Home » ประชุมวิชาการ » การประชุมคณะทำงาน พัฒนางานเทคนิคห้องสมุด ครั้งที่ 1/2557

การประชุมคณะทำงาน พัฒนางานเทคนิคห้องสมุด ครั้งที่ 1/2557

การประชุมคณะทำงาน พัฒนางานเทคนิคห้องสมุด ครั้งที่ 1/2557
วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.00-16.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

โดย ณิชดาภา อัจฉริยสุชา 

จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมงานเทคนิคห้องสมุดของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถสรุปสารเนื้อหาการประชุม ได้ดังนี้

1. วาระแจ้งเพื่อทราบ

1.1 แนะนำบุคลากรใหม่ของหอสมุดและคลังความรู้ คือ
– น.ส.ระวิพร พิมพขันธ์ (ลูกหมี) งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ
– น.ส.วราภรณ์ เหล่านิติศาสตร์ (เซฟ) งานพัฒนาทรัพยากรวารสาร
1.2 แผนการดำเนินงานประจำปีฝ่ายงานเทคนิค ปีงบประมาณ 2557
– ประชุมผู้ปฏิบัติงานเทคนิคห้องสมุด (ทุก 2 เดือน)
– ประชุมร่วมกันกับฝ่ายคลังความรู้ และคณะพัมนาทรัพยากรฐานข้อมูล (MUIR)
– ประชุมคณะทำงานพัฒนางานเทคนิคห้องสมุด (ทุก 3 เดือน)
– จัดอบรม หรือบรรยายทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ (ปีละ 3 ครั้ง)
– จัดอบรมเพื่อทบทวนการปฏิบัติงานเทคนิคห้องสมุด (ปีละ 3 ครั้ง)

ศึกษาดูงานเทคนิคห้องสมุด นอกสถานที่ (1-2 ครั้งต่อปี)  ปีนี้ กำลังทาบทามติดต่อที่ สำนักบรรณสารพัฒนานิด้า

1.3 สรุปผลการจัดโครงการบรรยายทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพครั้งที่ 1 เรื่อง มาตรฐานการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศด้วย RDA (29 ต.ค. 56)

– มีการดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานศึกษา การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศด้วยมาตรฐาน RDA
– ดำเนินการบอกรับเป็นสมาชิกรายปี RDA Toolkit online โดยใช้เงินรายได้ของหอสมุดฯ

1.4 ผลการอบรมบรรยายการใช้โปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของระเบียนรายการบรรณานุกรม MARC Analyzer มีดังนี้
– มีเข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งหมด 49 คน ได้รับแบบสอบถามคือ 46 ชุด คิดเป็นร้อยละ 93.88
– เป็นบรรณารักษ์ 34 คน ร้อยละ 73.91 นักเอกสารสนเทศ 4 คน ร้อยละ 8.7 อื่นๆ 8 คน ร้อยละ 17.39
– ประสบการณ์ในการทำงาน 21 ปี 24 คน ร้อยละ 52.17 11-15 ปี 2 คน ร้อยละ 4.35 และต่ำกว่า 5 ปี 9 คน ร้อยละ 19.57
– ห้องสมุดในสังกัด จำนวน 32 คน ร้อยละ 69.56 และห้องสมุดคณะ 10 คน  ร้อยละ 21.74
– ผลการประมินในภาพรวมได้รับความพอใจค่าเฉลี่ย 4.00 (ได้รับความพึงพอใจมาก)

1.5 การแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแลละทดลองใช้มาตรฐานการลงรายการระเบียนบรรณานุกรมด้วยมาตรฐาน RDA เพื่อให้การลงรายการเกิดความเป็นมาตรฐานเดียวกันเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง รวมถึงเป็นมาตรฐานสากลอันสอดคล้องกับนโยบายของหอสมุดฯ ตลอดจนเกิดประสิทธิผลต่อผู้ใช้ห้องสมุด

หน้าที่รับผิดชอบ มีดังนี้
– ศึกษาข้อกำหนดและหลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรมด้วยมาตรฐาน RDA
– กำหนดแผนงานและแนวทางการลงรายการระเบียนบรรณานุกรมด้วยมาตรฐาน RDA
– ทดสอบการลงรายการระเบียนบรรณานุกรมด้วยมาตรฐาน RDA ในฐานข้อมูล MULINET
– จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานการลงรายการระเบียนบรรณานุกรมด้วยมาตรฐาน RDA

โดยเพิ่มผู้ร่วมคณะทำงานอีก3 ท่าน คือ คุณจันทรา -คุณธนิดา+คุณนงเยาว์ (เป็นเลขา)

