จัดโดย ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
ณ ห้องประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ชั้น 3 อาคาร B ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ข้างสถานฑูตจีน) กรุงเทพมหานคร
วันที่ 29 สิงหาคม 2559 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1. นางสาวรัตน์ชนก ยอดพินิจ
2. นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา
การบรรยาย เรื่อง “เสริมสร้างการเรียนรู้ทางการเงิน (Financial Literacy)
โดย คุณภาวัช ทองเนื้อแปด และคุณวัชราวลี ดาโต๊ะ
สิ่งที่จะเกิดในอนาคต… ความท้าทายในอนาคต
- สังคมผู้สูงอายุ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ในปี 2568 โดยจะมีคนอายุเกิน 60 ปี มากกว่า 20% ของประชากรในประเทศ ในขณะที่สวัสดิการเพื่อวัยเกษียณยังมีไม่เพียงพอ
- เงินเฟ้อ ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น ทำให้เงินออมมีมูลค่าลดลง
- หนี้สิน ความต้องการในชีวิตเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น
หลุมพรางที่ทำให้เกิดปัญหาทางการเงิน เพราะเกิดจากเหตุ 4 ประการ
- ใช้จ่ายไม่ยั้งคิด
- ไม่วางแผนทางการเงิน
- ไม่มีเงินสำรอง
- ไม่มีความรู้ทางการเงิน
เราสามารถสร้างอิสรภาพทางการเงินได้ด้วย เคล็ดลับ 4 รู้ สู่ความมั่งคั่ง ดังนี้
- รู้หา (How to Earn) คือ รู้จักวิธีหารายได้จากช่องทางต่างๆ ทั้งจากการทำงานและการลงทุน
- รู้เก็บ (How to Save) คือ รู้วิธีการเก็บออมเงินและสร้างวินัยทางการเงิน เพื่อให้ฐานเงินออมขยายตัวสำหรับรองรับการขยายดอกผลและเพิ่มความมั่งคั่งต่อไปในอนาคต
- รู้ใช้ (How to Spend) คือ รู้วิธีการใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้มีเงินออมเพิ่มขึ้น
- รู้ขยายดอกผล (How to Invest) คือ รู้วิธีนำเงินออมไปลงทุนในทางเลือกต่างๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงและแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นอย่างเหมาะสมกับตนเอง
การเสวนา เรื่อง “สมดุลแห่งชีวิต ในโลกเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อประสิทธิผลที่ดีในการทำงาน”
โดย นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์
รองผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ ดร.นฤมล รื่นไวย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
Work Life Balance คือ สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน การใช้ชีวิตให้สมดุล ทำงานให้สมดุล รู้จักแบ่งเวลา เมื่ออยู่ในที่ทำงานก็ทำงานให้เต็มที่ในเวลางาน หลังเลิกงานก็ควรเป็นเวลาส่วนตัว ไม่นำเรื่องงานมาปะปนกับเวลาส่วนตัวหลังเลิกงาน หรือนำงานมาเบียดเวลาส่วนตัวจนไม่ได้พักผ่อน
ทำอย่างไรให้มีความสุขกับงานห้องสมุด
- รักในสิ่งที่ทำ ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าตัวเองชอบในงานห้องสมุดหรือไม่ รักในงานที่ตัวเองทำหรือไม่ หากมีใจรักในงานที่ทำก็จะทำให้มีความสุขในการทำงาน
- โต๊ะทำงานน่ามอง การจัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถหยิบของใช้ได้อย่างสะดวก ก็จะเป็นการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่มีความสุข ไม่ต้องเครียดในการค้นหาของใช้ให้วุ่นวาย
- เปิดมุมมอง พยายามออกไปอบรม สัมมนา หรือไปร่วมกิจกรรมภายนอกห้องสมุดบ้าง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
- หาแรงบันดาลใจ โดยอาจจะออกไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์ การได้พบเจอบางสิ่งบางอย่างอาจจะทำให้เกิดแรงบันดาลใจนำกลับมาใช้ในการทำงานก็เป็นได้
- สร้างสมดุลชีวิต รู้จักแบ่งเวลาระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานให้พอดี
- สร้างกิจกรรม โดยออกไปร่วมกิจกรรมหรือไปปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกที่ทำงานบ้าง
- ออกกำลังกายบ้าง อย่ามัวเพลินกับการทำงาน ควรหาเวลาไปออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ
- เลือกกินของดี ควรเลือกกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อจะได้มีสมองที่แจ่มใสและร่างกายที่แข็งแรงพร้อมในการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างมีความสุข
สถานการณ์ที่บรรณารักษ์ต้องเผชิญในยุคดิจิทัล
ในปัจจุบันสารสนเทศมีอย่างท่วมท้น ผู้คนสามารถรับรู้เรื่องราวได้อย่างรวดเร็วแม้อยู่คนละซีกโลก มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย สามารถเข้าได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่จำกัดอุปกรณ์ เราผู้เป็นบรรณารักษ์มีหน้าที่จัดกลุ่ม Content ไม่ใช่สร้าง Content การวัดกระแสของเทคโนโลยีดูได้จากอะไรที่กำลังเป็นที่สนใจคือความนิยม
- Not specific devices
- Real-time library data
- Virtual reality
- Balancing access and privacy
- Super-fast, super-easy app development
บทสรุป : สมดุลแห่งชีวิตในโลกดิจิทัลเพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน คือ หาเวลาให้เจอ ค้นหาในสิ่งที่รัก คุยกับคนที่รู้ อย่าเพียงคุยแต่กับหนังสือหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ เท่านั้น
การบรรยายเรื่อง “การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่องานสัมฤทธิ์ผล เพื่อคนเบิกบาน”
โดย นายธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร
การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ที่ดี ความสุข และความสำเร็จ
- การสื่อสารที่ดีนำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่ดี
- ความสัมพันธ์ที่ดีนำมาซึ่งความสุข
- ความสุขนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการทำงาน
การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังโดยไม่ตัดสินถูกผิดด้วยความคิดเห็นของเราเอง สามารถก้าวข้ามเสียงตัดสินเล็ก ๆ ในหัวของเรา โดยฟังไปที่หัวใจของผู้พูด
สรุป การสื่อสารภายในองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ต้องใช้เครื่องมือ คือการฟังเขาพูด การฟังคือเครื่องมือที่ดีของการสื่อสาร เพราะถ้าต่างฝ่ายต่างไม่ฟังกันก็จะเกิดความท้าทายหรือความเบื่อและเซ็งกัน ดังนั้นต้องพบกันครึ่งทางจึงจะเกิดความพอดีในการสื่อสาร
Comments are closed.