Home » งานวิเคราะห์ทรัพยากร » สรุปการฟังบรรยายทางวิชาการเรื่อง มาตรฐานการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศด้วย RDA

สรุปการฟังบรรยายทางวิชาการเรื่อง มาตรฐานการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศด้วย RDA

สรุปการฟังบรรยายทางวิชาการเรื่อง มาตรฐานการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศด้วย RDA
โดย คุณนันทพร ธนะกุลบริภัณฑ์
รองผู้อำนวยการ และ หัวหน้าฝ่ายเทคนิค สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2556 เวลา 9.00-16.30 น.
ณ ชั้น 3 โถงกลาง ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้เข้าอบรม  : นางสาววริตฒาฆ์ ฟองโหย , นางสาวณิชดาภา อัจฉริยสุชา

สรุปสาระสำคัญของการอบรมบรรยาย
มาตรฐาน RDA (Resource Description and Access) เป็นมาตรฐานการลงรายการรูปแบบใหม่ที่รองรับรูปร่าง โครงสร้าง และเนื้อหา หรือ กลุ่มคำแนะนำในการเลือกและลงรายการ (New Content Standards) ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อแทนที่มาตรฐานการลงรายการ AACR2

มาตรฐาน RDA มีการพัฒนาขึ้นในปี 1997 (พ.ศ. 2540) โดยความร่วมมือของสมาคมห้องสมุดอเมริกัน สมาคมห้องสมุดแคนาดา และสมาคมวิชาชีพห้องสมุดและสารสนเทศ

โครงสร้าง RDA ใช้โมเดลของ FRBR และ FRAD เป็นแบบจำลองที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมุ่งเน้นโดยมีมุ่งเม้นการบันทึกข้อมูล เพื่อช่วยการค้นหาทรัพยากรของผู้ใช้  โดยมีรายละเอียด คือ

1)      โมเดลการลงรายการบรรณานุกรมข้อมูลที่เรียกว่า Functional Requirements for Bibliographic Records (FRBR) สำหรับรองรับการลงรายการข้อมูลได้ทุกรูปแบบทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์ และไฟล์ดิจิทัล เป็นส่วนข้อมูลที่รับผิดชอบดูแลข้อมูลในหนังสือ (Bibliographies records)

2)      โมเดลการลงรายการบรรณานุกรมข้อมูล Functional Requirements of Authority Data (FRAD) ประกอบด้วย Bibliographic entities, Name and/or Identifier และ Controlled access points เป็นชุดข้อมูลหรือคำทางภูมิศาสตร์ (Authority data) หัวเรื่อง ชื่อเรื่องชุด เรื่อง/ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคน

นอกจากนี้การลงรายการบรรณานุกรมของมาตรฐาน RDA ยังสามารถใช้ร่วมกับมาตรฐาน MARC ได้ โดยการเพิ่ม Tag การลงรายการให้สอดคล้องกับการสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต และ RDA data ยังสามารถเข้ารหัสโดยใช้ encoding schema ที่มีอยู่เดิมหรือที่ใช้กับ AACR2 ได้

มาตรฐานการลงรายการสารสนเทศสื่อดิจิทัลตามรูปแบบ RDA มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดของการอธิบายรายละเอียดของทรัพยากรและวิธีการจัดการสารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ตรงตามความต้องการโดยมีหน้าที่หลัก ดังนี้

  1. การค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ (Find) การค้นพบ resources ตรงกันกับผลการค้นตาม criteria ของผู้ใช้
  2. การระบุหรือชี้บอกถึงข้อมูลที่ต้องการ (Identify) เป็นการยืนยันว่า resources ที่พบตรงกับที่ค้นหา โดยสามารถแยกหรือระบุความแตกต่างระหว่าง resources อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันได้
  3. การคัดเลือกข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (Select) การเลือก  resources ที่ผู้ใช้ต้องการ ตรงตามเนื้อหา ประเภท ลักษณะรูปร่าง
  4. การได้รับข้อมูลที่ต้องการ (Obtain) การรับหรือเข้าถึง item ที่เลือก โดยวิธี ซื้อ ขอยืม ฯลฯ

FRBR ข้อสังเกตของ FRBR Model มีดังนี้

  • FRBR เป็น set ของความคิดเชิงโครงสร้างที่เป็นพื้นฐานของกฎ/หลักเกณฑ์การลงรายการที่จะพัฒนาในรุ่นต่อๆไป
  • FRBR ไม่ใช่ Cataloging Rules เหมือน AACR2
  • FRBR ไม่ใช่ Data Format เหมือน MARC21
  • FRBR ไม่ใช่ Metadata Schema เหมือน Dublin Core Metadata
  • FRBR ไม่ใช่  Mark-up Language เหมือน XML

