Home » Archive by category บรรณารักษ์ (Page 2)

การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐาน RDA (Resource Description & Access)

วิทยากร       คุณนันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์ รองผู้อำนวยการสำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่อบรม    วันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2559 สถานที่         ห้องสื่อโสตทัศน์ ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้เข้าอบรม :  นางสาวณิชดาภา อัจฉริยสุชา, นางสาวกนกพร งามสว่างรุ่งโรจน์   ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA RDA – มาจากคำว่า Resource Description and Access หมายถึง มาตรฐานการลงรายการและการเข้าถึงทรัพยากรในรูปแบบดิจิทัล เริ่มใช้เมื่อปี ค.ศ.1997 เป็นมาตรฐานการลงรายการรูปแบบใหม่ ที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดิจิทัล เพื่อมาแทนที่มาตรฐานการลงรายการ AACR2 ใช้สำหรับลงรายการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์และวัสดุอื่น ๆในห้องสมุด รวมถึงชุมชนอื่นๆ เช่น พิพิธภัณฑ์, หอศิลป์/ห้องแสดงงานศิลปะ, หอจดหมายเหตุ, สำนักพิมพ์...
Continue reading

การพัฒนาศักยภาพของบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล

จัดโดย ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ณ ห้องประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ชั้น 3 อาคาร B ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ข้างสถานฑูตจีน) กรุงเทพมหานคร วันที่ 29 สิงหาคม 2559 เวลา 08.30 – 16.30 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1. นางสาวรัตน์ชนก ยอดพินิจ 2. นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา การบรรยาย เรื่อง “เสริมสร้างการเรียนรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) โดย คุณภาวัช ทองเนื้อแปด และคุณวัชราวลี ดาโต๊ะ   สิ่งที่จะเกิดในอนาคต… ความท้าทายในอนาคต สังคมผู้สูงอายุ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ในปี 2568 โดยจะมีคนอายุเกิน...
Continue reading

แนวคิดการผลิตแบบลีนเพื่อมุ่งสู่ลีน (Lean Manufacturing)

วิทยากร ผศ.ดร. สมศักดิ์ แดงติ๊บ จัดโดย งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ ณ ห้องประชุมใหญ่ K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล วันที่ 31 มีนาคม 2559 ผู้เข้าร่วมสัมมนา วรัษยา สุนทรศารทูล, เฉลิมพันธุ์ ตาทิพย์ เปรียบเทียบระบบการผลิตในแต่ละยุค 1. Craft – ทำทีละชิ้น เป็นการทำธุรกิจขนาดเล็ก สินค้ามีไม่หลากหลาย ลูกค้าไม่มีทางเลือก 2. Mass – ผลิตครั้งละมากๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิต ตรวจสอบคุณภาพได้ด้วยการสุ่มตรวจ 3. Lean – ผลิตเท่าที่จำเป็น มุ่งไปที่มุมมองของลูกค้า เน้นเพิ่ม “คุณค่า” ให้สินค้า หยุดกระบวนการทันที หากพบข้อผิดพลาด ทำให้กระบวนการผลิตมีความยืดหยุ่น Lean Manufacturing...
Continue reading

โครงการเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 29

ในหัวข้อ “การบริหารสินทรัพย์ความรู้ (knowledge assets)” วันที่ 7-9 กันยายน 2558 ณ อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1) นางสาววรัษยา สุนทรศารทูล 2) นายอภิชัย อารยะเจริญชัย กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย ช่วงเช้า การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การบริหารสินทรัพย์ความรู้ (knowledge assets)” วิทยากร อาจารย์ธวัชชัย หล่อวิจิตร จากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ วิทยากรเล่าว่า การจัดการความรู้ต้องมี output และ outcome ที่ชัดเจน มีองค์ความรู้เพิ่ม ต้องพิจารณาว่าความรู้ประเภทไหนที่เป็นความเสี่ยงมากหรือน้อย ที่เสี่ยงมากควรเริ่มทำ KM ก่อน สำหรับรูปแบบการถ่ายทอด เรื่องใดที่ถ่ายถอดยากน่าจะมีความเสี่ยงสูงกว่า ควรพิจารณาทำก่อน การที่จะรู้ว่า “มีความรู้หรือไม่” ต้องมีการวัด วิธีวัดวัดอย่างไร...
Continue reading

