Home » ประชุมวิชาการ » การประชุมวิชาการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2559

การประชุมวิชาการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2559

การประชุมวิชาการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2559
เรื่อง บทบาทสถาบันการศึกษาเพื่อประเทศไทยสู่สังคมดิจิทัล

จัดโดย หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

ณ ห้องประชุมเทพรัตนทันตกิจสโมสร อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 4
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2559เวลา 08.30 – 16.30 น

ผู้เข้าร่วมการประชุม
1. นางสาววรัษยา สุนทรศารทูล
2. นางสาวกนกพร งามสว่างรุ่งโรจน์
3. นายเฉลิมพันธุ์ ตาทิพย์

วันที่ 23 พ.ย. 2559 สรุปหัวข้อการประชุม ได้ดังนี้

หัวข้อที่ 1 แผนพัฒนาดิจิทัลไทยแลนด์ในมิติสถาบันการศึกษา

วิทยากร : ดร. กษิติธร ภูภราดัย ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิจัยนโยบายสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

 

ที่มาของการจัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

  • คำว่า Digital Economy เริ่มปรากฏจากหนังสือ Digital Economy: Promise and Peril in the Age of Networked Intelligence (1997) ของ Don Tapscott
  • เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมยุคดิจิทัล ได้แก่ Mobile Internet & Broadband Internet, Automation และ Internet of Things (IoT) อันเนื่องมาจากอุปกรณ์หลายอย่างถูกเชื่อมโยงเข้ากับอินเทอร์เน็ต
  • ข้อมูลข่าวสารเปรียบเสมือนแหล่งน้ำมันแห่งใหม่
  • เกิดเศรษฐกิจในรูปแบบ The sharing economy แบ่งปันการใช้งานร่วมกันเฉพาะบางส่วน เช่น Uber ผู้ให้บริการรถแท็กซี่โดยไม่มีรถแท็กซี่ของบริษัทเอง Facebook ผู้ใช้บริการสังคมออนไลน์แต่ไม่สร้าง Content เป็นต้น บริการหลากหลายอย่างเปิดให้เช่าและผู้ซื้อจ่ายเฉพาะส่วนที่ใช้จริงๆ ทั้งนี้ผู้บริโภคและให้บริการอาจเป็นคนๆ เดียวกัน


 สาระสำคัญของแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

  • ประเทศในแถบยุโรปได้กำหนดนโยบาย Digital Economy เป็นวาระแห่งชาติ โดยดิจิทัลไทยแลนด์(Digital Thailand) ถูกนิยามว่า ประเทศไทยสามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นใด
  • Digital Economy เป็นหนึ่งในนโยบายการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ มุ่งเน้นผลลัพธ์จากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในสังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเปลี่ยนวิธีคิดของคน ให้มุ่งสร้างนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการใช้เทคโนโลยี
  • ภูมิทัศน์ดิจิทัลไทยใน 20 ปี

–  ระยะที่ 1 Digital Foundation (1 ปี 6 เดือน)
–  ระยะที่ 2 Digital Thailand I: Inclusion (5 ปี)
–  ระยะที่ 3 Digital Thailand II: Full Transformation (10 ปี)
–  ระยะที่ 4 Global Digital Leadership (10 – 20 ปี)

  • เป้าหมาย 10 ปี
  1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันก้าวทันเวทีโลก
  2. สร้างโอกาสและความเท่าเทียมทางสังคม
  3. พัฒนาทุนมนุษย์สู่ยุคดิจิทัล
  4. ปฏิรูปภาครัฐ
  • ยุทธศาสตร์ 6 ด้าน
  1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
  2. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
  3. สร้างสังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
  4. ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
  5. พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
  6. สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
  • บทบาทและนัยต่อสถาบันการศึกษา
  1. พัฒนาศักยภาพของประชาชนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ส่งเสริมให้ประชาชนมีทักษะรู้เท่าทันสื่อ (DigitalLiteracy)
  2. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้กับบุคลากรในสายวิชาชีพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ปฏิบัติงานในภาครัฐและเอกชนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
  3. เพิ่มโอกาสการได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานของนักเรียนและประชาชน แบบทุกวัย ทุกที่ ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เช่นโครงการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่าน Thai MOOC
  4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลทุกรูปแบบได้อย่างเท่าเทียมกัน

