โดย ทีมงานบริษัท เป็นสุข จำกัด วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ณ ห้องประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
ผู้ร่วมสัมมนา : นุชสรา บุญครอง
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจและสามารถนำแผนกลยุทธ์การสื่อสารมหาวิทยาลัยมหิดลปี 2557 ไปปรับใช้และนำไปปฏิบัติได้จริงในแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การประชาสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
Brand หรือ แบรนด์ คือ ความรู้สึก หรือ ความประทับใจ ที่ถูกสร้างขึ้นภายในจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การใช้สินค้า ภาพลักษณ์ขององค์กร และบุคคล
Branding คือ การสร้าง Brand ให้เป็นที่รู้จัก เป็นที่นิยม ในกลุ่มเป้าหมาย เป็นความรู้สึก ซึ่งจับต้องเป็นรูปธรรมไม่ได้ ในการสร้าง Brand จะเริ่มจากการเลือกอารมณ์ ว่าอยากให้กลุ่มเป้าหมายอยากจดจำแบบนไหน โดยใช้เครื่องมือเรียกว่า Brand Role : เหมือนธาตุทั้ง 5 เทียบกับบุคลิกของมนุษย์
Mahidol Brand Platform
ทางทีมงานบริษัท เป็นสุข จำกัด ได้ทำการสุ่มสำรวจความรู้จักแบรนด์มหิดล โดยเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและในระดับ ASEAN พบว่าแบรนด์มหิดลนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ซึ่งผลสำรวจออกมาตามกราฟนี้
จากรูปนั้นวิทยากรได้อธิบายถึงแบรนด์มหิดล ว่ายังไม่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันมากนัก โดยทางมหาวิทยาลัยมหิดล ต้องสร้างแบรน์ของมหาวิทยาลัยให้เด่นชัดและเป็นที่ประจักษ์มากยิ่งขึ้น โดยเน้นที่กลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก แบ่งสรรเป็นเรื่องๆให้ชัดเจนมากขึ้น หรือใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง (Brand Personality) ช่วยสร้างให้เห็นแบรนด์มหิดลให้เด่นชัดขึ้น
Brand Identity System
ระบบอัตลักษณ์ของแบรนด์ คือ กระบวนการควบคุม การถ่ายทอด ความเป็นแบรนด์ โดยทางบริษัทได้เสนอสีโลโก้รองจากสีหลักมีดังนี้ ผลจากการระดมความคิดรอบที่ 1 ได้สรุปโทนสีหลักและโทนสีรองดังนี้
โดยนำสีที่กำหนดในเบื้องต้นมาจัดทำโฆษณาตามสื่อและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และยกตัวอย่างการทำสื่อสิ่งพิมพ์โดยใช้ Infographic ให้ดูน่าสนใจ เน้นเนื้อหาอ่านแล้วมีประโยชน์ กระชับ เข้าใจง่าย ให้กลุ่มเป้าหมายจดจำแบรนด์ได้มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่เน้นโฆษณาเพียงอย่างเดียว ดังตัวอย่างต่อไปนี้
สุดท้ายทางทีมงานจะดำเนินการนำข้อสรุปต่างๆ ไปวิเคราะห์โดยปรึกษาผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประชาสัมพันธ์แบรนด์มหิดล ให้เป็นที่จดจำได้ง่ายขึ้นต่อไป