Home » อบรมวิชาการ » การฝึกการอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น

การฝึกการอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น

สรุปการฟังบรรยาย e-Databases2013@mahidol
การฝึกการอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น

โดย : คุณจิรวัฒน์ พรหมพร แผนกสนับสนุนฝ่ายทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์เซอร์วิส จำกัด

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์
ผู้เข้าอบรม : คุณบุญญาวดี พงษ์ศิลา, คุณขวัญชนก พุทธจันทร์ และคุณครรชิต บุญเรือง

ก่อนจะเริ่มเข้าสู่การอบรมการใช้งานฐานข้อมูลต่างๆ วิทยากรคุณจิรวัฒน์ พรหมพร ได้แนะนำเทคนิคการสืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ แบบง่ายๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การสืบค้นบทความ หรือสารสนเทศต่างๆ ผู้ใช้อาจใช้หลักการสืบค้นจากกว้าง แคบ เช่น
1.1. การใช้เครื่องหมาย ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่แน่ใจในตัวสะกดที่ต้องการสืบค้น
– เครื่องหมาย “ * ” เช่น manag* จะได้ผลการค้น manage, manages, manager, management
– เครื่องหมาย “ ? ” แทนที่ตัวอักษรเพียงหนึ่งตัว เช่น wom?n จะได้ผลการสืบค้น woman, women หรือ fib?? จะได้ผลการสืบค้น fiber เป็นต้น

 
1.2. หากผลการสืบค้นพบมากหรือน้อยจนเกินไป ควรใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) คือ and, or, not เพื่อเพิ่มหรือขยายการสืบค้นให้ได้ผลลัพธ์ที่ครอบคลุมกว้างขึ้น
– AND ใช้เชื่อมคำค้น เมื่อต้องการให้สืบค้นรายการที่มีคำทั้งสองคำ ผลการค้นจะได้สารสนเทศจำนวนน้อยลง
– OR ใช้เชื่อมคำค้น ระหว่างคำที่พ้องความหมายกัน หรือความหมายใกล้เคียงกัน ผลการค้นจะได้สารสนเทศจำนวนมากขึ้น
– NOT ใช้เชื่อมคำค้นเมื่อต้องการให้สืบค้นรายการที่มีเฉพาะคำแรกไม่มีคำที่สอง ผลการค้นจะได้สารสนเทศเฉพาะเรื่องแรก ไม่มีเรื่องที่สอง

2. การคัดกรองผลการสืบค้นเมื่อแสดงผลการสืบค้นผู้ใช้อาจเพิ่ม Keyword, กำหนดปีที่พิมพ์ หรือกำหนดประเภทสิ่งพิมพ์ เพื่อให้ได้บทความหรือสารสนเทศที่ต้องต่อความต้องการมากยิ่งขึ้น
3. การวิเคราะห์ผลการสืบค้น ด้วยการจัดเรียงผลลัพธ์ เช่นเรียงตาม Citing Reference, Title, Publication Year เป็นต้น
4. การจัดการผลลัพธ์การสืบค้น เช่น การสั่งพิมพ์ การบันทึก การส่งเข้าอีเมล เป็นต้น

ฐานข้อมูลที่ได้ร่วมอบรมได้แก่
1. ฐานข้อมูล SciFinder
ฐานข้อมูล SciFinder เป็นฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางด้านเคมี ซึ่งในการเข้าใช้ฐานข้อมูล จะต้องทำการลงทะเบียนด้วยอีเมลของมหาวิทยาลัยเท่านั้น จุดเด่นของฐานนี้คือ
1)สืบค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงได้ตลอด
2)สามารถใส่คำค้นเป็นประโยคได้
3)สามารถสืบค้นด้วยการวาดโครงสร้างสารเคมี (Chemical structure) ได้ ดังภาพตัวอย่าง

Chemical structure

Chemical structure

4)สามารถกำหนดคำสืบค้นให้กว้างแล้วค่อยจำกัดให้แคบลงด้วยฟังก์ชั่น Analyze และ Refine ดังภาพตัวอย่าง

