Home » บรรณารักษ์ » ประชุมคณะทำงานพัฒนาและส่งเสริมบริการสารสนเทศ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

ประชุมคณะทำงานพัฒนาและส่งเสริมบริการสารสนเทศ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2558 เวลา 09.00-16.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 2 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

 ตัวแทนผู้เข้าประชุม

นายเฉลิมพันธุ์ ตาทิพย์
นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา

สรุปสำระสำคัญที่เกี่ยวข้อง

1.    การนำเสนอผลงานการจัดทำ R2R สำนักงานเครือข่ายบริการห้องสมุด

r2r

ทางหอสมุดฯ ได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมจัดทำ R2R (Routine for Research) หรือการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย เพื่อส่งผลงานเข้าร่วมในงาน Mahidol R2R EXPO 2015 ที่กำลังจะมาถึงในช่วงเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

R2R คือ การนำเอากระบวนการวิจัยเข้ามาใช้แก้ปัญหาในงานประจำอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีหัวใจสำคัญ คือ การพัฒนางานพร้อมกับการพัฒนาคน โดยไม่หลงติดกับคำว่า “วิจัย” เพราะ R2R เป็นเครื่องมือ ไม่ใช่เป้าหมาย

สำหรับประโยชน์จากการทำ R2R คือ ช่วยพัฒนาทั้งคนและงาน โดยบุคคลจะได้รับความรู้และประสบการณ์จากการทำวิจัย สามารถทำงานประจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและประหยัดเวลาลง ซึ่งเมื่อทำ R2R ผลงานที่ออกมาก็จะเป็นที่ยอมรับ สามารถนำไปตีพิมพ์ลงบนวารสารวิจัยได้ และยังสามารถนำผลงานไปขอปรับตำแหน่งในสายวิชาชีพได้อีกด้วย

 

  2.    การให้บริการ Mahidol Book Delivery

clock

ในที่ประชุมได้ชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการให้บริการนำส่งเอกสารระหว่างห้องสมุด (Mahidol Book Delivery) โดยสามารถสรุปปัญหาออกได้ 2 ข้อใหญ่ ดังนี้

  1. เจ้าหน้าที่ไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนในการนัดหมายผู้ใช้ให้มารับหนังสือได้ เนื่องจากรถที่ใช้ในการจัดส่งหนังสือมีเพียง 1 คัน เท่านั้น
  2. การดำเนินการจัดส่งหนังสือล่าช้า เนื่องจากการส่งรายการคำขอจากผู้ใช้บางท่านติดปัญหา ประกอบกับปัญหาจากตัวเจ้าหน้าที่เอง เช่น ผู้ใช้ยังไม่ได้ต่ออายุสมาชิก ผู้ใช้ยืมหนังสือครบตามจำนวนที่กำหนดแล้ว ผู้ใช้กรอกข้อมูลคลาดเคลื่อน ผู้ใช้ระบุตำแหน่งของห้องสมุดปลายทางผิด หนังสือยังถูกยืมโดยผู้ใช้ท่านอื่นอยู่ หนังสืออยู่ในระหว่างจัดส่งคืนจากห้องสมุดอื่น เจ้าหน้าที่ไม่ได้ตรวจเช็คอีเมล์โดยละเอียด และเจ้าหน้าที่หาหนังสือไม่พบบนชั้น เป็นต้น

ในส่วนของข้อเสนอแนะ ทางผู้ร่วมประชุมได้เสนอให้การส่งอีเมล์คำขอยืมหนังสือจากผู้ใช้ไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่ของหอสมุดฯ แต่ให้ส่งตรงไปยังห้องสมุดที่ร้องขอและรับคำขอเลยแบบทันที (Real-time)  เพราะในบางครั้งเจ้าหน้าที่ส่วนกลางดำเนินการล่าช้าหรือติดธุระ จึงดำเนินการล่าช้า นอกจากนี้ยังได้เสนอให้หอสมุดฯ พัฒนาฐานข้อมูลสำหรับตรวจสอบรายการคำขอยืมหนังสือ โดยเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนสามารถ Log in เข้าไปเพื่อตรวจสอบคำขอยืมหนังสือได้แม่นยำยิ่งขึ้น แทนการตรวจสอบจาก Webmail เนื่องจากมีอีเมล์อื่นๆ ที่เข้ามาปะปนกับคำขอ Book Delivery  ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความสับสนในการตรวจสอบอีเมล์ที่เป็นคำขอ Book Delivery เพื่อดำเนินการจัดส่งหนังสือในแต่ละวัน
 