 

เอกสารบรรยาย : http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/digitalthailand.pdf

ข้อมูลเพิ่มเติม : www.digitalthailand.in.th/

 

หัวข้อที่ 2 ตระหนักรู้และก้าวทันสื่อสังคมออนไลน์ในสังคมดิจิทัล

วิทยากร : วรรณวิทย์ อาขุบุตร  รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

 

  • การตระหนักรู้และก้าวทันสื่อดิจิทัล ช่วยเพิ่มช่องทางและเปิดโอกาสให้แก่ประชากรในประเทศ ไม่ใช่เพียงสอนให้รู้จักใช้เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ควรสอนให้รู้จักใช้ความคิดวิเคราะห์ในการตัดสินต่อสิ่งที่อ่าน-เขียน-ทำต่อผู้ที่ถูกกล่าวถึง
  • อินเทอร์เน็ตกับสังคมไทย

– จำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย โดยเฉลี่ย 45 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือ 6.4 ชั่วโมง/วัน โดยใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับ Social Network เป็นส่วนใหญ่

–  สื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมของคนไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ Youtube, Facebook, Line ซึ่งความนิยมในการใช้แตกต่างกันตามรุ่น (Generation)

  • สถานการณ์เวทีโลก รองรับการพัฒนา Digital Economy

–  1 ในทักษะจำเป็นในยุคดิจิทัล คือ การรู้เท่าทันสื่อ (Digital Literacy)

– มีการจัดตั้ง ICANN เพื่อกำกับดูแล IT ในระดับสากล

– เกิดเวทีระดับชาติว่าด้วยการอภิบาลอินเทอร์เน็ต ภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องนโยบายด้านอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ (ประเทศไทยเข้าร่วมด้วย)

  • สังคมไทย กับ Digital Literacy

– จาก Digital Economy คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ไปสู่ Digital Societyประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล

– การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทางที่ดี เช่น ชวนคนปลูกป่า ตามหาคนหาย ช่วยชาวนาขายข้าว เป็นต้น

– การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทางเสื่อมเสีย เช่น กรณีชายรองเท้ามีรู คดีกราบรถ เป็นต้น ทำให้เกิด Cyberbullying (การกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์)

  • อาชญากรรมทางเทคโนโลยี

– ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นบ่อย เช่น Phishing อีเมลหรือเว็บไซต์ปลอมหลอกถามรหัสผ่าน, Ransomware เรียกค่าไถ่ โดยยึดข้อมูลในเครื่องของคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ สามารถร้องเรียนได้ที่ ThaiCERT

– ThaiCERT (Thai Computer Emergency Response Team) หรือ ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศไทย

  • แนวทางปฏิบัติในสังคมดิจิทัล
  1. ไม่แสดงข้อมูลหรือที่อยู่จริงบนโลกออนไลน์
  2. ไม่โพสรูป ที่แสดงทรัพย์สินภายในบ้านบนโลกออนไลน์
  3. ระวังพิษภัยจากเพื่อนตัวปลอม เพราะอาจเป็นพวกต้มตุ๋นปลอมตัวมาหลอกถามข้อมูลส่วนตัวเรา
  4. ไม่ควรเช็คอินบอกสถานที่อยู่ตลอดเวลา
  5. กำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล
  6. อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป
  7. ระวังการอัพโหลดภาพขึ้นสังคมออนไลน์ อาจมีข้อมูลละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือละเมิดลิขสิทธิ์ของคนอื่น
  8. อ่านเงื่อนไขการให้บริการในเว็บไซต์หรือโปรแกรมเสริม
  9. ไม่ควรบอกรหัสผ่านกับผู้อื่น
  10. ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลทางการเงิน

 

เอกสารบรรยาย : http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/onlinesocial.pdf

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://ictlawcenter.etda.or.th

 

หัวข้อที่ 3 – MOOC : Transforming Education for Transforming Lives

วิทยากร : วิลาศ วูวงศ์   ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

 

  • MOOC (Massive Open Online Course) คือ คอร์สเรียนฟรีออนไลน์ที่รองรับผู้เรียนจำนวนมาก

– เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาด้านการศึกษา ที่รองรับผู้เรียนเป็นแสนๆ แม้จะอยู่ห่างไกล

– MOOC Providers ชั้นนำ เช่น Coursera, Udacity, edX, NovoED, Iversityและ Future Learnเป็นต้น

– Open edX เป็น platform สำหรับสร้าง MOOC สำเร็จรูป มหาวิทยาลัยมหิดลส่งเสริมให้นำไปพัฒนาต่อยอดโดยใช้ชื่อว่า MUx

– จาก MOOC จะพัฒนาไปเป็น OER และกลายเป็น Open Education

  • OER (Open Educational Resources) คือ แหล่งการเรียนรู้ด้านการศึกษาที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • Open Education เป็นแนวคิดและการเคลื่อนไหวที่สนับสนุนให้เปิดและแบ่งปันทรัพยากรการศึกษา เช่น ตำรา หนังสือ เลคเชอร์โน๊ต โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • ในอนาคตบทบาทของมหาวิทยาลัยเปลี่ยนเป็น OPEN Education เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้าเพิ่มประสิทฺธิภาพการใช้งบประมาณ และจัดการศึกษาให้ตรงความต้องการของสังคม โดยจะต้องสร้างเครือข่าย Open Textbooks ให้เกิดขึ้น
  • MOOC เป็นคำตอบหนึ่ง แต่ทางออกควรเป็น Open Education

 

เอกสารบรรยาย : http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/MOOCs.pdf

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MOOCs ระดับโลก : http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/moocs.htm


 

หัวข้อที่ 4 –Internet of Things on Cloud and Big Data for Thailand 4.0

วิทยากร : ยืน ภู่วรวรรณ  ที่ปรึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • ในอนาคตเครื่องจักรกลจะฉลาดมากขึ้น สารสนเทศมีมากขึ้น รูปแบบการเรียนรู้เปลี่ยนไปสารสนเทศแปลงสภาพกลายเป็น Digital Object อาชีพในอนาคตอาศัยทักษะเฉพาะด้านมากขึ้น
  • ประชาชนจะต้องมี Digital and Media Literacy, Deep Learning
  • ยุคดิจิทัลเป็นการผสมผสานระหว่าง Cyber World และ Physical World
  • สิ่งของหรือเครื่องใช้ต่างๆ จะถูกบรรจุความสามารถทางดิจิทัลเช้าไป ทำให้อุปกรณ์เกิดความฉลาด (Smart Object) และนำไปประยุกต์ใช้ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น ธนาคาร, การซื้อขาย, อุปกรณ์การแพทย์, อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
  • เทคโนโลยีฝังเข้าไปในทุกสิ่ง, ระบบการสื่อสารสร้าง UX แบบใหม่, อุปกรณ์สื่อสารกับผู้ใช้ผ่าน Cloud
  • อุปกรณ์ทำงานแบบ Automed บน Platform System
  • Thailand 4.0 ล้อมาจากคำว่า Industry 4.0

Industrial 4.0 > Thailand 4.0 > Creativity + Innovation = Smart Thailand

  • IoT เชื่อมต่อ สื่อสารกับสิ่งของ เกิดการบูรณาการข้อมูลในโลกความจริง และสร้างข้อมูลจำนวนมาก จึงต้องนำมาวิเคราะห์ด้วย Data Science
  • เพื่อรองรับ Thailand 4.0 ประเทศไทยต้องปรับโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ได้แก่ IoT, Cloud และ Big Data
  • Media and Information Literacy ต้องเกิดขึ้นพร้อมกับเทคโนโลยี

 

เอกสารบรรยาย : http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/internetofthinks.pdf

 


 

วันที่ 24 พ.ย. 2559 สรุปหัวข้อการประชุม ได้ดังนี้

หัวข้อที่ 1 อนาคตใหม่ของการศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0