SciFinderChemical structure

2. ฐานข้อมูล Ovid

เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ ครอบคลุมข้อมูลย้อนหลังโดยส่วนใหญ่ตั้งแต่ปี 1996 จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยรายการบรรณานุกรม สาระสังเขปพร้อมเอกสารฉบับเต็มในรูปแบบ HTML และ PDF ในการสืบค้นฐานข้อมูล Ovid ผู้ใช้สามารถเลือกวิธีการสืบค้นได้ดังนี้
1)พิมพ์คำสืบค้นลงในช่องสืบค้น ซึ่งสามารถพิมพ์คำสืบค้นเป็นประโยคได้ และคลิกเลือกคำสั่ง Include Related Term เพื่อหาคำเหมือน, ใกล้เคียง หรือสัมพันธ์กัน ซึ่งเมื่อปรากฎผลการสืบค้นจะมีไฮไลท์ปรากฎตรงชื่อบทความ ซึ่งไฮไลท์สีเหลือง คือ คำที่ตรงกับคำค้น ส่วนไฮไลท์สีม่วง คือ คำที่ใกล้เคียง หรือสัมพันธ์กัน

Ovid

Include Related Term

2)Filter by Title เลือกไล่เรียงรายชื่อวารสารตามลำดับตัวอักษร A-Z
3)Filter by Subject เลือกไล่เรียงรายชื่อวารสารตามกลุ่มหัวเรื่อง

Filter by Subject

Filter by Subject

ซึ่งในฐานข้อมูลนี้สามารถทำการกรองผลลัพธ์ให้แคบลงได้ด้วยการเลือกเมนู Filter By โดยกำหนด Relevancy เป็น 5 stars only, 4 or more, 3 or more หรือ 2 or more และยังสามารถกำหนดปีพิมพ์ของบทความ เพื่อจะได้บทความที่ทันสมัยไม่ล่าหลังจนเกินไปได้อีกด้วย

หากบทความที่ต้องการ มีภาพประกอบ ก็สามารถนำภาพดังกล่าวมานำเสนอผ่าน PowerPoint ได้เช่นกัน โดยคลิกที่ภาพสังเกตด้านขวามือ คลิกเลือกคำสั่ง Export to PowerPoint ซึ่งจะมีบรรยายรายละเอียดของภาพให้ด้วย ทั้งนี้เป็นข้อดีในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เป็นอย่างมาก

Export to PowerPoint

Export to PowerPoint

กรณีต้องการนำบทความดังกล่าวไปเขียนเป็น Reference ก็สามารถทำได้โดยง่ายเพียงคลิกเลือกที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าบทความที่ต้องการ เลือกคำสั่ง Export และกำหนด Export Citation List ตามความต้องการ จากนั้นคลิกคำสั่ง Export Citation(s) ผู้ใช้ก็จะได้ Reference ที่ถูกต้อง

Reference

3. ฐานข้อมูล Micromedex
Micromedex 2.0 เป็นฐานข้อมูลทางด้านเภสัชศาสตร์ ครอบคลุมข้อมูลเกี่ยวกับยาทั้งหมด ได้แก่ ชื่อยา องค์ประกอบของยา โครงสร้างทางเคมี ข้อบ่งใช้ ข้อบ่งห้าม ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยากับสิ่งต่างๆ ผลข้างเคียงของยา พิษวิทยา การคำนวณการให้ยาการใช้ยาเพื่อรักษาอาการหรือโรคต่างๆ และการใช้งานทางคลินิก เป็นต้น
รูปแบบการสืบค้นของฐานข้อมูล Micromedex 2.0 ได้แก่
1) Drug Interactions คือ การเกิดปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา
2) IV Compatibility คือ ตรวจสอบชื่อยาว่ายาแต่ละชื่อเข้ากันได้หรือไม่
3) Drug Identification คือ ลักษณะของยา
4) Tox & Drug Product Lookup คือ พิษวิทยาหรืออาการพิษจากการใช้ยา
5) Drug Comparison คือ การเปรียบเทียบยา
6) Calculators คือ การคำนวณการให้ยาแก่ผู้ป่วย หรือ การคำนวณดัชนีมวลกาย
ในการค้นหาชื่อยา หรือข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับยา ในฐานข้อมูล Micromedex 2.0 นั้น เมื่อพิมพ์คำค้นลงในช่องสืบค้น ฐานข้อมูลจะแสดงคำค้นที่มีตัวสะกดเดียวกัน หรือชื่อยาใกล้เคียงกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาให้กับผู้ใช้

