Home » ประชุมวิชาการ » การเขียนบทความปริทัศน์ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

การเขียนบทความปริทัศน์ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

หน่วยบริหารงานวิจัย งานวิจัยและวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษเรื่อง การเขียนบทความปริทัศน์ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วิทยากร ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันพุธที่ 9 กันยายน 2563 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุม 729 ชั้น 7 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์

สรุปเนื้อหา
– บทความปริทัศน์ (Review Article) เป็นบทความวิชาการที่สามารถใช้ประกอบเพื่อขอตำแหน่งได้ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน
– เป็นการสำรวจงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว โดยประเมิน วิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบ ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือหลายประเด็น แต่ต้องมีความชัดเจน
– ต้องมีข้อสรุปจากมุมมองของผู้เขียน เช่น งานวิจัยชิ้นนั้นมีข้อดี ข้อด้อย อย่างไร แจกแจงให้เห็นภาพโดยละเอียด
– ส่วนใหญ่มักจำเป็นต้องใช้เอกสารอ้างอิงจำนวนมาก เพื่อเป็นข้อพิสูจน์
– รูปแบบเนื้อเรื่องไม่ตายตัว แต่ควรแบ่งหัวข้อให้ชัดเจนว่ากำลังวิจารณ์ประเด็นใดอยู่ และต้องมีบทสรุปให้ผู้อ่านเห็นตามอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง
– บทความปริทัศน์ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มีความสำคัญในการประมวลความรู้และความก้าวหน้าทางวิชาการ แต่ยังมีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับด้านวิทยาศาสตร์ เหตุผลหนึ่งคือยังขาดผู้เชี่ยวชาญในบางเรื่องที่จะทำหน้าที่ Reviewer เพื่อพิจารณาตีพิมพ์
– จากเหตุผลข้างต้นทำให้ผลงานประเภทนี้เผยแพร่ออกมาค่อนข้างล่าช้า หรือบางครั้งตีพิมพ์ออกมาแต่ไม่มีคุณภาพ