1.6 การบอกรับคู่มือออนไลน์ของงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารนเทศ LC Classification online กำลังดำเนินการถึงการทวงถามรหัสผ่าน ทั้งที่ได้ชำระเงินไปตั้งแต่ปี 2555 โดยมีการจัดซื้อไปทั้งหมด 9 user หากมีความคืบหน้าจะมีการแจ้งให้ทราบต่อไป

1.7 การบอกรับฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (โดยมีจะการยกเลิกฉบับพิมพ์แล้ว) โดยมีอัตราค่าสมาชิกเข้าใช้ ดังนี้

2   user      ราคาสมาชิก    5,000  บาทต่อปี
3-5  user      ราคาสมาชิก   10,000  บาทต่อปี
6-9   user      ราคาสมาชิก    15,000 บาทต่อปี
10-14 user       ราคาสมาชิก    20,000 บาทต่อปี
15-19 user       ราคาสมาชิก    25,000 บาทต่อปี
20-24 user          ราคาสมาชิก     30,000 บาทต่อปี
25 user ขึ้นไป        ราคาสมาชิก     35,000 บาทต่อปี

ประเภทสมาชิกประกอบด้วย

Admin   ได้แก่ คุณสุธรรม อุมาแสงทองกุล และคุณชนิดา จริยาพรพงศ์
Editor    ได้แก่ คุณสุธรรม อุมาแสงทองกุล และคุณชนิดา จริยาพรพงศ์
Committee ได้แก่ ผู้แทนคณะทำงานจากสถาบันต่าง ๆ

ทั้งนี้มีผู้เสนอว่า สมาชิกควรมีอัตราค่าสมาชิกอีกราคาหนึ่ง เพื่อลดค่าใช้จ่าย รวมถึงมีแนวคิดว่า ยิ่งการบอกรับสมาชิก หรือจำนวนผู้ใช้มากขึ้น ควรจะมีราคาที่ลดลงด้วย ไม่ใช่ราคาที่มากขึ้น โดยมีมติที่ประชุมว่า

ให้มีการหารือเรื่องการบอกรับเป็นสมาชิก ในห้องสมุดคณะอีก 4 แห่ง และนำกลับแจ้งอีกครั้งหนึ่ง

1.8 โครงการพี่เลี้ยงเพื่อถ่ายทอดความรู้หรือผู้ผู้ปฏิบัติงานแทน ในระบบ Millennium INNOPAC ใน 3 Module โดย มีทีมผู้ดูแลหลักพร้อมคณะในแต่ละ Module ดังนี้

– Acquisition Module  คุณพรรณทิพา
คุณอังคณา/ คุณทรายแก้ว
– Cataloging module  คุณวัฒนา
       คุณรัชนี คุณอภิชยาภา คุณสุรศักดิ์ และคุณจันทรา
– Serial module   คุณฉวีวรรณ
คุณนงเยาว์ /คุณศศิวิมล

1.9 ผู้แทนเข้าประชุมชุดใหม่ในคณะทำงานกลุ่มชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

– คณะทำงานกลุ่มงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ
คุณอังคณา /คุณรัชนี/คุณอภิชยาภา
– คระทำงานฝ่ายทคโนโลยีฯ
คุณระวิพร /คุณประมวล

1.10 การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานเทคนิคห้องสมุด   ตัวอย่างเช่น
– จำนวนชื่อเรื่องที่ให้บริการ (จำนวนเอกสารที่ห้องสมุดมีตรงตามความต้องการของผู้ใช้)
– Available  จำนวนชื่อเรื่องที่มีพร้อมให้บริการ หรือให้ยืม Title รวมถึงบทความในวารสาร/หนังสือ  โดยมีสูตรการคำนวณ คือ

A/B X 100
A = จำนวนชื่อเรื่องที่มีในห้องสมุด (สุ่ม)
B = จำนวนชื่อเรื่องทั้งหมด (สุ่ม)

ทั้งนี้เป็นการปรึกษาและหารือ เพื่ออาจจะเป็นประโยชน์ในการทำวิจัยเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ อีกทั้งยังสามารถใช้กำหนดเป็น KPI กับการประกันคุณภาพ และข้อตกลง PA ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

1.11 การ upgrade version ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Millennium เป็น Seirra (ราวๆ ปลายปี) และเมื่อมีการปรับแล้วระบบยังสามารถนำกลับไปทำที่บ้านได้อีกด้วย
1.12 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ จากหัวหน้าฝ่าย/ หัวหน้างาน มีห้องสมุดวิทยาเขตนครสวรรค์เกิดขึ้น Code bna รวมถึง ห้องสมุดศูนย์วิจัยบึงบอระเพ็ดฯ แยกต่างหาก เพื่อการรวบรวมผลงานวิจัย
1.13 การปรับปรุง ข้อมูลTag ที่ใช้ใน MARC 21

