การนำเสนอข้อมูลห้องสมุดในรูปแบบ Infographic ครั้งที่ 1/2557

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2557 เวลา 10.00 -12.00 น. ณ ห้องสมุดมารวย สาขาเอสพละนาด (ศูนย์การค้าเอสพละนาด รัชดาภิเษก ชั้น 2) วิทยากร : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ ผู้ร่วมกิจกรรม เฉิดฉันทร์ ราชบุรณะ, นุชสรา บุญครอง                                               แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Infographic...
Continue reading

การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (ตอนที่ 2)

“ห้องสมุด” กับ “การตลาด” ขอดเกล็ดความรู้มาจากการประชุมวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (Connecting Knowledge: Library, New Media & Technology) (ข้อเขียนนี้ดึงแนวคิดสำคัญจากการร่วมสัมมนาออกมา รายละเอียดดูและขยายความรู้ต่อได้จากสไลด์ของวิทยากรด้านท้าย และมีการเพิ่มเติมความรู้จากแหล่งอื่นๆ ด้วยเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น) หนึ่งในการสัมมนาครั้งนี้ที่มีการหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้งคือการดำเนินกิจการของห้องสมุดภายใต้กรอบความคิดทางการตลาด เมื่อพูดถึงการตลาด คนส่วนใหญ่มักคิดถึงกิจกรรมทางธุรกิจที่มุ่งเป้าเพื่อผลกำไรทางการค้า แต่ความจริงแล้วการตลาดอยู่ใกล้ชิดกับเรามากกว่าที่คิด การตลาดอยู่รอบตัวเราตั้งแต่เกิดจนตาย กับห้องสมุดแล้ว การตลาดเข้ามามีบทบาทอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และในช่วงเวลาที่ก่อให้เกดความคลางแคลงใจต่อการมีอยู่ของห้องสมุด การตลาดนิ่งมีส่วนสำคัญในการดำรงอยู่ของห้องสมุดมากยิ่งขึ้น ทุกคนพยักหน้ากันอย่างพร้อมเพรียงเมื่อถูกถามว่าการตลาดสำคัญต่อห้องสมุดใช่ไหม แต่มีไม่กี่คนที่บอกได้ว่าแล้วตกลงห้องสมุดของท่านนำกลยุทธ์ทางการตลาดอะไรมาปรับใช้
Continue reading

ศึกษาดูงานกลุ่มงานเทคนิคห้องสมุด ณ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน กลุ่มงานเทคนิคห้องสมุด ณ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) วันที่ 21 พฤษภาคม 2557 เวลา 9.00 – 16.00 น.   ผู้เข้าร่วมกิจกรรม นางสาวกนกพร งามสว่างรุ่งโรจน์             จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรม การศึกษาดูงานกลุ่มงานเทคนิคห้องสมุด ณ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับคณะบุคลากรของหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล มีกิจกรรมดังนี้ ช่วงเช้า มีการกล่าวต้อนรับจากวิทยากรของสำนักบรรณสารการพัฒนา ณ ห้องประชุมสำนักบรรณสารการพัฒนา จากนั้นแนะนำสำนักบรรณสารการพัฒนา ได้แก่ ประวัติ วิสัยทัศน์ โครงสร้างขององค์กร ความร่วมมือของสำนักบรรณสารการพัฒนากับหน่วยงานภายนอก และขอบเขตภาระหน้าที่ต่างๆ ของกลุ่มงานเทคนิคห้องสมุด ช่วงบ่าย มีการประชาสัมพันธ์การเปิดให้บริการของ “ห้องสมุดอาเซียน ถนัด คอมันตร์”ซึ่งจะเปิดให้บริการในวันที่ 5 มิถุนายน...
Continue reading

การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (ตอนที่ 1)

การประชุมวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร 2557 การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (Connecting Knowledge: Library, New Media & Technology) ผู้เข้าร่วมสัมมนา: อภิชัย อารยะเจริญชัย โดยทั่วไปหากมีการประชุมเรื่องทำนองนี้ เรามักได้ข้อมูลหรือข้อคิดเห็นจากฝ่ายห้องสมุดเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าใครจัดก็มักจะเชิญวิทยากรที่มาจากวงการห้องสมุด สิ่งที่ได้รับคือคำถามเดิมๆ คำตอบเดิมๆ  แนวคิดเดิมๆ เปรียบเหมือนการส่องกระจก ส่องทีไรก้เห็นแต่ตัวเอง ถ้า “ยอมรับ” ตัวเองได้ก็ดีไป แต่ข้อเสียหนักๆ คือห้องสมุดจะได้คำตอบหรือมุมมองจากคนห้องสมุด รู้เรา แต่ไม่รู้เขา ไม่รู้โลก ไม่รู้ผู้ใช้ ก็จะไม่ต่างอะไรกับการพายเรือวนในอ่าง วนไปวนมาสิบกว่าปีก็ยังอยู่ที่เดิม แม้การประชุมครั้งนี้จะได้รับเกียรติจากวิทยากรที่อยู่ในแวดวงห้องสมุดเหมือนเคย ตามหน้าตาของเจ้าภาพ แต่ไม่แออัดเท่าครั้งก่อนๆ เมื่อดูรายชื่อวิทยากรแล้วพบว่ามาจากหลายวงการที่ล้วนแต่มีความเชื่อมโยงกับห้องสมุดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ ผศ. (พิเศษ) ดร. เนตร หงษ์ไกรเลิศ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร....
Continue reading

สรุปการอบรมบรรยายเรื่อง “การตรวจสอบภายในยุคใหม่”

สรุปการอบรมบรรยายเรื่อง “การตรวจสอบภายในยุคใหม่” วันพฤหัสบดี ที่ 6 มีนาคม 2557 วิทยากร : นายสุรพงษ์ ชูรังศฤษฎิ์   ผู้เข้าร่วมอบรม นางสาวภัคจิรา วงศ์กิจเจริญ, นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา และนายครรชิต บุญเรือง             การตรวจสอบภายในนั้น เริ่มแรกเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ สืบเนื่องจากการบริหารจัดการด้วยตัวเองเพียงลำพังไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงได้มีการตรวจสอบภายในขึ้นมา หลังจากนั้น จึงเกิดเป็นกระแสโลกในเรื่องของ Governance ซึ่งเป็นเรื่องของความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน สามารถธิบาย และตรวจสอบงานที่ทำอยู่ได้ เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์ หลังจากนั้นจึงเกิดเป็น “กฎหมาย” ประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน 1. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ หากการทำงานมีการกำกับดูแลที่ดี ใส่ใจรายละเอียด ก็จะส่งผลให้ธุรกิจนั้นมีความมั่นคง และเกิดผลกำไร 2. ส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ (Accountability) แบ่งความรับผิดชอบงานที่ชัดเจน ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้...
Continue reading

สรุปการประชุมคณะทำงานพัฒนางานเทคนิคห้องสมุด ครั้งที่ 2/2557

สรุปการประชุมคณะทำงานพัฒนางานเทคนิคห้องสมุด ครั้งที่ 2/2557 วันพุธที่ 23 เมษายน 2557  เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล  ตัวแทนผู้เข้าประชุม  ณิชดาภา อัจฉริยสุชา 1. เรื่องแจ้งเพื่อทราบ – จากการประชุมประกันคุณภาพห้องสมุด ได้ให้มุมมองการเตรียมอัตรากำลังของฝ่ายงาน เนื่องจากมีผู้ปฏิบัติงานอยู่ในช่วงอายุงาน (ช่วงใกล้เกษียณ) จำนวนมาก และปัจจุบันมีบุคลากรอยู่ในช่วงอายุ 25-26 ปีหรือเป็นผู้ทำงานใหม่ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุด – มีการย้ายฝ่ายงาน หรือแผนก ทำให้บุคลากรห้องสมุดขาดไปจำนวน 3 ราย ทำให้ต้องมีการปรับภาระงานอีกครั้งหนึ่ง – มีการอบรม Mahidol IR ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2557 – เรื่อง DOI ที่ประชุมแจ้งว่า เนื่องจากมีการประชุมกับผู้อำนวยการหอสมุดฯ...
Continue reading

ทักษะในศตวรรษที่ 21 และการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถาบันอุดมศึกษา

ชื่อกิจกรรม: ทักษะในศตวรรษที่ 21 และการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถาบันอุดมศึกษา วันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2557 ณ. ศูนย์การเรียนรู้มหิดล วิทยากร: ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช            เรื่องของ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการพูดถึงกันมามากในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา คีย์แมนสำคัญท่านหนึ่งคือ อาจารย์วิจารณ์ พานิช ก็เป็นชาวมหิดล โดยท่านเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนยุคใหม่ให้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่านี้ แต่คำถามสำคัญคือเมื่อไหร่เราจึงจะเห็นอะไรสักอย่างที่เป็นรูปธรรมเสียที            แนวคิดนี้ถูกนำเสนอขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่แล้ว ในหลายๆ ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบางครั้งก็เป็นการดำเนินการไปในแนวทางนี้โดยที่ไม่รู้ตัว ไม่ได้อ้างอิงทฤษฎีใดๆ หรือแนวคิดใดๆ เพียงแต่ดำเนินการไปตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและของตัวผู้เรียนและผู้สอน อย่างเช่นกรณีของประเทศสิงคโปร์ ที่มีการจัดระบบความคิดเรื่องการศึกษาที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ เอาแค่ในระดับเอเชียหรืออาเซียนนี่ก็ได้ ทำไมสิงคโปร์จึงติดอันดับท็อปเสมอเมื่อมีการจัด Ranking  ด้านการศึกษา สิงคโปร์ไม่ใช่เป็นหัวหอกในแนวคิดนี้ แต่สิงคโปร์ทำไปก่อนล่วงหน้า อาจจะเรียกว่าสัญชาตญาณก็คงไม่ผิดนัก            ย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย หากแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ นักวิชาการ นักการศึกษา...
Continue reading

สัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้ปฏิบัติงานงานบริการยืม-คืนสาหรับเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล

สัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้ปฏิบัติงานงานบริการยืม-คืนสาหรับเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล วันอังคารที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗ เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องอบรมชั้น ๓ อาคารหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย  นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา              เพื่อทบทวนหรือปรับวิธีการทางาน ตามกฎ/ระเบียบ/ข้อตกลง/แนวทาง ที่มีเป็นหลักในการปฏิบัติงานร่วมกันตามหัวข้อสัมมนา คือ 1. Mark Lost Items และการจัดการหนังสือหาย/ชารุด 2. การดาเนินการระเบียนสมาชิก -การสร้างระเบียนสมาชิกใหม่ แต่พบว่าเป็นสมาชิกห้องสมุดอื่นในเครือข่ายอยู่แล้ว -การสมัครสมาชิกมาทางอินเตอร์เน็ต -การต่ออายุสมาชิกห้องสมุด บุคลากร/นักศึกษา 3. การดาเนินการยืม-คืนหนังสือ -การให้ยืมหนังสือสา หรับอาจารย์/ลูกค้าพิเศษด้วย change due date/override blocks -การให้ยืมหนังสือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่น (ILL)/หน่วยงานที่มีข้อตกลงกัน -การรับคืนย้อนหลัง ด้วย Back date และมีค่าปรับเกินกาหนด...
Continue reading

ร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การจัดทำสมรรถนะเฉพาะในสายอาชีพ (Functional Competency)

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การจัดทำสมรรถนะเฉพาะในสายอาชีพ (Functional Competency) มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะที่ 2 รุ่นที่ 7” ของบุคลากรในวิชาชีพนักวิชาการคอมพิวเตอร์/นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ วันอังคารที่ 25 มีนาคม 2557 เวลา 8.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ ชั้น 1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) วิทยากร : ผศ.ดร.จิตรลดา อมรวัฒนา  และทีมงานกองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมประชุม นางสาวนุชสรา บุญครอง       ช่วงที่ 1  : ผศ.ดร.จิตรลดา ได้ทบทวนองค์ประกอบของสมรรถนะหลักๆ และยกตัวอย่างบุคคลที่มีชื่อเสียงเช่น คุณโก๊ะตี๋ ดารา/นักแสดง/พิธีกร ชื่อดังที่ประสบความสำเร็จในการทำงานทั้งในวงการบัยเทิงและธุรกิจ ทั้งๆที่ไม่ได้จบมาทางด้านนิเทศศาสตร์ หรือบริหารธุรกิจ??? ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนต่างแสดงความคิดเห็น...
Continue reading

สรุปการประชุมบุคลากรงานเทคนิคห้องสมุด ครั้งที่ 1/2557

สรุปการประชุมบุคลากรงานเทคนิคห้องสมุด ครั้งที่ 1/2557 วันอังคารที่  3 มีนาคม 2557 เวลา 9.00- 12.00 น . ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล โดย นางสาวณิชดาภา อัจฉริยสุชา      จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. เรื่องแจ้งเพื่อทราบ 1.1 แนะนำบุคลากรใหม่ในงานเทคนิคห้องสมุด – ระวิภร (งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ) – วราภรณ์ (งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ) 1.2 การปรับเปลี่ยนหัวหน้าฝ่ายงานต่าง ๆ และหัวหน้าห้องสมุดคณะ – งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ หัวหน้าคือ  คุณรัชนี – ห้องสมุดคณะสิ่งแวดล้อม ฯ หัวหน้าคือ คุณกาญจน์สิริ – ห้องสมุดวิทยาลัยราชสุดา หัวหน้าคือ คุณประมวล...
Continue reading