มาตรฐานการลงรายการสารสนเทศดิจิทัล RDA ประกอบด้วยข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่

 กลุ่มที่ 1 ชื่อเรื่อง (title) ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง และประเภทหรือลักษณะของทรัพยากรนั้นๆ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ work, expression, manifestation, item โดยมีรายละเอียดการอธิบายลักษณะของกลุ่มที่ 1 นั้น จะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มที่ 2 ดังนี้

  • ส่วน Work งานจากความคิดริเริ่ม/สร้างสรรค์ (ideas) ด้วยตนเอง ซึ่ง element ของ work ได้แก่  ชื่อเรื่องของงาน ผู้แต่ง ปีที่สร้างงาน และ identifier
  • ส่วน Expression วิธีการสื่อสารถ่ายทอดความคิดริเริ่ม/สร้างสรรค์นั้นๆ ออกมาให้สามารถเข้าใจได้ ในรูปแบบการนำเสนอหนึ่งๆ ซึ่ง element ของ expression ได้แก่ ภาษาของงาน ปีของงาน และรูปแบบการนำเสนอ
  • ส่วน Manifestation การบันทึกงานหรือเนื้อหาในประเภทสื่อ/ตัวนำพาเนื้อหา (carrier) ซึ่งบ่งบอกรูปแบบทางกายภาพในรูปแบบต่างๆ ซึ่ง element ของ manifestation ได้แก่ ชื่อผู้จัดพิมพ์ ผู้รับผิดชอบต่างๆ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ปีที่ตีพิมพ์/เผยแพร่ และรูปลักษณ์ทางกายภาพ
  • ส่วน Itemphysical form และจำนวนของตัวนำพาเนื้อหาทั้งหมดที่บันทึกของงานนั้นๆ ไว้ เช่น บันทึกนวนิยาย 1 เรื่อง ไว้ในหนังสือ 3 เล่มจบ หรือในซีดีรอม 2 แผ่น ซึ่ง element ของ item ได้แก่ จำนวนทั้งหมดของชิ้นงาน จำนวนที่ครองอยู่ (holdings) และสถานที่จัดเก็บ

กลุ่มที่ 2 ชื่อผู้แต่ง (author) ประกอบด้วยชื่อผู้แต่งและองค์กรที่รับผิดชอบในการจัดทำ ได้แก่ person and corporate body และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มที่ 3

กลุ่มที่ 3 หัวเรื่อง (subject) ประกอบด้วย หัวเรื่อง และสถานที่จัดเก็บ ได้แก่ concept, object, event, and place

การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของ MARC เพื่อรองรับ RDA

  1. เพิ่ม code i = RDA ใน Leader/18 (Descriptive Cataloging form)
  2. เพิ่ม code “rda” ใน MARC code list for Descriptive Conventions
  3. เพิ่ม codes ใน character position ของ 007 & 008
  4. กำหนดให้ลงซ้ำได้สำหรับบาง subfield ไม่มี“rule of 3”(ไม่อนุญาตให้คัดลอกชื่อผู้แต่งที่ร่วมรับผิดชอบในงานหนึ่งๆ มาลงรายการมากกว่า 3 ชื่อ)
  5. เพิ่ม Field ใหม่ ใน Bib. Format โดยมีเงื่อนไขการใช้เพิ่มจาก Field 260 คือ 264_1 ใช้ทั้งในกรณีผ่านและไม่ผ่านกระบวนการพิมพ์ (รองรับสื่อที่ไม่มีการตีพิมพ์ วิทยานิพนธ์ ต้นฉบับตัวเขียน)
  6. ใช้ Tag ของ MARC เพิ่ม คือ 366 337 338
  7. ในส่วนของผู้รับผิดชอบ
  • ให้คัดลอกตามที่ปรากฎทั้งหมด
  • รายการเพิ่มอาจไม่เท่ากับที่คัดลอกมา สามารถเพิ่มได้แม้ไม่ได้คัดลอกมา
  • ไม่จำเป็นต้องทำรายการเพิ่มตามที่คัดลอกมา
  1. ในส่วนของสถานที่พิมพ์
  •  เลือกและลง the FIRST place of publication
  • ไม่ต้องลงชื่อหน่วยงานในระดับที่สูงขึ้นไป
  • ไม่ต้องแก้ไข place of publication ที่ไม่ถูกต้อง แต่ให้อธิบายใน note fields
  • ถ้าไม่มี probable place, ให้ใช้ [Place of publication not identified] ไม่ใช้ [S.l.] ตามกฎของ AACR2

 ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม

  1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักการและรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานการลงรายการ RDA เพิ่มขึ้น
  2. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงในการลงรายการทรัพยากรสารนิเทศที่ตนเองปฏิบัติงาน

About