ประชุมคณะทำงานพัฒนาและส่งเสริมบริการสารสนเทศ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2558 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล  ตัวแทนผู้เข้าประชุม นายเฉลิมพันธุ์ ตาทิพย์ นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา สรุปสำระสำคัญที่เกี่ยวข้อง 1.    การนำเสนอผลงานการจัดทำ R2R สำนักงานเครือข่ายบริการห้องสมุด ทางหอสมุดฯ ได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมจัดทำ R2R (Routine for Research) หรือการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย เพื่อส่งผลงานเข้าร่วมในงาน Mahidol R2R EXPO 2015 ที่กำลังจะมาถึงในช่วงเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ R2R คือ การนำเอากระบวนการวิจัยเข้ามาใช้แก้ปัญหาในงานประจำอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีหัวใจสำคัญ คือ การพัฒนางานพร้อมกับการพัฒนาคน โดยไม่หลงติดกับคำว่า “วิจัย” เพราะ R2R เป็นเครื่องมือ ไม่ใช่เป้าหมาย สำหรับประโยชน์จากการทำ...
Continue reading

การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (ตอนที่ 2)

“ห้องสมุด” กับ “การตลาด” ขอดเกล็ดความรู้มาจากการประชุมวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (Connecting Knowledge: Library, New Media & Technology) (ข้อเขียนนี้ดึงแนวคิดสำคัญจากการร่วมสัมมนาออกมา รายละเอียดดูและขยายความรู้ต่อได้จากสไลด์ของวิทยากรด้านท้าย และมีการเพิ่มเติมความรู้จากแหล่งอื่นๆ ด้วยเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น) หนึ่งในการสัมมนาครั้งนี้ที่มีการหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้งคือการดำเนินกิจการของห้องสมุดภายใต้กรอบความคิดทางการตลาด เมื่อพูดถึงการตลาด คนส่วนใหญ่มักคิดถึงกิจกรรมทางธุรกิจที่มุ่งเป้าเพื่อผลกำไรทางการค้า แต่ความจริงแล้วการตลาดอยู่ใกล้ชิดกับเรามากกว่าที่คิด การตลาดอยู่รอบตัวเราตั้งแต่เกิดจนตาย กับห้องสมุดแล้ว การตลาดเข้ามามีบทบาทอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และในช่วงเวลาที่ก่อให้เกดความคลางแคลงใจต่อการมีอยู่ของห้องสมุด การตลาดนิ่งมีส่วนสำคัญในการดำรงอยู่ของห้องสมุดมากยิ่งขึ้น ทุกคนพยักหน้ากันอย่างพร้อมเพรียงเมื่อถูกถามว่าการตลาดสำคัญต่อห้องสมุดใช่ไหม แต่มีไม่กี่คนที่บอกได้ว่าแล้วตกลงห้องสมุดของท่านนำกลยุทธ์ทางการตลาดอะไรมาปรับใช้
Continue reading

ศึกษาดูงานกลุ่มงานเทคนิคห้องสมุด ณ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน กลุ่มงานเทคนิคห้องสมุด ณ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) วันที่ 21 พฤษภาคม 2557 เวลา 9.00 – 16.00 น.   ผู้เข้าร่วมกิจกรรม นางสาวกนกพร งามสว่างรุ่งโรจน์             จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรม การศึกษาดูงานกลุ่มงานเทคนิคห้องสมุด ณ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับคณะบุคลากรของหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล มีกิจกรรมดังนี้ ช่วงเช้า มีการกล่าวต้อนรับจากวิทยากรของสำนักบรรณสารการพัฒนา ณ ห้องประชุมสำนักบรรณสารการพัฒนา จากนั้นแนะนำสำนักบรรณสารการพัฒนา ได้แก่ ประวัติ วิสัยทัศน์ โครงสร้างขององค์กร ความร่วมมือของสำนักบรรณสารการพัฒนากับหน่วยงานภายนอก และขอบเขตภาระหน้าที่ต่างๆ ของกลุ่มงานเทคนิคห้องสมุด ช่วงบ่าย มีการประชาสัมพันธ์การเปิดให้บริการของ “ห้องสมุดอาเซียน ถนัด คอมันตร์”ซึ่งจะเปิดให้บริการในวันที่ 5 มิถุนายน...
Continue reading

การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (ตอนที่ 1)

การประชุมวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร 2557 การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (Connecting Knowledge: Library, New Media & Technology) ผู้เข้าร่วมสัมมนา: อภิชัย อารยะเจริญชัย โดยทั่วไปหากมีการประชุมเรื่องทำนองนี้ เรามักได้ข้อมูลหรือข้อคิดเห็นจากฝ่ายห้องสมุดเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าใครจัดก็มักจะเชิญวิทยากรที่มาจากวงการห้องสมุด สิ่งที่ได้รับคือคำถามเดิมๆ คำตอบเดิมๆ  แนวคิดเดิมๆ เปรียบเหมือนการส่องกระจก ส่องทีไรก้เห็นแต่ตัวเอง ถ้า “ยอมรับ” ตัวเองได้ก็ดีไป แต่ข้อเสียหนักๆ คือห้องสมุดจะได้คำตอบหรือมุมมองจากคนห้องสมุด รู้เรา แต่ไม่รู้เขา ไม่รู้โลก ไม่รู้ผู้ใช้ ก็จะไม่ต่างอะไรกับการพายเรือวนในอ่าง วนไปวนมาสิบกว่าปีก็ยังอยู่ที่เดิม แม้การประชุมครั้งนี้จะได้รับเกียรติจากวิทยากรที่อยู่ในแวดวงห้องสมุดเหมือนเคย ตามหน้าตาของเจ้าภาพ แต่ไม่แออัดเท่าครั้งก่อนๆ เมื่อดูรายชื่อวิทยากรแล้วพบว่ามาจากหลายวงการที่ล้วนแต่มีความเชื่อมโยงกับห้องสมุดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ ผศ. (พิเศษ) ดร. เนตร หงษ์ไกรเลิศ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร....
Continue reading

สรุปการอบรมบรรยายเรื่อง “การตรวจสอบภายในยุคใหม่”

สรุปการอบรมบรรยายเรื่อง “การตรวจสอบภายในยุคใหม่” วันพฤหัสบดี ที่ 6 มีนาคม 2557 วิทยากร : นายสุรพงษ์ ชูรังศฤษฎิ์   ผู้เข้าร่วมอบรม นางสาวภัคจิรา วงศ์กิจเจริญ, นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา และนายครรชิต บุญเรือง             การตรวจสอบภายในนั้น เริ่มแรกเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ สืบเนื่องจากการบริหารจัดการด้วยตัวเองเพียงลำพังไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงได้มีการตรวจสอบภายในขึ้นมา หลังจากนั้น จึงเกิดเป็นกระแสโลกในเรื่องของ Governance ซึ่งเป็นเรื่องของความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน สามารถธิบาย และตรวจสอบงานที่ทำอยู่ได้ เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์ หลังจากนั้นจึงเกิดเป็น “กฎหมาย” ประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน 1. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ หากการทำงานมีการกำกับดูแลที่ดี ใส่ใจรายละเอียด ก็จะส่งผลให้ธุรกิจนั้นมีความมั่นคง และเกิดผลกำไร 2. ส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ (Accountability) แบ่งความรับผิดชอบงานที่ชัดเจน ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้...
Continue reading

ทักษะในศตวรรษที่ 21 และการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถาบันอุดมศึกษา

ชื่อกิจกรรม: ทักษะในศตวรรษที่ 21 และการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถาบันอุดมศึกษา วันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2557 ณ. ศูนย์การเรียนรู้มหิดล วิทยากร: ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช            เรื่องของ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการพูดถึงกันมามากในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา คีย์แมนสำคัญท่านหนึ่งคือ อาจารย์วิจารณ์ พานิช ก็เป็นชาวมหิดล โดยท่านเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนยุคใหม่ให้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่านี้ แต่คำถามสำคัญคือเมื่อไหร่เราจึงจะเห็นอะไรสักอย่างที่เป็นรูปธรรมเสียที            แนวคิดนี้ถูกนำเสนอขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่แล้ว ในหลายๆ ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบางครั้งก็เป็นการดำเนินการไปในแนวทางนี้โดยที่ไม่รู้ตัว ไม่ได้อ้างอิงทฤษฎีใดๆ หรือแนวคิดใดๆ เพียงแต่ดำเนินการไปตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและของตัวผู้เรียนและผู้สอน อย่างเช่นกรณีของประเทศสิงคโปร์ ที่มีการจัดระบบความคิดเรื่องการศึกษาที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ เอาแค่ในระดับเอเชียหรืออาเซียนนี่ก็ได้ ทำไมสิงคโปร์จึงติดอันดับท็อปเสมอเมื่อมีการจัด Ranking  ด้านการศึกษา สิงคโปร์ไม่ใช่เป็นหัวหอกในแนวคิดนี้ แต่สิงคโปร์ทำไปก่อนล่วงหน้า อาจจะเรียกว่าสัญชาตญาณก็คงไม่ผิดนัก            ย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย หากแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ นักวิชาการ นักการศึกษา...
Continue reading