Home » อบรมวิชาการ » การฝึกอบรมเรื่อง ลิขสิทธิ์ในบริบทของนักวิจัยและผู้ให้บริการสารสนเทศ

การฝึกอบรมเรื่อง ลิขสิทธิ์ในบริบทของนักวิจัยและผู้ให้บริการสารสนเทศ

วิทยากร โดย อ.ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์
จัดโดย ศูนย์ประสานงานสารสนเทศ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
วันที่ 26 มิถุนายน 2558

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1) นางสาววรัษยา สุนทรศารทูล
2) นางสาวเฉิดฉันทร์ ราชบุรณะ

คำถามที่มักพบบ่อย
– ใครเป็นเจ้าของงานวิจัย ผู้ให้ทุน ต้นสังกัด ผู้ประพันธ์หรือสำนักพิมพ์
– อย่างไรเรียกว่าการละเมิด มีข้อยกเว้นหรือไม่
– หลักการใช้งานที่เป็นธรรม ใครเป็นผู้ตัดสิน
– ความคิดที่ไม่ได้บันทึกหรือถ่ายทอดลงสื่อมีลิขสิทธิ์หรือไม่

ลิขสิทธิ์
– ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
– สิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ คือ สิ่งที่ไม่มีการบันทึก/เผยแพร่ ข่าว รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ สำหรับรายงานของทางราชการ (ยังไม่มีผู้ตีความ)
– ระยะเวลาคุ้มครอง นานแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าเป็นสิ่งพิมพ์ของประเทศใด แต่ละประเทศไม่เท่ากัน WIPO – World Intellectual Property Organization ตั้งค่ามาตรฐานไว้ที่ 50 ปี หลายประเทศพยายามผลักดันให้ยืดออกไป (publisher อยากให้ยืด) ขึ้นอยู่กับสิ่งพิมพ์ของประเทศไหน โดยของประเทศไทยคุ้มครองตั้งแต่สร้างจนถึง 50ปีหลังผู้สร้างเสียชิวิต ถ้ามีคนเขียนมากกว่า 1 คน รอจนคนสุดท้ายเสียชีวิตแล้วบวกอีก 50 ปี
– ถ้าเป็นงานที่เขียนไว้ ผู้เขียนเสียชีวิตก่อนเผยแพร่ มีคนค้นพบแล้วเอาไปเผยแพร่ การคุ้มครองจะเกิดขึ้นเมื่อโฆษณาครั้งแรก ซึ่งการโฆษณาคือการนำสำเนาจำลองไปจำหน่าย เผยแพร่ โดยมีการปรากฏต่อสาธารณชนพอสมควร (ต้องมีการจด เก็บหลักฐานการทำงาน การเป็นเจ้าของ เป็นสิ่งจำเป็นตอนขึ้นศาล)
– ถ้าผู้แต่งเป็นองค์กรหรือใช้นามแฝง จะนับ 50 ปีหลังสร้างผลงาน
– การใช้ประโยชน์โดยชอบธรรม (Fair use) กฎหมายระบุว่า ต้องไม่ขัดการหาประโยชน์การขายของเจ้าของ และไม่กระทบสิทธิอันชอบธรรมของเจ้าของตามสมควร เวลาศาลพิจารณาดูจาก
1. วัตถุประสงค์ (ไม่ได้หากำไร ไม่มีเจตนาทุจริต เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น)
2. ลักษณะงาน (ระดับความคิดสร้างสรรค์ โฆษณาตีพิมพ์ หรือยัง)
3. ปริมาณและเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญของเรื่องหรือไม่
4. ผลกระทบต่อตลาดและมูลค่าของงานอันมีลิขสิทธิ์

– ข้อยกเว้นคนบางกลุ่ม เช่น ห้องสมุด บรรณารักษ์ นักการศึกษา ครู อาจารย์ สำหรับสอน ผู้พิการ นักแปล ใช้เพื่อการสอน การสอบ เป็นไปตามมาตรา 32 ของพรบ.ลิขสิทธิ์ 2537

