Home » บรรณารักษ์ » แนวคิดการผลิตแบบลีนเพื่อมุ่งสู่ลีน (Lean Manufacturing)

แนวคิดการผลิตแบบลีนเพื่อมุ่งสู่ลีน (Lean Manufacturing)

วิทยากร ผศ.ดร. สมศักดิ์ แดงติ๊บ
จัดโดย งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ
ณ ห้องประชุมใหญ่ K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
วันที่ 31 มีนาคม 2559

ผู้เข้าร่วมสัมมนา
วรัษยา สุนทรศารทูล, เฉลิมพันธุ์ ตาทิพย์

เปรียบเทียบระบบการผลิตในแต่ละยุค
1. Craft – ทำทีละชิ้น เป็นการทำธุรกิจขนาดเล็ก สินค้ามีไม่หลากหลาย ลูกค้าไม่มีทางเลือก
2. Mass – ผลิตครั้งละมากๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิต ตรวจสอบคุณภาพได้ด้วยการสุ่มตรวจ
3. Lean – ผลิตเท่าที่จำเป็น มุ่งไปที่มุมมองของลูกค้า เน้นเพิ่ม “คุณค่า” ให้สินค้า หยุดกระบวนการทันที หากพบข้อผิดพลาด ทำให้กระบวนการผลิตมีความยืดหยุ่น

Lean Manufacturing – (มาจากระบบ Toyota, TPS)
การผลิตแบบ Lean เน้นความคล่องตัวเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลง เช่น ความต้องการลูกค้า ผลิตภัณฑ์ใหม่ วิธีการ พนักงาน สถานที่ใหม่
– ใช้ทรัพยากรสร้างคุณค่าแก่ลูกค้า
– คิดจากมุมมองลูกค้า
– เพิ่มคุณค่า (Value) ลดความสูญเปล่า (Waste)
– พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

หลักการผลิตแบบ Lean
– ได้ผลลัพธ์สูงแม้ทรัพยากรน้อย
– ทำให้เกิดการไหลของงาน ทำทีละชิ้น
– ลดความสูญเปล่า
– อย่าทำสิ่งที่ไม่มีความหมายต่อลูกค้า
– สร้างคุณภาพตั้งแต่ต้นเพื่อป้องกันของเสียหลุดไปยังลูกค้า

ลักษณะการผลิตแบบ Lean
– ตอบสนองการเปลี่ยนลูกค้าได้รวดเร็ว
– เกิดการลื่นไหลของชิ้นงานอย่างเห็นได้ชัด
– ของเสียน้อย เกิดปัญหาแล้วรู้ทันที
– ตรวจย้อนไปยังสาเหตุของปัญหาการผลิต
– แก้ไขน้อย และรวดเร็ว
– พนักงานมีขวัญกำลังใจ พนักงานมีส่วนร่วม

เทคนิคการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน
1. Pull System – ระบบดึง คือ ทำให้มีสินค้าอยู่ตลอดแต่ไม่มากเกินไป เมื่อมีการดึงไปใช้ก็จะมีการเติมใหม่อยู่เสมอ โดยจะผลิตออกมาตามจำนวนที่ต้องการเท่านั้น
2. One Piece Flow – แนวทางการผลิตและส่งออกชิ้นงานแบบ 1 ชิ้นต่อ 1 ชิ้น
3. Takt time – ความเร็วในการผลิตต่อชิ้นเป็นไปตามจังหวะที่ลูกค้าต้องการ
4. Zero defect – การไม่ให้มีของเสียเลยในกระบวนการผลิต ทำให้ดีกว่าเดิมไปเรื่อยๆ

ความสูญเปล่าที่ต้องกำจัด (8 Wastes: MUDA)
1. การขนย้าย – ขนย้ายบ่อยเกินไป ต้องใช้กำลังคนและใช้เวลา
2. สินค้าคงคลัง – สินค้า สินค้าไม่ถึงมือลูกค้า
3 การเคลื่อนไหว – เคลื่อนไหวบ่อยไป อาจเกิดความเสียหาย
4. การรอคอย – รอนาน กระบวนการติดชะงัก
5. ขั้นตอนที่มากเกินพอดี – ทำให้เสียเวลาในการผลิตต่อชิ้นมากเกิน สิ้นเปลือง
6. ผลิตมากเกินพอดี – เปลืองที่จัดเก็บ เสียงบประมาณ
7. ของเสีย – ต้นทุนที่สูญเปล่า การซ่อมแซมแก้ไข
8. พนักงาน – ใช้คนไม่เหมาะสมกับงาน