วิทยากร : ศาสตราจารย์ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา

  • ข้อมูลมหาศาล ต้องเอามาแปลงเป็นความรู้ให้ได้
  • คลื่น 7 ลูก ได้แก่ สังคมเร่ร่อน สังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรม สังคมข้อมูลข่าวสาร สังคมความรู้ สังคมปัญญา และยุคสุดท้ายสังคมความดี ปัจจุบันไทยอยู่ในยุคคลื่นลูกที่ 3 สังคมข้อมูลข่าวสาร
  • จะก้าวสู่ Thailand 4.0 ต้องปฏิวัติความคิด Thinking + Information = Knowledge
  • ส่วนที่ 1 แนวคิดการพัฒนาสู่ Thailand 4.0

– โมเดล 5 ระดับสู่นวัตกรรม ได้แก่ C (Copy), C&D (Copy & Development), R (Research), R&D (Research & Development) และ R&I (Research & Innovation)
– โมเดล 3I Innovation Model ได้แก่ Ideation Innovation, Implementation Innovation และ Impact Innovation
– พัฒนาเทคโนโลยี (techie) และคำนึงปรัชญาอุดมการณ์และประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบท(fuzzie)

  • ส่วนที่ 2 บทบาทของการศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0

– ใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาคนให้มีสมรรถนะ สนับสนุนให้เกิดเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทั้งมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
– สร้างกระบวนการอารยาภิวัฒน์พัฒนาสู่ประเทศที่เจริญทุกด้าน ทุกมิติ และทุกองค์ประกอบของสังคม
– การศึกษายุคใหม่ ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นการคิด พัฒนาสมรรถนะ (ปฏิบัติได้จริง) แสวงหาความรู้ ผลิตองค์ความรู้และนวัตกรรม บูรณาการกับสังคม ร่วมมือกันทำ และเรียนแบบนักปราชญ์

  • ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0
    เป้าหมาย :
    เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างผู้เรียนที่มีสมรรถนะเป็นที่ต้องการ สนับสนุนการคิดนวัตกรรม และการพึ่งตนเองได้บ้างทางด้านเทคโนโลยี
  1. ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งชาติไทย
  2. มุ่งสอนและวัดสมรรถนะผู้เรียนบนฐานสมรรถนะ KSL 31220 (ความรู้, ทักษะ, ลักษณะชีวิต)
  3. จัดการศึกษาบนฐานศักยภาพและความถนัดของผู้เรียน
  4. พัฒนาหลักสูตรการคิด 10 มิติ (จากหนังสือชุดผู้ชนะสิบคิด)
  5. ตรี โท เอก ทำวิจัย 3I (Ideation, Implementation, Impact)
  6. พัฒนาสถานศึกษาทุกระดับสู่สถาบัน 2 และ 3 ภาษา
  7. สร้างผู้ประกอบการ
  8. สร้างความร่วมมือ Research & Innovation ระหว่างสถาบันการศึกษากับ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
  9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสิทธิบัตรทางปัญญา
  10. ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมในสถานศึกษาทุกแห่ง

 

เอกสารบรรยาย : http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/ithesis.pdf

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของของวิทยากร ได้ที่ http://drdancando.com/


หัวข้อที่ 2 i-Thesis:เพื่อสังคมไทยสู่สังคมดิจิทัล

วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร. อมร เพชรสม  ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • ปัญหาการเขียนวิทยานิพนธ์ ได้แก่

– รูปแบบการเขียนผิดเพี้ยน
– เอกสารอ้างอิงไม่ถูกต้อง
– อาจารย์ที่ปรึกษาพบปัญหาช้าไป
– Digital file มีหลาย version
– ปัญหาการจ้างทำวิทยานิพนธ์
– ไม่มี metadata ฯลฯ

  • ทำอย่างไรให้มีระบบบริหารวิทยานิพนธ์และสามารถตรวจการคัดลอกวรรณกรรมได้ทั่วถึง

–  i-Thesis + อักขราวิสุทธิ์

– กำหนดให้นักศึกษาเขียนวิทยานิพนธ์ด้วยโปรแกรม i-Thesis

–  ตรวจสอบการคัดลอกวรรณกรรมด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์

  • โปรแกรม i-Thesis

– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำหนดให้ใช้ i-Thesis และอักขราวิสุทธิ์ในการตรวจวิทยานิพนธ์
– i-Thesis คือ ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ สำหรับจัดส่งวิทยานิพนธ์ฉบับร่าง/ฉบับสมบูรณ์ ไปยังอาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างสะดวก
– i-Thesis เป็น Template สำหรับการเตรียมวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง, ป้องกันข้อมูลสูญหาย, ลดระยะเวลาการส่งวิทยานิพนธ์ และช่วยประหยัดทรัพยากร

