Home » Articles posted by Apichai Arayacharoenchai (Page 3)

การเสวนาวิชาการจดหมายเหตุ: เบื้องหลังการวบรวมต้นฉบับหนังสือผู้ประศาสน์การและอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การเสวนาวิชาการจดหมายเหตุ เบื้องหลังการวบรวมต้นฉบับหนังสือผู้ประศาสน์การและอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2477-2556): ประวัติชีวิต ความคิด และการทำงาน และเปิดตัวหนังสือ ธรรมศาสตรานุกรม 80 ปี (พ.ศ. 2477-2557) จัดโดย หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2557 ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องด้วยในปี พ.ศ. 2557 นับเป็นปีที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาปนามาครบรอบ 80 ปี โดยได้เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ มีศิษย์เก่ามากมายที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ ของสังคมไทย โดยเฉพาะแวดวงการเมืองการปกครอง หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้จัดทำหนังสือเพื่อเป็นที่ระลึกแห่งการสถาปนา และเพื่อเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของมหาวิทยาลัยไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง จุดมุ่งหมายในการเข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้คือการไปเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานของคณะทำงานของหนังสือเล่มนี้ เพราะ หน่วยจดหมายเหตุฯ คณะวิทยาศาสตร์ มีแนวคิดที่จะจัดทำหนังสือในทำนองนี้อยู่เหมือนกัน...
Continue reading

การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (ตอนที่ 2)

“ห้องสมุด” กับ “การตลาด” ขอดเกล็ดความรู้มาจากการประชุมวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (Connecting Knowledge: Library, New Media & Technology) (ข้อเขียนนี้ดึงแนวคิดสำคัญจากการร่วมสัมมนาออกมา รายละเอียดดูและขยายความรู้ต่อได้จากสไลด์ของวิทยากรด้านท้าย และมีการเพิ่มเติมความรู้จากแหล่งอื่นๆ ด้วยเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น) หนึ่งในการสัมมนาครั้งนี้ที่มีการหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้งคือการดำเนินกิจการของห้องสมุดภายใต้กรอบความคิดทางการตลาด เมื่อพูดถึงการตลาด คนส่วนใหญ่มักคิดถึงกิจกรรมทางธุรกิจที่มุ่งเป้าเพื่อผลกำไรทางการค้า แต่ความจริงแล้วการตลาดอยู่ใกล้ชิดกับเรามากกว่าที่คิด การตลาดอยู่รอบตัวเราตั้งแต่เกิดจนตาย กับห้องสมุดแล้ว การตลาดเข้ามามีบทบาทอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และในช่วงเวลาที่ก่อให้เกดความคลางแคลงใจต่อการมีอยู่ของห้องสมุด การตลาดนิ่งมีส่วนสำคัญในการดำรงอยู่ของห้องสมุดมากยิ่งขึ้น ทุกคนพยักหน้ากันอย่างพร้อมเพรียงเมื่อถูกถามว่าการตลาดสำคัญต่อห้องสมุดใช่ไหม แต่มีไม่กี่คนที่บอกได้ว่าแล้วตกลงห้องสมุดของท่านนำกลยุทธ์ทางการตลาดอะไรมาปรับใช้
Continue reading

การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (ตอนที่ 1)

การประชุมวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร 2557 การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (Connecting Knowledge: Library, New Media & Technology) ผู้เข้าร่วมสัมมนา: อภิชัย อารยะเจริญชัย โดยทั่วไปหากมีการประชุมเรื่องทำนองนี้ เรามักได้ข้อมูลหรือข้อคิดเห็นจากฝ่ายห้องสมุดเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าใครจัดก็มักจะเชิญวิทยากรที่มาจากวงการห้องสมุด สิ่งที่ได้รับคือคำถามเดิมๆ คำตอบเดิมๆ  แนวคิดเดิมๆ เปรียบเหมือนการส่องกระจก ส่องทีไรก้เห็นแต่ตัวเอง ถ้า “ยอมรับ” ตัวเองได้ก็ดีไป แต่ข้อเสียหนักๆ คือห้องสมุดจะได้คำตอบหรือมุมมองจากคนห้องสมุด รู้เรา แต่ไม่รู้เขา ไม่รู้โลก ไม่รู้ผู้ใช้ ก็จะไม่ต่างอะไรกับการพายเรือวนในอ่าง วนไปวนมาสิบกว่าปีก็ยังอยู่ที่เดิม แม้การประชุมครั้งนี้จะได้รับเกียรติจากวิทยากรที่อยู่ในแวดวงห้องสมุดเหมือนเคย ตามหน้าตาของเจ้าภาพ แต่ไม่แออัดเท่าครั้งก่อนๆ เมื่อดูรายชื่อวิทยากรแล้วพบว่ามาจากหลายวงการที่ล้วนแต่มีความเชื่อมโยงกับห้องสมุดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ ผศ. (พิเศษ) ดร. เนตร หงษ์ไกรเลิศ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร....
Continue reading