การลักลอกทางวิชาการ Plagiarism
– การลักลอกทางวิชาการ คือการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดจริยธรรม
– การลักลอกทางวิชาการมีข้อยกเว้น คือ ความรู้ทั่วไปที่เป็นความจริง (Fact)
– พฤติกรรมที่เข้าข่ายการลักลอกทางวิชาการ
– identity theft ลบชื่อผู้แต่ง ใส่ชื่อเรา/ จ้างเขาทำใส่ชื่อเรา
– copy cat คัดลอกบางส่วนมาทั้งหมด ไม่แก้ไขแต่ไม่อ้างอิง
– cherry pick คัดลอกมาบางส่วน แก้ไขคำ วลี แต่ไม่อ้างอิง
– mitosis ตีพิมพ์งานเดิมมากว่า 1 ที่ สำนักพิมพ์อาจฟ้องได้ เช่น รูปภาพ ตาราง
– recycle เอางานตัวเองมาบางส่วนแต่จำนวนมาก โดยไม่อ้างตัวเอง
– remix เอาบางส่วนมาตัดแปะ ไม่ได้บอกที่มา มีปัญหาจริยธรรม
– ghost citation อ้างอิงผลงานที่ไม่มีอยู่จริง
– half and half เลือกที่จะอ้างบางคน บางคนไม่อ้าง
– warp ตีความไม่ถูก อ้างไม่ตรงกับแหล่ง
– mosaic อ้างอิงถูกต้องแต่มันไม่ใช่งานตัวเอง สำนวนชาวบ้านทั้งนั้น ไม่ผิดลิขสิทธิ์
– reflection เป็น mirror คนอื่นเป๊ะ ผิดจริยธรรม
– miscue อ้างผิด ปีผิด มั่ว
– half hearted ขาดข้อมูลที่เป็นแหล่งที่มา เช่น doi, url, สำนักพิมพ์

แนวทางป้องกันการลักลอกทางวิชาการ
ข้อความ – คัดลอกให้น้อย ถอดความให้เยอะ
การอ้างอิง -อ้างถึง อ้างอิง รายการบรรณานุกรม รูปแบบถูกต้อง ครบถ้วน
จำนวนเหมาะสม

เรื่องใหม่ในพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558
– หลักการขายครั้งแรก
– ทำซ้ำและดัดแปลงเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้
– ให้สิทธิ์ผู้ให้บริการระงับใช้ในการให้บริการเมื่อตรวจพบการละเมิด
– ข้อมูลบริหารสิทธิ์
– มาตรการทางเทคโนโลยี
– ทำซ้ำและดัดแปลงเพื่อประโยชน์ผู้พิการ

สรุปข้อมูลบริหารสิทธิ์
1. ห้ามลบ ห้ามแก้ ดัดแปลง ทำลาย ข้อมูลบริหารสิทธิ์ (แค่คลิกเปลี่ยนการตั้งค่าไฟล์ read only, write only ก็ผิดแล้วนะ) ข้อมูลบริหารสิทธิ์ คือ ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้าง ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ เจ้าของภาพ คนออกแบบ คนวาดรูป ตัวเลข หรือรหัส ISBN Barcode QRcode ระยะเวลา เงื่อนไขการใช้งาน ข้อมูลอยู่ที่ปกหน้า ปกใน ปกหลัง กลางเล่ม กระดาษคลุม ปก รวมลายน้ำด้วย property of file metadata สปอนเซอร์
2. ห้องสมุดจะลบข้อมูลบริหารสิทธิ์ได้เฉพาะอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น สิ่งพิมพ์ไม่ได้ ดังนั้น หนังสือพัง ปกหลุด หน้าขาด ซ่อมโดยเปลี่ยนปก ใส่ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ต้องใส่ให้ครบ มิเช่นนั้นจะผิดศีลธรรม
3. วารสาร ฉีกปก รวมเล่ม เปลี่ยนปก ผิดจ้า
4. การปิดทับข้อมูล เช่น แปะบาร์โค้ด แปะเลขหมู่ ประทับตรา ปิดทับชื่อผู้แต่ง ผิดจ้า
5. การแก้ไขลายน้ำ ผิดจ้า
6. การสแกนหนังสือ ไม่ถือเป็นทำซ้ำ ถือเป็นดัดแปลง จากสิ่งพิมพ์เป็นไฟล์ ยังไม่มีหลักฐานว่า digitization เป็นทำซ้ำหรือดัดแปลง ผิดจ้า
7. การแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้งาน เช่น เอาหนังสือที่ระบุว่าใช้เฉพาะอเมริกา นำเอามาใช้ในไทย ผิดจ้า
8. การแก้ไข metadata of file digital สามารถทำได้ตามพรบ.2558

สรุปหลักการขายครั้งแรก
1. ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในต้นฉบับ ความสามารถในการใช้ต้นฉบับไปทำไรก็ได้ ม32/1 เป็นข้อเดียวที่ทำให้ห้องสมุดให้ยืมหนังสือได้
2. อนุญาต การขายของครั้งแรก – ยืม-คืนห้องสมุด การให้ การเช่าวิดีโอ ตลาดขายของมือสอง มีเงื่อนไขคือ งานที่จับต้องได้ (ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์) ได้มาอย่างชอบธรรม ทำให้ book vs ebook มีการจัดการต่างกัน

สรุปว่าในการดำเนินงานของห้องสมุดควรศึกษาพรบ. ลิขสิทธิ์2537 และ 2558 อย่างละเอียด เพื่อป้องกันการละเมิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการ

About