Tag 505
Tag 651  (ไม่มี |b)
Tag 610 (ไม่มี |b)
รหัสประเทศ US ยกเลิกการใช้ ให้ใช้ xxu แทน และจะให้ยกเลิก US ออกจากระบบ IINOPAC ภายหลัง

2. วาระเสนอพิจารณา

2.1 การ upload ข้อมูลระเบียนบรรณานุกรมเพื่อเข้าฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม UC/OCLC และจะจัดอบรมการนำข้อมูลเข้าฐานข้อมูล Online Catalog Library Center (OCLC) โดยกำหนดการอบรมในเดือนมิย. 57 ผู้เข้าอบรมประกอบด้วยบุคลากรจากห้องสมุดในสังกัดและห้องสมุดคณะ ที่รับผิดชอบด้านงานเทคนิค โดยมีหัวข้ออบรม คือ
วันที่ 11-13 มิ.ย. 57 การทบทวนการลงรายการใน Module acquisition, Module catalog, Module serial และการ Review ไฟล์
ในวันที่ 20 มิ.ย. 57 มีการอบรมการนำข้อมูลระเบียนบรรณานุกรมเพื่อเข้าฐานสหบรรณานุกรม OCLC

2.2 การจัดหมวดหมู่หนังสือ collection พิเศษ ของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีการจัดหมวดหมู่ไว้ทั้งหมด 15 กลุ่ม ขึ้นต้นด้วย 3 อักษร ดังนี้

AUB หมวดอัตตชีวประวัติ,
BUD ศาสนา,
COM คอมพิวเตอร์,
GEN ความรู้ทั่วไป,
HAB คู่มือ,
HEA สุขภาพ,
HIS ประวัติศาสตร์,
KIN ราชวงศ์,
KM การจัดการความรู้,
LAN ภาษา,
LIT วรรณกรรม,
MAN การบริหาร,
REF การอ้างอิง,
SOP สังคมและการเมือง,
TRD ขนบธรรมเนียมประเพณี

โดยมีการหารือถึงการจัดหมวดหมู่หนังสือดังกล่าว ว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ที่ประชุมมีมติว่า ควรยกเลิกระเบียนเดิมที่ใช้ออกและลบทิ้ง จากนั้นนำมาสร้างใหม่ มีมติว่าจะระดมบุคลากรงานเทคนิคในแต่ละห้องสมุดไปช่วยปรับปรุง Collection ที่ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยจะทำการสร้างระเบียนใหม่เพื่อให้รองรับระบบสากล และนำตัวเล่มเดิมมาตรวจสอบ ทั้งนี้บรรณารักษ์ห้องสมุดรามา จะมีการไปหารือกับทางห้องสมุดตนเองอีกครั้งหนึ่ง

2.3 การจัดระบบสิ่งพิมพ์ประเภทผลงานการขอเลื่อนตำแหน่ง R2R  จากเดิมซึ่งมีการเก็บผลงานอยู่กองทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัย โดยมีมติในที่ประชุมว่าให้วิเคราะห์หมวดหมู่ตามเนื้อหา กำหนดหัวเรื่องให้ใช้แบบแผนเดียวกัน โดยอยู่ในระหว่างการหารือดำเนินการต่อไป

2.4 การประเมินการใช้หนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล
คุณพรรณทิพา แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า จะอบรมเพิ่มเติมในระบบ INNOPAC โดยกล่าวว่าบรรณารักษ์วิเคราะห์ฯ สามารถเข้าไปเลือก Template ที่มีการติดตั้งไว้ได้ ตามประเภทของทรัพยากรที่ต้องการจัด เช่น วิทยานิพนธ์ หนังสือ สื่อโสตทัศนวัสดุ

2.5 การดำเนินการ E-book ของห้องสมุดคณะ
ในที่ประชุมมีการเสนอให้นำ E-book เข้าในฐาน INNOPAC และตรวจสอบความซ้ำกับตัวเล่ม อีกทั้งให้ห้องสมุดของตนเองสำรวจ E-Book เพื่อนำมารวบรวมข้อมูลของแต่ละห้องสมุดมาใส่ในภายหลัง  และจะมีการจัดอบรมต่อไป

3. เรื่องอื่น ๆ

3.1 แนวทางการใช้ MARC Analyzer
มีมติว่า จะมีการจัดอบรมการใช้ ทั้งการนำระเบียนเข้าโปรแกรมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการลงรายการ และการแจกโปรแกรมดังกล่าวให้ไปใช้เพื่อติดตั้งอีกครั้ง ทั้งนี้จะมีการจัดอบรมต่อไป

