหอจดหมายเหตุฯ แบ่งเอกสารจดหมายเหตุดิจิทัลเป็น 3 ประเภท คือ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และเอกสาร มาตรฐานการแปลงภาพถ่ายให้เป็นไฟล์ดิจิทัล – ต้นฉบับ TIFF ความละเอียดไม่น้อยกว่า 800 dpi และไม่น้อยกว่า 8 bit – ไฟล์ JPG ความละเอียดไม่น้อยกว่า...
Continue reading

Unpaywall เครื่องมือเข้าถึง Fulltext

ปัญหาสำหรับนักวิจัยในการค้นหาผลงานวิจัยคือมักจะ download เอกสารฉบับเต็มไม่ได้ อาจเป็นเพราะบทความนั้นต้องเป็นสมาชิก บทความนั้นไม่ใช่ OA วารสารหรือฐานข้อมูลนั้นไม่ได้บอกรับ ไปจนถึงขาดความเชี่ยวชาญในการค้นหา ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด อุปสรรคเหล่านี้จะคลี่คลาย (หรือลดลง) ด้วย Unpaywall Unpaywall  เป็น Plugin ที่ติดตั้งบน Browser ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้เข้าถึงและ Download บทความวิจัย Unpaywall เป็นเครื่องมือที่รวบรวมบทความวิจัยจากวารสารประเภท Open Access จากทั่วโลก รวมถึงบทความที่ให้อ่านฟรีในฉบับย้อนหลัง (Embargo) และบทความที่เปิดให้อ่านฟรี ซึ่งแหล่งที่มาของบทความเหล่านี้จะไม่รวมที่มาจาก Sci-Hub และ Research Gate เนื่องจากทั้งสองแหล่งนี้มีความเสี่ยงที่จะเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้นจึงพอจะอุ่นใจได้ว่าบทความที่ได้จาก Unpaywall ถูกกฎหมายแน่นอน Unpaywall ติดตั้งผ่านเว็บไซต์ http://unpaywall.org คลิกที่ Get the Extension และทำตามขั้นตอนไปจนเสร็จสิ้น จะมีสัญลักษณ์รูปกุญแจขึ้นที่แถบเมนูด้านบนของ Browser...
Continue reading

การเขียนบทความปริทัศน์ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

หน่วยบริหารงานวิจัย งานวิจัยและวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษเรื่อง การเขียนบทความปริทัศน์ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยากร ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพุธที่ 9 กันยายน 2563 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุม 729 ชั้น 7 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ สรุปเนื้อหา – บทความปริทัศน์ (Review Article) เป็นบทความวิชาการที่สามารถใช้ประกอบเพื่อขอตำแหน่งได้ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน – เป็นการสำรวจงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว โดยประเมิน วิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบ ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือหลายประเด็น แต่ต้องมีความชัดเจน – ต้องมีข้อสรุปจากมุมมองของผู้เขียน เช่น งานวิจัยชิ้นนั้นมีข้อดี ข้อด้อย อย่างไร แจกแจงให้เห็นภาพโดยละเอียด –...
Continue reading

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี ๒๕๖๓

โครงการสัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี ๒๕๖๓ วันศุกร์ที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ (เสวนาออนไลน์ผ่าน Webex Meeting) หัวข้อการเสวนาแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงเช้า : เรื่อง จดหมายเหตุวิถีใหม่ โดย อาจารย์จุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รับชมการเสวนาได้ที่ https://youtu.be/jvKVMlkEEAI ช่วงบ่าย : เรื่อง การปรับตัวในยุค New Normal และการ Reskill – Upskill โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) รับชมการเสวนาได้ที่ https://youtu.be/tldD98L5dRc
Continue reading

ห่อปกหนังสือด้วยกระดาษ ง่ายนิดเดียว

กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะพลาสติก รุกมาถึงบรรดาคนรักหนังสือที่นิยมห่อปกหนังสือด้วยพลาสติก บ้างก็ว่านี่ไม่ใช่ขยะ เพราะห่อกันทีอยู่เป็นสิบ ๆ ปี แต่อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและยังประหยัดเงินได้อีกด้วยคือการนำกระดาษมาห่อเป็นปกแทน วิธีการก็ง่ายแสนง่ายเพียงไม่กี่ขั้นตอน ข้อมูลโดย คุณกนกพร งามสว่างรุ่งโรจน์ บรรณารักษ์ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข
Continue reading