Micromedex 2.0

4. Journal Citation Report
เป็นฐานข้อมูลที่ใช้ที่ช่วยในการประเมินคุณค่าของวารสารโดยมีเกณฑ์การ ประเมินมาจากข้อมูลการอ้างอิงของวารสารทางวิชาการ วารสารทางเทคนิค ที่ตีพิมพ์อยู่ทั่วโลก ซึ่งฐานข้อมูล Journal Citation Report (JCR) จะช่วยในเรื่องของการตัดสินใจว่าวารสารใดที่เหมาะสมในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการเรื่องนั้นๆ หรือวารสารใดควรจะเลือกอ่านก่อนเป็นลำดับต้นๆ

Journal Citation Report

ขั้นตอนการใช้ JCR
1) ในส่วนของ Select a JCR edition and year: ให้เลือกหมวดสาขาที่ต้องการ เช่น หมวดวิทยาศาสตร์ (JCR Science Edition) หรือ หมวดสังคมศาสตร์ (JCR Social Science Edition)
2) เลือกรูปแบบการเลือกผลลัพธ์จาก Select an option:
– View a group of journals by เป็นการเรียกรายชื่อวารสารตามกลุ่ม ได้แก่ Subject Category ตามกลุ่มสาขาวิชา Publisher ตามสำนักพิมพ์ และ Country/Territory ตามที่ตั้งของสำนักพิมพ์หรือที่ที่จัดพิมพ์วารสาร
– Search for a specific journal เป็นการค้นหาวารสารตามชื่อที่ต้องการเฉพาะ
– View all journals แสดงวารสารทุกชื่อที่อยู่ในฐานข้อมูล
3) คลิกที่ปุ่ม SUBMIT

Journal Citation Report
4) เลือกสาขาที่ต้องการให้แสดงผลลัพธ์
5) เลือกรูปแบบการแสดงผลลัพธ์ โดยคลิกคำสั่ง View Journal Data และเลือกการจัดเรียงลำดับวารสาร (Sort by) เช่น Journal Title, Impact Factor เป็นต้น
6) คลิกที่ปุ่ม SUBMIT

Journal Citation Report

เมื่อแสดงผลการสืบค้น ผู้ใช้สามารถเลือกการจัดเรียงรายการผลลัพธ์ได้ใหม่ตามความต้องการจาก Sorted by จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Sort Again ซึ่งการแสดงผลลัพธ์จะถูกแบ่งออกเป็นคอลัมน์ดังนี้

– Abbreviated Journal Title รายชื่อวารสารแสดงเป็นชื่อย่อของวารสาร
– หมายเลข ISSN
– Total Cites จำนวนรวมทั้งหมดของการอ้างถึงของปีใน JCR
– Impact Factor แสดงค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งต่อบทความที่ได้รับการอ้างถึงในช่วงสองปีตามปีใน JCR
– 5-Year Impact Factor แสดงค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งต่อบทความที่ได้รับการอ้างถึงในช่วงห้าปี ตามปีใน JCR
– Immediacy Index แสดงค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งต่อบทความที่ได้รับการอ้างถึงเพียงปีเดียวตามปีใน JCR
– Articles จำนวนบทความที่พิมพ์ทั้งหมดของวารสารนั้นในรอบปีตามปีใน JCR
– Cited Half-life จำนวนปีพิมพ์ย้อนหลังไปครึ่งหนึ่งของปีทั้งหมดของวารสารนั้นที่ได้รับการอ้างถึงจากวารสารอื่นหรือวารสารเดียวกันที่ตีพิมพ์อยู่ ณ ปีใน JCR

ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม
1. เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในการสืบค้น, การคัดกรองผล และการวิเคราะห์ผลสืบค้นเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
2. สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติงานจริงกับงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

About

Comments are closed.