การฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น
โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) ประจำปี 2558
ระหว่างวันที่ 23 – 24 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 8.30 – 16.00 น.
ณ ห้องฝึกอบรม ชั้น 2 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)
วิทยากร : นายจิรวัฒน์ พรหมพร แผนกสนับสนุนฝ่ายทรัพยากอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
ผู้เข้าอบรม : อัมฤตา เปรื่องกระโทก
การสืบค้นสารสนเทศ
1. การเตรียมคีย์เวิร์ด (Preparing your keywords)
- ควรจะเป็นคํานาม (Noun)
- คําพ้องความหมาย คําเหมือน คําคล้าย (Synonym) เช่น hypertension กับ high blood pressure หรือ woman female lady girl เป็นต้น
ตัวอย่างการเตรียมคีย์เวิร์ด เพื่อคัดเลือกวรรณกรรมที่เป็นงานวิจัยหลายประเภท
เรื่องที่ต้องการสืบค้น คือ
การบําบัดหรือจัดการอาการปวดหลังส่วนล่างแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
- อาการปวดแบบเฉียบพลัน acute pain
- อาการปวดแบบเรื้อรัง chronic pain
- หลัง Back
- หลังส่วนล่าง low back
- การจัดการ Management
2. การใช้เครื่องหมายช่วยในการสืบค้น (Wildcards)
* ละตัวอักษรตั้งแต่ 0 ตัวอักษรเป็นต้นไป
ตัวอย่างเช่น manag* จะค้นหา manage manages manager management
? แทนที่ตัวอักษรเพียงตัวเดียวเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น wom?n จะค้นหา woman women หรือ fib?? จะค้นหา fiber fibre
“…..” ค้นตรงตามตัวที่พิมพ์
ตัวอย่างเช่น “lung cancer” “stingless bee” “hard of hearing” เป็นต้น
(…….) จัดลําดับการสืบค้นก่อนหลัง
ตัวอย่างเช่น rabies AND (dog OR cat)
3. การสร้างเงื่อนไขเพื่อการสืบค้นโดยใช้ตัวเชื่อม (Operators)
• AND ค้นหาทุกคํา
ตัวอย่างเช่น insulin AND diabetes
ทั้ง insulin และ diabetes ต้องพบอยู่ในบทความเดียวกัน
• OR ค้นหาอย่างน้อยหนึ่งคํา
ตัวอย่างเช่น heart OR cardiac
heart หรือ cardiac คําใดคําหนึ่งต้องปรากฎอยู่ในบทความ
• NOT ปฎิเสธการค้นหาคํานี้
ตัวอย่างเช่น rabies NOT dogs
rabies ซึ่งเป็นคําแรกต้องปรากฎในบทความ แต่คําที่สองคือ dogs ต้องไม่ปรากฎอยู่ในบทความ
4. วิธีการสืบค้น (Search Methods)
- Basic search ค้นทุกเขตข้อมูล ผลลัพธ์การสืบค้นจะมีปริมาณมากและกว้าง
- Advanced search เลือกกําหนดเขตข้อมูลได้สร้างเงื่อนไขที่ซับซ้อนได้ดี ปริมาณผลการสืบค้นไม่มากและแคบกว่า Basic search
ฐานข้อมูลที่ใช้ในการอบรมจำนวน 6 ฐานข้อมูล ได้แก่
- ฐานข้อมูล ProQuest Dissertations & Theses
ฐานข้อมูล ProQuest Dissertations & Theses เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก จากสถาบันทางการศึกษาที่มีชื่อเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมถึงบางสถาบันการศึกษาจากทวีปยุโรป ออสเตรเลีย เอเชียและแอฟริกา วิธีการสืบค้นข้อมูล คือ
2. ฐานข้อมูล ACM Digital Library
ACM Digital Library เป็นฐานข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง จดหมายข่าว และเอกสารในการประชุมวิชาการ ที่จัดทำโดย ACM (Association for Computing Machinery) ซึ่งเนื้อหาเอกสารประกอบด้วยข้อมูลที่สำาคัญ เช่น รายการ บรรณานุกรม สาระสังเขป article reviews และบทความ วิธีการสืบค้นข้อมูล คือ
3. ฐานข้อมูล IEEE/IET Electronic Library (IEL)
IEL : เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมสารสนเทศจาก 2 แหล่งข้อมูล คือ The Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) และ The Institution of Engineering and Technology (IET) ซึ่งใน IEL ประกอบด้วยเอกสารมากกว่า 2 ล้าน จากสิ่งพิมพ์มากกว่า 12,000 ชื่อ มีวิธีการสืบค้นข้อมูล คือ
- Browse
2. Search
• Basic Search
4. ฐานข้อมูล Web of Science
Web of Science Core Collection คือ แพลตฟอร์มการสืบค้นข้อมูล จากวารสารวิชาการนานาชาติชั้นนำ (Journals) การประชุมวิชาการ (conference proceeding) และหนังสือ (Books) รวมกันมากกว่า 5ล้านรายการ ซึ่งช่วยนักวิจัยในการค้นหางานวิจัยคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตการศึกษาที่สนใจของตนเองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้สิทธิการเข้าถึงข้อมูลการสืบค้นขึ้นอยู่กับประเภทสิ่งพิมพ์ที่สถาบันแต่ละแห่งบอกรับสมาชิกไว้กับ THOMSON REUTERS เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปพร้อมการอ้างอิงและอ้างถึง ที่ครอบคลุม มีวิธีการสืบค้นข้อมูล คือ
5. ฐานข้อมูล American Chemical Society
เป็นฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักพิมพ์ The American Chemical Society ครอบคลุมสาขาวิชาเคมีและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีวารสารให้บริการจำนวน 40 รายชื่อ ประกอบด้วยรายการทางบรรณานุกรม สาระสังเขป และเอกสารฉบับเต็มรูปแบบ HTML และ PDF มีวิธีการสืบค้นข้อมูล คือ
6. ฐานข้อมูล SpringerLink
เป็นสำนักพิมพ์ชั้นนำที่ให้บริการเนื้อหาในสาขาวิชาหลักๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และทางการแพทย์ รวมถึงสาขาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ และวารสาร เป็นต้น มีวิธีการสืบค้นข้อมูล คือ