Home » บรรณารักษ์ » โครงการเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 29

โครงการเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 29

ในหัวข้อ “การบริหารสินทรัพย์ความรู้ (knowledge assets)” วันที่ 7-9 กันยายน 2558 ณ อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1) นางสาววรัษยา สุนทรศารทูล
2) นายอภิชัย อารยะเจริญชัย

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
ช่วงเช้า การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การบริหารสินทรัพย์ความรู้ (knowledge assets)”
วิทยากร อาจารย์ธวัชชัย หล่อวิจิตร จากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
วิทยากรเล่าว่า การจัดการความรู้ต้องมี output และ outcome ที่ชัดเจน มีองค์ความรู้เพิ่ม ต้องพิจารณาว่าความรู้ประเภทไหนที่เป็นความเสี่ยงมากหรือน้อย ที่เสี่ยงมากควรเริ่มทำ KM ก่อน สำหรับรูปแบบการถ่ายทอด เรื่องใดที่ถ่ายถอดยากน่าจะมีความเสี่ยงสูงกว่า ควรพิจารณาทำก่อน
การที่จะรู้ว่า “มีความรู้หรือไม่” ต้องมีการวัด วิธีวัดวัดอย่างไร วัดโดย การสอบ การถาม ลงมือปฏิบัติจริง นอกจากนี้วิทยากรแนะนำ ตัวอย่างการจัดการความรู้ข้ามองค์กร เช่น คลินิกภาษีกระทรวงการคลัง: MOF Tax Clinic (ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://taxclinic.mof.go.th) ซึ่งเป็นการร่วมมือจาก 3 กรม สังกัด 2 กระทรวง คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ผลที่ได้รับคือผู้ประกอบการได้ประโยชน์ในแง่ความรู้เกี่ยวกับภาษีต่างๆ แหล่งข้อมูลเข้าถึงได้ง่าย และเชื่อถือได้ การวัดผลโดยวัดจากการเก็บภาษีได้ตรงตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ การคำนวณภาษีมีความผิดพลาดเท่าใด โครงการดังกล่าวทำให้ผู้ที่ต้องการความรู้เข้าถึง โดยเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมให้ความเห็น รับฟัง เข้าใช้

ช่วงบ่าย แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “การจัดการคลังความรู้ การคัดกรอง การสกัด การสร้างคลังความรู้ การเข้าถึง การนำไปใช้” 4 ด้าน ดังนี้
1.ด้านการเรียนการสอน
2.ด้านการวิจัย*
3.ด้านการบริการวิชาการ
4.ด้านการพัฒนาบุคลากร
ระหว่างผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน จากมหาวิทยาลัยทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยขอนแก่น
p1p2

ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ได้นำเสนอการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สังคม (University Social Responsibility : USR) (เว็บไซต์ http://www.sc.mahidol.ac.th/usr) ซึ่งได้รับความสนใจจากสมาชิกอย่างมาก โดยเฉพาะการนำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างเข้าใจยาก มานำเสนอในภาษาที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ เข้าถึงได้ง่าย ใช้โปรแกรม WordPress ในการพัฒนาทั้งกระบวนการจัดทำและบริหารจัดการ ไม่ยุ่งยาก สามารถจัดเก็บสถิติผู้เช้าใช้ได้
ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยนเรศวร เล่าว่าได้ทำ KM โดยมุ่งเน้นผู้เรียน เน้นการวิจัยในชั้นเรียนและสกัดออกมาได้ KA เพื่อนำไปเผยแพร่ นำไปใช้ มีการติดตามรอบ 3 -6 เดือน อุปสรรคคือบุคลากรไม่เข้าใจว่าทำไปทำไม
ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นำ KM มาใช้กับการเรียนการสอน การออกสู่ชุมชน การนำไปใช้ประโยชน์ โดยมีกระบวนการติดตาม กำหนดให้นักวิจัยเข้าร่วมจัดทำ Blog Poster และการเขียนบทความ สังเคราะห์ออกมาเป็นหนังสือเล่มเล็ก ชิ้นไหนเป็นผลงานเชิงประจักษ์ ทางสถาบันจะดำเนินการขอลิขสิทธิ์กับหน่วยงานของกระทรวงพานิชย์ประจำจังหวัด
ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีการดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะ
ต้นน้ำ ข้อมูลพื้นฐานของงานวิจัยเชื่อมโยงระบบบริหารงานวิจัย (PRPM) โดยเริ่มตั้งแต่เขียนข้อเสนอโครงการ ถ้าไม่ใส่ข้อมูลจะไม่สามารถรับเงินงวดถัดไปได้
กลางน้ำ ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ HRMIS มีระบบคุณภาพนักวิจัย วิเคราะห์นักวิจัย มีการสื่อสารในกลุ่มผู้วิจัย และ Update เป็นประจำ ถ้าดำเนินการจะไม่สามารถขอรางวัลตีพิมพ์ หรือรับเงินสนับสนุนงวดต่อไปได้
ปลายน้ำ เชิญอาจารย์เกษียณมาอ่านแปลงานวิจัย คัดเลือกและสังเคราะห์งานวิจัยออกมา เพื่อส่งไป 3 แหล่งตามความเหมาะสมคือ 1.PSU Knowledge bank 2. RUM research marketing online 3. วารสารลองแล ทั้งฉบับพิมพ์และออนไลน์ โดยมีทีมบรรณาธิการดูแล

ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยพัฒนาระบบ HR ของสถาบัน ในส่วนส่งเสริมวิชาการ กำหนดค่า kpi และ ข้อมูลต่างๆ ที่ต้องกรอกเข้าระบบ โดยต้องกรอกทุกๆ 6 เดือน โดยสถาบันวิจัยจะกรองข้อมูล ความถูกต้อง จัดทำระบบคำนวณภาระงาน สามารถเรียกข้อมูลเพื่อมาพิจารณาประเมินเงินเดือน ระบบฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ กำหนดสิทธิ์ในการเผยแพร่ได้ โดยกองการเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าภาพ
ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น การจัดการองค์ความรู้ของส่วนกลาง จัดทำ Meet the press ในหัวข้อที่มีความสำคัญ เช่น เลือดจระเข้ ถั่วฝักยาว KM ของที่นี่ยังแยกเป็นแต่ละคณะ ยังไม่ได้เชื่อมต่อกับ HR
ข้อสรุปอันเป็นแนวทางสู่ความสำเร็จของการทำ KM
1 ผู้บริหารต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการดำเนินการว่าจะทำเรื่องใด
2 มีวิธีการดำเนินงานที่เหมาะสมและเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
3 มีระบบติดตามผล และมีหน่วยวัดที่ชัดเจน

About