Home » อบรมวิชาการ » การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมดาต้าเวิร์สบนเครือข่าย

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมดาต้าเวิร์สบนเครือข่าย

จัดโดย แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อวันที่ 2-3 เมษายน 2558

โดยมีการบรรยาย ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน คือ Open Data, Open Data Repository และ Dataverse
ผู้เข้าอบรม : นายเฉลิมพันธุ์ ตาทิพย์ และ นายปิยะนันต์ จำนงสุทธเสถียร

Open Data คือ ข้อมูลเปิดหรือการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ ที่ทุกคนสามารถนาไปใช้ได้โดยอิสระหรือการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ เช่นการนำไปใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือใครๆก็สามารถนำไปเผยแพร่ได้ ซึ่งแนวคิดเรื่อง open data ได้นำไปสู่การสร้าง Open Data Repository ต่างๆ เช่น คลังสารสนเทศสถาบัน (Institutional Repositories: IR) เป็นต้น

คลังสารสนเทศสถาบัน (Institutional Repositories : IR) คือ แหล่งจัดเก็บสารสนเทศทางวิชาการในรูปแบบดิจิทัลที่ผลิตโดยสถาบันนั้น เพื่อให้บริการผู้ใช้ทั่วไปและสนับสนุนการค้นหาผ่านเมทาดาทา ได้แก่ บทความก่อนหรือหลังการตีพิมพ์ (article preprints and post prints) ข้อมูลการวิจัย (data sets) วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (electronic theses, Dissertations) รายงานการวิจัย รายงานทางวิชาการ และทรัพยากรการเรียนรู้อื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันมีซอฟท์แวร์ช่วยในการพัฒนา Open Data Repository มากมาย เช่น Dspace, EPrints, Omeka และ Drupal เป็นต้น

ส่วน Dataverse คือ ซอฟท์แวร์สำหรับ Open Data Repository อย่างหนึ่ง โดยมี มหาวิทยาลัย Harvard เป็นผู้พัฒนา และเปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปเข้าใช้งาน ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างคลังข้อมูลของตนเองได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ทั้งนี้ ตัวซอฟท์แวร์ Dataverse ยังเป็น open source ที่เปิดให้นำไปติดตั้งและประยุกต์ใช้งานได้ตามต้องการ

ระบบของ Dataverse สร้างขึ้นมาโดยเน้นการแบ่งปันข้อมูลดิบ และข้อมูลการวิเคราะห์ เป็น open data ให้แก่ผู้ที่สนใจได้นำไปต่อยอดเป็นงานวิจัยชิ้นใหม่ และสามารถอ้างอิงกลับมาให้เจ้าของข้อมูลได้

 

อ้างอิง :

–          Wipawin, Namtip, 2015, “Dataverse training”, http://dx.doi.org/10.7910/DVN/29844 Sukhothai Thammathirat Open University [Distributor] V1 [Version]

–          เว็บไซต์ Dataverse, http://dataverse.org/

About