  • ขั้นตอนการใช้งานระบบ i-Thesis
  1. นักศึกษากรอกข้อมูลวิทยานิพนธ์บนเว็บพอร์ทัล
  2. นักศึกษาส่งวิทยานิพนธ์ฉบับร่างไปทางอีเมล์อาจารย์ โดยจะตรวจสอบการคัดลอกวรรณกรรมด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ไปในตัว
  3. อาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติวิทยานิพนธ์ฉบับร่าง จากนั้นระบบจะส่งอีเมล์แจ้งผลการพิจารณาไปยังนักศึกษา
  4. ภายหลังวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ได้รับการอนุมัตินักศึกษาพิมพ์เล่มวิทยานิพนธ์และเอกสารใบนำส่ง ส่งให้ทางบัณฑิตวิทยาลัย
  • ติดต่อเพื่อทดลองใช้งานระบบ i-Thesis แจ้งความประสงค์มาที่ ithesis@uni.net.th และ dev-ithesis@uni.net.th

 

เอกสารบรรยาย : http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/thailand4.pdf

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ i-Thesis ได้ที่ https://ithesis.uni.net.th/

 

 

หัวข้อที่ 3 Edutainment Variety สื่อการเรียนรู้ที่ให้มากกว่าการเรียนรู้

วิทยากร : คุณวีรณา โอฬารรักษ์ธรรม    บริษัท TCBN ผู้ผลิตรายการ Mahidol Channel

  • สถาบันสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้แก่โลกได้ คือ สถาบันการศึกษาและสถาบันครอบครัว
  • สื่อการเรียนรู้ คือ สื่อที่ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน ต่างจากรายการสื่อบันเทิงที่หวังผล
  • DLIT, ENG24, Mahidol Channel เป็นตัวอย่างของสื่อการเรียนรู้ที่นำความรู้ไปสู่ภาคประชาชน เมื่อเผยแพร่ออกไปแล้วเกิดการบอกต่อ ช่วยชีวิตคนได้ มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
  • Mahidol Channel ทำขึ้นเพื่อนำความรู้ ผลงานวิชาการ งานวิจัยต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลมาจัดทำเป็นสื่อรายการ เผยแพร่แก่ประชาชาชนที่สนใจความรู้ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ว่า “ปัญญาของแผ่นดิน”
  • Business Model ของการสร้างสื่อ ต้องคิดหรือตีโจทย์ให้แตกฉานก่อนว่าจะทำอะไร ประกอบด้วย Key Partners, Key Activities, Key Resources, Value Proposition, Client Relation, Clients, Costs, Revenue
  • 4 Key Driver ได้แก่ Content, Platform, Marketing, Big Data หากมองไม่เห็นความเชื่อมโยงจะไม่ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
  1. 1.      Content

– 1 Content สามารถแตกย่อยรูปแบบการนำเสนอออกมาได้มากมาย เช่น เป็นไฟล์ภาพ เสียง กราฟริก ข้อความ ฯลฯ

  1. 2.      Platform

– อุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, แทบเล็ต, PC

– ช่องทางการเผยแพร่ เช่น Youtube สร้างผลระยะยาว สามารถกลับมาดูซ้ำได้ตลอด, Facebook สร้างกระแสได้รวดเร็ว แต่กลับมาดูซ้ำยาก เป็นต้น

  1. 3.      Marketing

–  การส่งสารไปยังกลุ่มเป้าหมายต้องใช้หลายสื่อผสมกันในการประชาสัมพันธ์

– Audience Insights เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ต้องรู้ว่า ลูกค้าเป็นใคร และมีพฤติกรรมการบริโภคอย่างไร

– สื่อแพร่แบบเน็ตเวิร์ค ผู้คนแชร์คลิป แชร์ภาพ สื่อแพร่กระจายจนเกิดเป็น Social Power

– ยุคปัจจุบันผู้คนรับสื่อผ่านหลายช่องทางพร้อมๆ กัน

– งานบริการยุคใหม่ มุ่งเน้น Engagement สร้างความผูกพันกับลูกค้า เช่น แคมแปญ Ice Bucket