ทำอย่างไรให้ Lean
– ระบุปัญหา กำจัดความสูญเปล่า
– ทำให้เกิดการไหลลื่นของสินค้า
– ใช้ระบบดึง (Pull System)
– ให้ความสำคัญกับจำนวนและขนาด
– ต้องทำให้พนักงานทำงานได้หลายอย่าง
– พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานด้วย Kaizen
เป็นแนวคิดเพื่อการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง นำมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล โดยจะต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคนเพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางใหม่ๆ มาปรับปรุงวิธีการทำงานและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน หัวใจสำคัญอยู่ที่ “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด (Continuous Improvement)” หากทำง่ายและทำได้ ให้ลงมือทำทันที


หลักการของ Kaisen
– เปลี่ยนวิธีการทำงานเล็กน้อย ปรับปรุงทีละเล็กทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง
– ลงทุนน้อย แต่ได้ผลลัพธ์คุ้มค่า
– เน้นคนที่คุ้นเคยกับงาน
– ให้เริ่มที่ตนเองก่อน
– ทำบ่อยๆ อย่าหวังความสำเร็จ 100%
– อย่าแก้ปัญหาแต่เฉพาะหน้า ให้แก้อย่างเป็นระบบ

วงจรของ Kaisen
1. ระบุปัญหา, ความสูญเปล่า 2. วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน
3. หาวิธีการ ทำการเปลี่ยนแปลง 4. ดำเนินการตรวจสอบ
5. ทำการวัดผล 6. กำหนดมาตรฐานการผลิต
7. ฉลองความสำเร็จ 8. ทำอีกครั้ง

อาจพิจารณาใช้ หลักการ E.C.R.S เพื่อเริ่มต้นกระบวนการปรับปรุงระบบงาน โดยมีองค์ประกอบคือ
E = Eliminate การตัดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นในกระบวนการออกไป
C = Combine การรวมขั้นตอนการทำงานเข้าด้วยกัน
R = Rearrange การจัดลำดับงานใหม่ให้เหมาะสม
S = Simplify ปรับปรุงวิธีการทำงาน หรือสร้างอุปกรณ์ช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น

ข้อควรรู้
– Lean ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของงาน + ประสิทธิภาพกระบวนการดำเนินงาน
– การนำ Lean ไปใช้ อาจไม่จำเป็นต้องทำทั้งองค์กรใหญ่ไปพร้อมๆ กัน ให้เริ่มจากตนเองหรือหน่วยงานตนเองก่อน โดยจะช่วยทำให้กระบวนการทำงานและชิ้นงานออกมาดีขึ้นทีละนิดๆ
– Lean สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในองค์กรการศึกษา ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงงานอุตสาหกรรม
– การนำ Lean มาใช้ สำคัญคือ “ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญอย่างจริงใจ”
– อย่าเพิ่ม Value ด้วยการเพิ่มทรัพยากร แม้รายได้เพิ่ม แต่อัตราการผลิตคงที่ (คนไม่พอ)

ตัวอย่างการนำแนวคิด Lean มาใช้ในงานห้องสมุด

  • จัดทำระเบียบ/แนวปฏิบัติให้ชัดเจนในการใช้ห้องสมุด
  • สร้างมาตรฐานการทำงานและให้บริการ เพื่อการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน เพื่อความเข้าใจตรงกัน ไม่ทำงานซ้ำซ้อน
  • มีขั้นตอนกระบวนการที่ชัดเจนทุกๆงาน เพื่อความรวดเร็วในการบริการ
  • ลด/ละ/เลิก การใช้กระดาษ เลือกจัดเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลแทนกระดาษ
  • บริหารจัดการพื้นที่ของศูนย์รับบริจาค – – พื้นที่จัดเก็บหนังสือและวารสาร การรับเข้าและบริจาคต่อ การจัดเรียงเป็นระเบียบ แบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจน เพื่อให้พร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน

About