3. ทบทวนระเบียบการปฏิบัติงานบริการห้องสมุด

pp

ในที่ประชุมได้ทบทวนระเบียบการปฏิบัติงานบริการห้องสมุด โดยสามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้

1. การสมัครเข้าเป็นสมาชิกห้องสมุดของศิษย์เก่า จะต้องเสียค่าประกันหนังสือ ซึ่งทางสมาชิกไม่ได้ได้รับคืนต่อเมื่อยกเลิกการเป็นสมาชิก โดยปัจจุบันทางห้องสมุดสตางค์คิดค่าประกันหนังสืออยู่ที่ 2,000 บาท
สมาชิกห้องสมุดประเภทศิษย์เก่า ควรมีสิทธิในการยืมต่อ (Renew) ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เนื่องจากสมาชิกอาจมีข้อจำกัดเรื่องระยะทางและสถานที่ เช่น สมาชิกทำงานอาศัยอยู่ต่างจังหวัด สมาชิกไม่สะดวกมาติดต่อห้องสมุดด้วยตนเอง เป็นต้นในที่ประชุมเสนอว่าห้องสมุดควรจะยกเลิกสิทธิการเป็นสมาชิกของศิษย์เก่า กรณีที่อายุสมาชิกของศิษย์เก่าหมดลง และขาดการติดต่อกลับมายังเจ้าหน้าที่ตามระยะเวลาที่กำหนด (อาจเป็น 1 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น) โดยจะนำค่าประกันหนังสือของสมาชิกส่งเข้าคณะฯ/มหาวิทยาลัย ยกตัวอย่างห้องสมุดที่นำวิธีการข้างต้นไปใช้ เช่น สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นต้น

ในที่ประชุมเสนอว่าห้องสมุดควรจะยกเลิกสิทธิการเป็นสมาชิกของศิษย์เก่า กรณีที่อายุสมาชิกของศิษย์เก่าหมดลง และขาดการติดต่อกลับมายังเจ้าหน้าที่ตามระยะเวลาที่กำหนด (อาจเป็น 1 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น) โดยจะนำค่าประกันหนังสือของสมาชิกส่งเข้าคณะฯ/มหาวิทยาลัย ยกตัวอย่างห้องสมุดที่นำวิธีการข้างต้นไปใช้ เช่น สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นต้น

2. การคิดค่าปรับในกรณีหนังสือชำรุดเสียหาย ในที่ประชุมเสนอว่าควรพิจารณาให้มีการคิดค่าปรับแก่ผู้ใช้ที่ทำหนังสือชำรุดเสียหายเพื่อนำไปเป็นค่าซ่อมบำรุงหนังสือ โดยจะเข้าหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและนำข้อสรุปที่ได้ไปปรับปรุงในระเบียบการการปฏิบัติงานบริการห้องสมุด

3. คุณกัญจนพร ทับทิมเทศ หัวหน้า Circulation Module ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Sierra ได้ชี้แจงว่า สำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปี 1 ที่เคยเรียนอยู่วิทยาเขตศาลายา ทางหอสมุดฯ ได้ทำการโอนถ่ายระเบียนสมาชิกให้ห้องสมุดสตางค์รับช่วงต่อ โดยเปลี่ยนสังกัดของห้องสมุด (HomeLib) จาก LICL เป็น LISC ในระบบ Sierra และได้ทำการแจ้งให้นักศึกษาต่ออายุสมาชิกที่ห้องสมุดสตางค์ก่อนจึงจะสามารถยืมหนังสือได้ ซึ่งนักศึกษาจะต้องแสดงหลักฐานการลงทะเบียนภาคฤดูร้อนแก่เจ้าหน้าที่ ณ เคาน์เตอร์บริการ เพื่อยืนยันสถานะว่าเป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์

About