  1. 4.      Big Data

– 5 Vs ได้แก่ Volume, Variety, Value, Verocity, Veracity

– 5 Vs of Big Data สำคัญมาก ข้อมูล สถิติ ต้องนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ ทำได้ผ่านเครื่องมือออนไลน์ เช่น Facebook Insights, Google Analytics

  • Story always is a King ไม่ว่าจะเป็นสื่อในอดีตหรือปัจจุบัน Story สำคัญที่สุด มี Key Massage ประโยคสั้นๆ ที่สามารถบ่งบอก Story ทั้งหมดได้
  • ข้อมูลในการสร้างสื่อจะต้องมีทั้ง Quantity และ Quality คือ มีข้อมูลที่มากพอและดีพอ และสิ่งที่คนทำงานสื่อต้องมี คือ Passion มีความหลงใหล มีความกระเหี้ยนกระหือที่จะทำ ซึ่งจะทำให้เกิด Relevant, Practical และ Emotional

 

เอกสารบรรยาย : http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/edutainment.pptx

ติดตามรายการ Mahidol Channel ได้ที่ https://www.youtube.com/user/mahidolchannel

 

หัวข้อที่ 4 ห้องสมุดดิจิทัลในฐานะศูนย์บ่มเพาะทางปัญญาเพื่อการศึกษาเรียนรู้ในยุคดิจิทัล

วิทยากร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล  ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • ห้องสมุดยุคใหม่ในฐานะของการสร้างคน รองรับอนาคตที่จะเกิดอาชีพใหม่ เช่น ดูแลผู้สูงอายุ  Startup
  • ทักษะสำคัญของคนยุค 2020 คือ นักแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เรียนรู้ด้วยตนเองได้และเราจำเป็นต้องเสริมทักษะใหม่ทุกๆ 5 ปี
  • ห้องสมุดมีหน้าที่สร้างคนยุค 2020 บ่มเพาะให้คนเป็นผู้ประกอบการ
  • การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ปรับรูปแบบการสอน เช่น ฟินแลนด์สอนแบบอิงสถานการณ์ สหรัฐอเมริกาสอนเป็นลักษณะส่วนบุคคล
  • Service Design เป็นเทรนด์มาแรง
  • การเดินทางเปลี่ยนผ่านห้องสมุดดิจิทัล มุ่งไปที่ประสบการณ์ของผู้ใช้ กระแสงานในวงจร “เริ่ม ระหว่าง สิ้นสุด” ของการค้นคว้าวิจัย แบ่งปัน เชื่อมโยง บ่มเพาะความคิด
  • ความน่าเชื่อถือ คือ จุดแข็งของห้องสมุด
  • The Open Syllabus Project – รายวิชาแบบเปิด
  • ใส่ Course Syllabus ลงไปในเว็บ และให้บริการได้
  • Zooniverse คลังภาพด้านวิทยาศาสตร์
  • ยอดเยี่ยมอย่างง่าย

 

เอกสารบรรยาย : http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/LibIncubator.ppsx

 

 

วันที่ 25 พ.ย. 2559 สรุปหัวข้อการประชุม ได้ดังนี้

หัวข้อที่ 1 Capture, Streaming, Archive: Content Management System

วิทยากร : ดร.บรรพต สร้อยศรี     ผู้จัดการศูนย์พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิทยากร : ผศ.กุลเชษฐ์ เล็กประยูร  ผู้ช่วยคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Capture, Streaming, Archive: Content Management