3.2 เรื่องการ Ranking website ของมหาวิทยาลัยมหิดล และคลังความรู้ของมหาวิทยาลัย (MUIR)                       ผอ.ฉวีวรรณ ได้แจ้งในที่ประชุมว่า มีการตั้งข้อสงสัยเรื่องการจัดอันดับเว็บไซต์ มักพบว่า มหิดลได้ลำดับที่ 2-3 อยู่ตลอดไม่เคยได้อันดับ 1 ซึ่งปีนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 2 และจุฬาที่ 3 โดยมีการหารือกับทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยว่า เว็บไซต์อาจจะมีข้อมูลบางส่วนที่ยังไม่มีการเปิดให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงได้  จึงอยากให้เครือข่ายอื่นๆ สามารถเข้ามาดูด้วย เพื่อที่จะได้มีผู้เข้าชมมามากๆซึ่งอาจจะมีผลต่อการจัดอันดับนั่นเอง  ดังนั้นจึงมีการหารือกับอ. อาทิตย์ว่าจะมีการประชุมเว็บไซต์อีกครั้ง มองว่าควรให้ห้องสมุดและส่วนคลังความรู้ (IR) ทำงานร่วมกัน เพราะมองว่าก็เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลต่อเว็บไซต์ ซึ่งทางหอสมุดฯ ก็กำลังดำเนินการอยู่ อีกทั้งมองว่าควรให้บรรณารักษ์ห้องสมุดคณะ นำข้อมูลผลงานวิจัยใส่ใน IR เพิ่มขึ้น โดย IR เป็นความร่วมมือระหว่างห้องสมุด IUN โดยประสานโปรแกรมที่จะนำมาใช้ในการนำผลงานวิจัยของอาจารย์เข้าสู่ IR ทั้งนี้จะมีการประชาสัมพันธ์อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ทราบทั่วกัน ทั้งเมื่อมีอาจารย์ต้องการขอผลงานทางวิชาการจะได้นำผลงานมาใส่ใน IR เพื่อต้องการให้ประชาคมได้สามารถเข้ามาชมผลงานวิจัยของอาจารย์ผ่านห้องสมุดต่าง ๆ ได้ เบื้องต้นอาจจะให้ตัวอาจารย์เป็นผู้ดำเนินการเองก่อน แต่ภายหลังบรรณารักษ์จะเป็นผู้ดำเนินการต่ออีกที

3.3 งานวิเคราะห์ฯ ของหอสมุดฯ ยกเลิกการพิมพ์ C.1/ฉ.1 ที่สันหนังสือ
มีการยกเลิกการพิมพ์ฉบับที่ตัวเล่มสันหนังสือ เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน อีกทั้งมองว่าไม่มีผลกระทบต่อการจัดหมวดหมู่ ทั้งนี้ห้องสมุดอีกแห่งที่ไม่มีผลด้วย คือ ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ แต่มีบางห้องสมุดที่ยังมีผลคือ  ห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี เนื่องจากผู้ใช้มักไม่มีการสืบค้นหนังสือ แต่จะเดินไปดูที่ชั้นทันที เพราะคิดว่าจะมีเล่มเดียวไม่มีเล่มอื่น

3.4 การอบรม IR มีการจัดอบรมวันที่ 25 เม.ย. 57 และจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

3.5 การประชุมครั้งต่อไปของงานเทคนิคห้องสมุดจะมีทุก ๆ 2 เดือนต่อครั้ง โดยครั้งต่อไปคือ วันพุธที่ 23 เมษายน2557

ประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุม

1) ได้ทราบความคืบหน้าและข่าวสารในส่วนงานเทคนิคห้องสมุดห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดลว่ามีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแก้ไขส่วนใด รวมถึงข่าวสารอันมีส่วนและมีผลต่องานห้องสมุดของตนเอง เพื่อนำมาแก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติม และดำเนินการตามนโยบายของหอสมุดฯ ต่อไป

2) ได้ปรึกษาหารือกับบุคลากรห้องสมุดวิทยาเขตเพื่อแลกเปลี่ยน พูดคุยถึงปัญหาในงานที่พบ เพื่อที่จะได้รับแนวทางแก้ไข และให้คำปรึกษาที่สามารถนำมาปรับใช้กับงานของตนเองได้ต่อไป

ตัวแทนผู้เข้าประชุม
ณิชดาภา อัจฉริยสุชา

About

Comments are closed.