Home » Articles posted by Apichai Arayacharoenchai (Page 2)

TK Forum2018 “Creating Better Library: The Unfinished Knowledge”

งานประชุมวิชาการประจำปี TK Forum2018 “Creating Better Library: The Unfinished Knowledge” วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ผู้เข้าร่วมกิจกรรม: นายอภิชัย อารยะเจริญชัย งานประชุมวิชาการของ TK Forum จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี โดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ภายใน สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแนวโน้มนวัตกรรมห้องสมุดและการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากวิทยาการผู้ทรงคุณวุฒิและมากประสบการณ์จากต่างประเทศ
Continue reading

TK Forum2017 “Better Library and Learning Space: Trends and Ideas”

งานประชุมวิชาการประจำปี TK Forum2017 “Better Library and Learning Space: Trends and Ideas” วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมสุโกศล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม – นายอภิชัย อารยะเจริญชัย – นายปิยะนันท์ จำนงสุทธเสถียร งานประชุมครั้งนี้จัดโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ภายใน สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแนวโน้มนวัตกรรมห้องสมุดและการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากวิทยาการผู้ทรงคุณวุฒิและมากประสบการณ์จากต่างประเทศ
Continue reading

ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ (7 ธันวาคม 2559)

ชื่อโครงการ : โครงการเพื่อการเรียนรู้หน่วยงานใต้เบื้องพระยุคลบาท ณ ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ ผู้ร่วมกิจกรรม : นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันที่ : 7 ธันวาคม 2559 สำนักราชเลขาธิการ เป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการในพระองค์พระมหากษัตริย์ จัดตั้งขึ้นในสมับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทบาทและหน้าที่ของสำนักราชเลขาธิการจะปรับเปลี่ยนไปตามพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์และตามนโยบายการบริหารประเทศของแต่ละรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๒๓  สำนักราชเลขาธิการได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำโครงการห้องสมุดสำนักราชเลขาธิการ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่อยู่ในรูปของเอกสารจดหมายเหตุ สิ่งพิมพ์ และไม่ใช่สิ่งพิมพ์ และเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพระบรมราชจักรีวงศ์โดยเฉพาะ ต่อมาได้ยกฐานะเป็นฝ่ายห้องสมุดเฉพาะ สำนักราชเลขาธิการ และศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ ตามลำดับ
Continue reading

การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ (22 กันยายน 2559 : พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ)

การอบรมโครงการความรู้พิพิธภัณฑศึกษาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านพิพิธภัณฑ์ เรื่อง “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ” โดย กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ และ กลุ่มวิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันที่ 22 กันยายน 2559 สถานที่ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จ.ปทุมธานี ศึกษาเรื่อง ศาสตร์พระราชา : การบริหารพิพิธภัณฑ์เพื่อสังคมที่ยั่งยืน โดยเข้าชมและศึกษาการบริหารจัดการของ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) อ้างอิงแนวคิดและทฤษฎีการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านพิพิธภัณฑ์ รวมถึงงานอื่นๆ ได้อย่างลงตัว ศาสตร์พระราชา หรือหลักการทรงงาน สามารถสรุปได้เป็น 23 หัวข้อสำคัญ คือ
Continue reading

การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ (15 กันยายน 2559 : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

การอบรมโครงการความรู้พิพิธภัณฑศึกษาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านพิพิธภัณฑ์ เรื่อง “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ” โดย กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ และ กลุ่มวิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันที่ 15 กันยายน 2559 สถานที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ศึกษาเรื่อง การบริหารองค์กรเพื่อสังคม เมื่อสังคมเจริญก้าวหน้าและมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงเกิดปัญหาด้านต่างๆ ตามมามากมาย และยังมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะจนเกินกว่าที่หน่วยงานของรัฐจะรับมือได้ จึงเกิดองค์กรสาธารณประโยชน์ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อเกิดองค์กรเครือข่ายที่มีเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม ซึ่งกิจการเพื่อสังคมจะมีลักษณะพิเศษและแตกต่างจากองค์กรภาคเอกชนทั่วไป ที่มีเป้าหมายทางธุรกิจเป็นหลัก แตกต่างจากกิจกรรม CSR ตรงที่เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสังคมและเป็นองค์กรที่สร้างรายได้ สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน และนำรายได้กลับมาลงทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป
Continue reading

การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ (8 กันยายน 2559 : หอศิลปฯ กรุงเทพฯ)