  • Capture Classroom ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในห้องเรียนรูปแบบ e-learning (Video)
  • Microsoft Producer (2003) เป็น Capture Software รุ่นแรกๆ ที่ใช้สร้าง Capture Classroom ใช้บันทึกวีดิโอการเรียนการสอน ซึ่งจะแสดงภาพผู้สอนซึ่งบรรยายยเนื้อหาไปพร้อมกับ PowerPoint ผู้สอนสามารถนำขึ้นบนเว็บไซต์เพื่อสอนแบบออนไลน์ได้ แต่ Software นี้ใช้เวลาทำค่อนข้างนาน
  • Capture Software ในปัจจุบันมีหลายหลาก เช่น AcuLe@rn, Monosnap, Telestream ScreenFlow, Techsmith Camtasia เป็นต้น
  • Capture Software มี 2 รูปแบบ ได้แก่
  1. Automation – บันทึกโดยอัตโนมัติ เมื่อเริ่มการเรียนการสอนอุปกรณ์ก็จะบันทึกเองโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ห้องเรียนต้องมีอุปกรณ์รองรับ แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
  2. By Yourself – บันทึกด้วยตนเอง ผู้สอนบันทึกการสอนในคอมพิวเตอร์ของตนเอง สามารถแก้ไข ตัดต่อ และเผยแพร่ด้วยตนเอง
  • ช่องทางสำหรับ Streaming & Archiving ได้แก่ YouTube Channel, Vimeo, iTuneU (iOS), Edmodo (Andriod)

 

Digital Asset Management

  • Digital Asset Management ประกอบด้วย Key Concept 4 ข้อ ได้แก่
  1. Capture (การถ่ายทำ) นำเข้าได้จาก Sources หลากหลายแหล่ง เช่น MCR, Studio Production, Virtual Studio, Classroom Capture, Seminar Shooting, Collaboration, Event
  2. Live Streaming (การส่งสัญญาณภาพและเสียง)

– ใช้เครื่องมือทั้ง Hardware และ Software

– Live stream ในปัจจุบัน เช่น Facebook Live, Skype และ Keynote live (iOS) เป็นต้น

  1. Archive (คลังข้อมูลการจัดเก็บ) มี Server/Storage รองรับจัดเก็บแบบ Online, Nearline และ Offline

– Media File เลือกใช้ไฟล์นามสกุล .MXF เป็นนามสกุลกลาง

– Deep Archive ได้แก่ ODA, LTO สำหรับจัดเก็บแบบ Offline

– การ Capture ส่วนใหญ่ทำแบบออฟไลน์ แล้วเผยแพร่ออนไลน์

  1. Content Management System (การบริหารจัดการเนื้อหา-ข้อมูล)

– Metadata Element

– VOD: Video on Demand

 

เอกสารบรรยาย ดร.บรรพต สร้อยศรี : http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/cmscu.pdf

เอกสารบรรยาย ผศ.กุลเชษฐ์ เล็กประยูร: http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/cmsbkk.pdf

 

 หัวข้อที่ 2 Digital Content Collaboration : Digital Library

วิทยากร : คุณกันตพงศ์ บุญญานุพงศ์     Sales & Engineering Manager บริษัท Kramer Electronics Asia

  • Digital Content Collaboration กล่าวถึงการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ดิจัทัลและ Content ซึ่งใช้ในสถานศึกษาหรือสถานที่ทำงาน
  • อุปกรณ์เพื่อการศึกษามีอยู่ทุกแห่ง เช่น ห้องเรียนในมหาวิทยาลัย ห้องฝึกอบรบของหน่วยงาน เป็นต้น อีกทั้งยังมีระบบการทำงานส่วนใหญ่ที่คล้ายกัน
  • ทั้งนี้ ไม่ควรใช้เทคโนโลยีเป็นตัวตั้ง แต่ควรคำนึงถึง Content เป็นหลัก แล้วใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเผยแพร่เนื้อหา ซึ่งสามารถแบ่งปันข้อมูลผ่านอุปกรณ์ได้หลากหลายช่องทาง (BYOD)
  • Content Sources ได้แก่ Microphone, PC, Video, Mobile, Video conferencing เป็นต้น
  • สถานที่ที่ควรใช้ Educational Facilities ได้แก่ ห้องเรียน ห้องฝึกอบรม ห้องประชุม เป็นต้น
  • “Collaboration is working with others to do a task and to achieve shared goals” Collaboration คือ การทำงานร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
  • Collaboration Step = Connect, Coagulate, Engage
  • ห้องเรียนยุคเดิม อาจารย์สอนหน้าห้อง นักเรียนฟัง ห้องเรียนยุคใหม่ ต้องเกิดความร่วมมือจากทั้งผู้เรียนและผู้สอน

 

เอกสารบรรยาย : http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/digitallibrary.pdf

ตัวอย่าง Collaborative Classroom by InfoComm : http://k.kramerav.com/kcc-simulator/

About