Home » ประชุมวิชาการ » สรุปการประชุมคณะทำงานพัฒนางานเทคนิคห้องสมุด ครั้งที่ 2/2557

สรุปการประชุมคณะทำงานพัฒนางานเทคนิคห้องสมุด ครั้งที่ 2/2557

สรุปการประชุมคณะทำงานพัฒนางานเทคนิคห้องสมุด ครั้งที่ 2/2557

วันพุธที่ 23 เมษายน 2557  เวลา 13.00-16.00 น.

ณ ห้องประชุมชั้น 2 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

 ตัวแทนผู้เข้าประชุม  ณิชดาภา อัจฉริยสุชา

1. เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

– จากการประชุมประกันคุณภาพห้องสมุด ได้ให้มุมมองการเตรียมอัตรากำลังของฝ่ายงาน เนื่องจากมีผู้ปฏิบัติงานอยู่ในช่วงอายุงาน (ช่วงใกล้เกษียณ) จำนวนมาก และปัจจุบันมีบุคลากรอยู่ในช่วงอายุ 25-26 ปีหรือเป็นผู้ทำงานใหม่ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุด

– มีการย้ายฝ่ายงาน หรือแผนก ทำให้บุคลากรห้องสมุดขาดไปจำนวน 3 ราย ทำให้ต้องมีการปรับภาระงานอีกครั้งหนึ่ง

– มีการอบรม Mahidol IR ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2557

– เรื่อง DOI

ที่ประชุมแจ้งว่า เนื่องจากมีการประชุมกับผู้อำนวยการหอสมุดฯ ทำให้ทราบว่า ปัจจุบันสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ทำหน้าที่ออกเลข DOI ให้บทความวิจัยไทย และยังมีการเชิญให้เครือข่าย Thailis เข้าร่วมด้วย รวมถึงในที่ประชุมยังมอบหมายให้คุณลักขณา ตัวแทนหอสมุดฯ เข้าร่วม ซึ่งส่วนประกอบของเลข DOI ทั้ง prefix และ suffix [รายละเอียดของเล่มวารสาร (ปีที่ ฉบับที่ /Vol. no. )] ยังเกิดปัญหา จึงต้องการให้วารสารแต่ละชื่อนั้น ทำการย่อชื่อของตนเองลง เพื่อแก้ปัญหาของเลข DOI

ดังนั้น วารสารที่เริ่มตีพิมพ์ใหม่เป็นต้นไป จะมีการออกเลข DOI ให้ ทั้งนี้จะไม่ออกเลข DOI ย้อนหลังให้วารสารฉบับก่อนหน้าที่ออก ซึ่งเลข DOI ที่จะออกให้กับบทความทั่วไป บทความวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงาน Proceeding หรือที่มีลักษณะเข้าข่ายในเชิงบทความ (articles)

จากการที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ Ranking เป็นอันดับ 1 เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเรื่อง DOI มาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นจึงเกิดความต่อเนื่องมาโดยตลอด

2. เรื่องรับรองรายงานการประชุม

        – ในที่ประชุมมีการแก้ไขเอกสารการประชุมคณะทำงานพัฒนางานเทคนิคห้องสมุด ครั้งที่ 1/2557

        – มีการเพิ่มคณะทำงานของชมรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา โดยเพิ่มฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศด้วย

– การประเมินทรัพยากรสารนิเทศภายในห้องสมุด สามารถทำได้ภายในห้องสมุดตนเองแต่ละแห่ง โดยให้ห้องสมุดแต่ละแห่งลงข้อมูลการจัดซื้อตามรูปแบบที่กำหนดไว้ที่รายการ Note ของแต่ละ item เพราะจะทำให้สามารถดึงข้อมูลออกมาใช้ได้ตามความต้องการภายหลัง

3. เรื่องสืบเนื่อง

– การใช้โปรแกรม MARC Analyzer

ที่ประชุมแจ้งว่า ได้มีการขอ account ได้ 5 user แต่ทางกองเทคโนโลยีฯ ยังสามารถเปิดใช้ได้เพียงเครื่องเดียว ทำให้การเปิดหลายเครื่องของแต่ละ user อาจเกิดปัญหาเรื่องระบบได้ ดังนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติงานทุกคนดำเนินการด้วยตนเองต้อง Remote ผ่านจากเครื่องหลัก แต่ก็ไม่สามารถรวจสอบผู้เข้าระบบได้ ดังนั้น คุณรัชนกจึงเสนอให้แต่ละห้องสมุด review file และแจ้งมาที่คุณรัชนก หลังจากนั้นจะดำเนินการตรวจสอบระเบียนให้ห้องสมุดแต่ละที่ เมื่อเรียบร้อยจะส่งกลับไปยังห้องสมุดแต่ละแห่งเพือ่ทำการแก้ไขต่อไป

ดังนั้น ก่อนการอบรมการลงรายการ ให้ดึงข้อมูลระเบียนออกมาเป็นตัวอย่าง เพื่อนำมาใช้ประกอบการอบรมในเดือนมิถุนายน หลังจากนั้นจะมีการ review file ส่งไปที่คุณรัชนก เพื่อดำเนินการตรวจสอบระเบียน (MARC analyzer) ในเดือนกรกฎาคม

– การบอกรับคู่มือ RDA Toolkit online  ที่ประชุมประธานแจ้งว่า ควรบอกรับคู่มือ RDA Toolkit online เพื่อใช้ปฏิบัติงาน

– การบอกรับสมาชิกฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ มีการแจ้งว่ากำลังทบทวนใหม่อีกครั้งเรื่องราคาของอัตราค่าสมาชิกในการบอกรับ หลังจากมีการได้เสนอเรื่องความเหมาะสมของราคา ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณา

– สิ่งพิมพ์ Collection พิเศษของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

กำลังมีการรวบรวมรายชื่อสิ่งพิมพ์ /บรรณานุกรม ที่มีการซ้ำในห้องสมุด

– การจัดหมวดหมู่สิ่งพิมพ์ประเภทผลงานเลื่อนตำแหน่ง และผลงาน R2R

ควรจัดตามเนื้อหา และแยกระเบียนเป็นเรื่องๆ หรือ ชิ้นๆ และถ้าเป็นแผ่นพับอาจจะทำเป็นชุดเดียวกัน / หรือเป็นชื่อชุดเดียวกัน โดยผลงานแยกตามหมวดหมู่ หรือกระจายไปตามเนื้อหา

ยกตัวอย่างเลขหมู่    

“LIIR อ488 ล.5/6 2552”

ที่ประชุมคุณเพ็ญพิมล ลองได้เสนอคำที่ระบุ Location จาก “LICL-Institutional Respository Fl.2” ควรสั้นและกระชับขึ้น  และที่ประชุมแจ้งว่าให้แต่ละห้องสมุดคณะกำหนดเลขหมู่สิ่งพิมพ์เอง ใช้เป็น Local no. แยกสิ่งพิมพ์ออกมาเป็นเล่มๆ และให้กำหนดหัวเรื่องเป็นมาตรฐานเดียวกัน รูปแบบเดียวกันทุกคณะ โดยที่ประชุมเสนอหัวเรื่องที่ให้ใช้ คือ “งานประจำสู่งานวิจัย”

– การกำหนด KPI ในการปฏิบัติงานเทคนิคห้องสมุด  ที่ประชุมมีการไปฟังบรรยายและได้เอกสารการ     บรยายเกี่ยวกับ KPI ในการปฏิบัติงานเทคนิคห้องสมุด

ยกตัวอย่างเช่น

เวลาเฉลี่ยในการดำเนินการสั่งซื้อหนังสือจนได้รับเอกสาร

          เวลาเฉลี่ยในการดำเนินการสิ่งพิมพ์จนออกให้บริการ

          ต้นทุนต่อหน่วยในการจัดทำบรรณานุกรม

โดยมีการหารือถึง KPI หรือค่ากลางที่ใช้ในงานเทคนิคห้องสมุด ซึ่งอยู่ในระหว่างการหารืออีกครั้งหนึ่ง ยังไม่มีข้อสรุป

– การศึกษาดูงานที่ สำนักบรรณสารนิด้า สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วันที่ 21 พ.ค. 57 9.00-15.00 น. โดยศึกษาดูงานฝ่ายเทคนิค ผู้ดูงานสามารถแยกไปศึกษางานที่ตนสนใจ แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดในการเดินทางสามารถขอรถรองรับเพียง 1 คัน ต่อผู้เดินทาง 11 คน จึงมอบหมายให้ตัวแทนห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ไปหารือถึงการรถที่เดินทางไปศึกษาดูงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดวิทยาเขตพญาไท และจะมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง

 

4. เรื่องเสนอพิจารณา

– การวิเคราะห์ภาระงานของบุคลากรฝ่ายเทคนิคห้องสมุด โดยมีการวางแผนอัตรากำลังผู้ปฏิบัติงาน และให้บันทึกภาระงานประจำเดือนของบุคลากรงานเทคนิค

 

ตัวอย่างเช่น

ภาระงานประจำเดือน…………. ปี ………….. ของบุคลากรงานเทคนิค

วัน เดือน ปี

เวลาที่ปฏิบัติ

งานที่ทำ

ปริมาณงานที่ได้

เวลาที่ใช้

หมายเหตุ

 

ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์และพิจารณาดูความเหมาะสมของการปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวหรือไม่

– มีการนำ MU workpoint มาใช้ ซึ่งเป็นโปรแกรมบันทึกและวิเคราะห์ภาระงาน  โดยจะนำมาใช้ในเดือนพฤษภาคม  เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบใน Edpex ภายหลัง

– การจัดทำแนวทางในการจัดซื้อ E-book

การดำเนินงาน E-Book โดยมีการจัดทำแบบสอบถามโดยให้แต่ละห้องสมุดตอบเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุง พัฒนาเป็นคู่มือในแนวทางร่วมกันของการดำเนินการจัดซื้อ E-Book ต่อไป

 

ประชุมครั้งต่อไป วันที่ 25 มิถุนายน 2557

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุม

1) ได้ทราบความคืบหน้าและข่าวสารในส่วนงานเทคนิคห้องสมุดห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดลว่ามีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแก้ไขส่วนใด รวมถึงเรื่องราวอันมีส่วนและมีผลต่องานห้องสมุดของตนเอง เพื่อนำมาแก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติม และดำเนินการตามนโยบายของหอสมุดฯ ต่อไป

2) ได้ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยน พูดคุยถึงปัญหาในงานที่พบกับบุคลากรห้องสมุดจากวิทยาเขตอื่น เพื่อได้รับแนวทางแก้ไข และให้คำปรึกษาที่สามารถนำมาปรับใช้กับงานของตนเองได้ต่อไป

About