การอบรมโครงการความรู้พิพิธภัณฑศึกษาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านพิพิธภัณฑ์ เรื่อง “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ” โดย กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ และ กลุ่มวิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันที่ 8 กันยายน 2559 สถานที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาของครั้งนี้อยู่ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยผู้ร่วมสัมมนาจะต้องเข้าชมและศึกษาการจัดนิทรรศการและเก็บเกี่ยว Content ที่ได้ นำมาอภิปรายร่วมกันเพื่อตกผลึกประเด็นสำคัญ นิทรรศการที่เข้าชมประกอบด้วย นิทรรศการภาพเขียน “ร้อยริ้วสรรพสีสรร” ตำนานชีวิตและสังคม โดย ประเทือง เอมเจริญ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ นิทรรศการ “ตึก” โดยศิลปิน ไตรรัตน์ ศรีบุรินทร์ นิทรรศการ “เดินสู่หนไหน?” โดยศิลปินชาวเกาหลี Koo Youenmo นิทรรศการ “แรงงาน ไม่มีประวัติศาสตร์”...
Continue reading

การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ (1 กันยายน 2559 : วังบางขุนพรหม)

การอบรมโครงการความรู้พิพิธภัณฑศึกษาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านพิพิธภัณฑ์ เรื่อง “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบบูรณาการ” โดย กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ และ กลุ่มวิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันที่ 1 กันยายน 2559 สถานที่ วังบางขุนพรหม ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ประกอบไปด้วยผู้ทำงานด้านพิพิธภัณฑ์ทั้งของภาครัฐและเอกชน อาทิ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ท้องฟ้าจำลอง อพวช. กรมทรัพยากรธรณี และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์พื้นบ้านฯ เป็นต้น ในวันแรกมีการเปิดเสวนาเกี่ยวกับสถานการณ์ของพิพิธภัณฑ์ไทยกับ ICOM : International Council of Museum หรือ สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ โดยวิทยากรผู้ให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์คือ คุณจารุณี อินเฉิดฉาย ผอ.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก และ คุณปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย...
Continue reading

PR ยุคดิจิทัล

กิจกรรมในโครงการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ด้านสื่อสารมวลชน หัวข้อ “PR ยุคดิจิทัล” วิทยากร อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จัดโดย งานสื่อสามวลชน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 ผู้เข้าร่วมสัมมนา นายอภิชัย อารยะเจริญชัย ประเด็นของการบรรยายในครั้งนี้ ผู้จัดต้องการเน้นการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการ PR ในยุคใหม่ที่สื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยผู้ทำงานด้านนี้ส่วนมากยังไม่เข้าใจถึงวิธีการที่ถูกต้องในการนำสื่อเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ แต่มักจะใช้เป็นเพียงเครื่องมือในการถ่ายทอดสารออกไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยไม่ได้คำนึงถึงพฤติกรรมของผู้รับสาร สถานะทางสังคม อุปนิสัย จิตวิทยา ฯลฯ หรือแม้กระทั่งตัวหน่วยงานที่ต้องการกระจายข่าวสารออกไป เพราะในโลกยุคใหม่การส่งสารแบบทางเดียวหรือสองทางนั้นอาจไม่เพียงแล้ว การเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้รับสารและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปจะช่วยให้การประชาสัมพันธ์เกิดผลที่ดีตรงตามวัตถุประสงค์มากขึ้น
Continue reading

7 ปี StangLibrary’s blog

ครบ 7 ปี แล้วสำหรับ blog ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข มีสถิติต่างๆ ที่น่าสนใจมาเล่าสู่ถึงกัน นับถึงล่าสุดวันนี้ (4 พ.ย. 2557) มีการโพสต์รวมทั้งสิ้น 459 รายการ มีคนเข้ามาแสดงความเห็น รวม 370 รายการ ยอดผู้เข้าชมทั้งหมด 481,106 ราย เดือนที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดคือ เดือนมกราคม 2557 จำนวน 16,086 ราย ปีที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดคือ ปี 2556 จำนวน 120,880 ราย ขณะที่ยังไม่ครบปี 2557 ก็ได้ยอดรวม 128,253 ราย “คำค้น” ที่เจอที่ StangฺBlog มากสุด 1. plagiasirm คือ   ...
Continue reading

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ฯ : พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ฯ

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๔ ศุกร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ณ พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินานาถ มิวเซียมแห่งนี้เปิดดำเนินการโดยใช้ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในเขตพระราชฐานชั้นนอก อาคารแห่งนี้เป็นอาคารโบราณสร้างมาตั้งแต่ต้นกรุง มาปรับปรุงและเพิ่มเติมครั้งใหญ่ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ ทำหน้าที่เป็นที่ทำการกรมพระคัลงมหาสมบัติ คือจัดการด้านภาษีอากร ต่อมาก็ขยับขยายเป็นสำนักงานของหน่วยงานอื่นๆ อีก ๔ แห่ง คือ สำนักงานธนาคารชาติไทย กรมธนารักษ์ ราชบัณฑิตยสถาน และกองราชพิธี อยู่มาหน่วยงานเหล่านี้ก็แยกย้ายออกไป อาคารจึงว่างเปล่า จนถึงปี ๒๕๔๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นอาคารสำหรับมิวเซียมแห่งนี้ แต่กว่าจะเปิดอย่างเป็นทางการก็เมื่อปี ๒๕๕๕
Continue reading