ประชุมวิชาการ ชบอ. “บทบาทของห้องสมุดอุดมศึกษาในการจัดการข้อมูลวิจัยฯ”

การประชุมวิชาการชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เรื่อง บทบาทของห้องสมุดอุดมศึกษาในการจัดการข้อมูลวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย วันที่ 20 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมประชุม : น.ส วรัษยา สุนทรศารทูล และ นาย อภิชัย อารยะเจริญชัย RDM: Research Data Management เกิดจากแนวคิดที่เชื่อว่า Research Data ควรเป็นข้อมูลที่เป็นสาธารณะ 1) ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงและใช้ได้ 2) สามารถนำมาต่อยอดได้ 3) นำมาพัฒนาเป็นความรู้ใหม่ 4) นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วยังมีฝ่ายที่เห็นว่าการเผยแพร่ข้อมูลวิจัย อาจมีผลกระทบบางอย่าง เช่น การลักลอกผลงาน ความไม่เท่าเทียม การละเมิดสิทธิ์ ดังนั้นกระบวนการจัดการข้อมูลวิจัย จึงน่าจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในกระบวนการทำวิจัยนั้น นอกจากจะนำเสนอผลงานวิจัยในท้ายที่สุดแล้ว ข้อมูลต่าง ๆ...
Continue reading

Basic Knowledge about RDM

สาระโดยสรุปจากการอบรม Basic Knowledge about Research Data Management (RDM) โครงการ Mahidol Library Professional Development Program 2020 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 วิทยากร: ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล Research Data คืออะไร ส่วนใหญ่ชาวเราจะคุ้นเคยกับ Research Article หรืองานวิจัยที่เราคอยให้บริการแก่ผู้ใช้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ซึ่งงานวิจัยที่ว่านี้คือปลายทางของการวิจัย แต่กว่าจะมาเป็นงานวิจัยต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมาย และยังประกอบด้วยข้อมูล (Data) จำนวนมากที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมค้นคว้ามาใช้ประกอบ ชาวห้องสมุดเองก็ไม่มีทางทราบถึงข้อมูลที่ว่าเหล่านี้ รวมถึงผู้ใช้เองด้วย แต่ปัจจุบันสังคมของนักวิจัยได้ให้ความสำคัญกับ Data เหล่านี้มากขึ้นและเห็นว่าควรจะเผยแพร่สู่สาธารณะ มีหลายองค์กรได้ให้คำจำกัดความของ RD โดยสรุปแล้วก็คือข้อมูลทุกสิ่งอย่าง ทุกรูปแบบ ที่รวบรวมสะสมไว้เพื่อใช้ในกระบวนการวิจัย จะมีมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับผู้วิจัย...
Continue reading

Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21

โครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวข้อการบรรยาย 1. AI and Big Data in KU โดย ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาส รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แนวทางการพัฒนาด้าน AI ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการดำเนินงานด้าน Data science เช่น KU Data Science Forum, KU Data Science Boot Camp, สร้างความร่วมมืองานวิจัยระหว่างคณะ สร้าง AI infrastructure...
Continue reading

ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์ออนไลน์ NewsCenter และ iQNewsClip

ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์ออนไลน์ NewsCenter และ iQNewsClip วิทยากร: จาก InfoQuest ผู้เข้าร่วมอบรม: นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 ใช้บริการภายใต้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น login โดย รหัส Google Account ของมหาวิทยาลัยมหิดล (@mahidol.edu) ที่ >> https://www.iqnewscenter.com/gauth/mahidol.aspx?lp=http%3A%2F%2Fwww.li.mahidol.ac.t ทั้งสองฐานข้อมูลเป็นผลิตภัณฑ์ของ InfoQuest ให้บริการข่าวสารจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบออนไลน์ สามารถสืบค้นข่าวย้อนหลังได้ และ download ไฟล์เก็บไว้ได้ทั้งแบบ MS-Word และ PDF สองฐานข้อมูลมีความแตกต่างคือ – NewsCenter ให้บริการข่าวแบบ Real Time เน้นความฉับไวของข้อมูล จึงเน้นการนำเสนอแบบ...
Continue reading