ทักษะในศตวรรษที่ 21 และการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถาบันอุดมศึกษา

ชื่อกิจกรรม: ทักษะในศตวรรษที่ 21 และการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถาบันอุดมศึกษา วันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2557 ณ. ศูนย์การเรียนรู้มหิดล วิทยากร: ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช            เรื่องของ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการพูดถึงกันมามากในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา คีย์แมนสำคัญท่านหนึ่งคือ อาจารย์วิจารณ์ พานิช ก็เป็นชาวมหิดล โดยท่านเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนยุคใหม่ให้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่านี้ แต่คำถามสำคัญคือเมื่อไหร่เราจึงจะเห็นอะไรสักอย่างที่เป็นรูปธรรมเสียที            แนวคิดนี้ถูกนำเสนอขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่แล้ว ในหลายๆ ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบางครั้งก็เป็นการดำเนินการไปในแนวทางนี้โดยที่ไม่รู้ตัว ไม่ได้อ้างอิงทฤษฎีใดๆ หรือแนวคิดใดๆ เพียงแต่ดำเนินการไปตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและของตัวผู้เรียนและผู้สอน อย่างเช่นกรณีของประเทศสิงคโปร์ ที่มีการจัดระบบความคิดเรื่องการศึกษาที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ เอาแค่ในระดับเอเชียหรืออาเซียนนี่ก็ได้ ทำไมสิงคโปร์จึงติดอันดับท็อปเสมอเมื่อมีการจัด Ranking  ด้านการศึกษา สิงคโปร์ไม่ใช่เป็นหัวหอกในแนวคิดนี้ แต่สิงคโปร์ทำไปก่อนล่วงหน้า อาจจะเรียกว่าสัญชาตญาณก็คงไม่ผิดนัก            ย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย หากแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ นักวิชาการ นักการศึกษา...
Continue reading

ลาพักผ่อนประจำปี…ลั้นลาได้ 30 วัน!

ครั้งที่แล้วผู้เขียนได้นำเสนอ หลักเกณฑ์การลาป่วย ลากิจส่วนตัว และลาคลอดบุตร ลายังไง ยังได้เงินเดือน ครั้งนี้มาว่ากันต่อเรื่อง การลาพักผ่อนประจำปีกันดีกว่าค่ะ แต่ละปีในปฏิทินจะมีตัวเลขสีแดงๆ บอกถึงวันหยุดนักขัตฤกษ์ และบางเดือนจะมีวันหยุดยาวรวมกับวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ กลายเป็น Long Weekend ที่ทำให้พนักงานมหาวิทยาลัยอย่างเราสดชื่นกันเลยทีเดียว เพราะหลายคนคงมีการวางแผนที่จะไปเที่ยวกันนั่นเอง ไหนๆก็หยุดยาวทั้งที อยากจะลางานมากกว่านี้ ไม่เกิน 10 วัน พนักงานมหาวิทยาลัยสามารถใช้สิทธิวันลาพักผ่อนประจำปีได้นะคะ แล้วหลักเกณฑ์เป็นอย่างไร ใช้อย่างไรไปดูกันคะ
Continue reading

“ป่วย กิจ คลอด” … ลาอย่างไร ยังได้เงินเดือน

พนักงานมหาวิทยาลัยทั้งหลาย รู้กันหรือไม่ว่า สิทธิการลาหยุดงาน (ลาป่วย ลากิจ ลาคลอดบุตร) ที่สามารถจะได้รับเงินเดือนระหว่างลานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.บ.ค. (คณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล) พ.ศ. 2551 ได้กำหนดไว้ แล้วลายังไงล่ะ ถึงจะถูกหลักเกณฑ์ และยังได้รับเงินเดือน มาดูกันค่ะ การลาป่วย ไม่ว่าจะป่วยหนัก ป่วยเบา ฯลฯ พนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิลาป่วยได้ ปีละไม่เกิน 120 วันทำการ โดยยังได้รับเงินเดือนตามปกติ ซึ่งไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาตให้ลาป่วย แบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ค่ะ
Continue reading

การกำหนด Functional Competency ของบุคลากรในวิชาชีพสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล

การกำหนด Functional Competency ของบุคลากรในวิชาชีพสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 9-10 มกราคม ณ หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหดิล ผู้เข้าร่วมประชุม วรัษยา สุนทรศารทูล / เฉิดฉันทร์ ราชบุรณะ / อภิชัย อารยะเจริญชัย / ณิชดาภา อัจฉริยสุชา เมื่อวันที่ 9-10 มกราคม ที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมประชุมเรื่อง การกำหนด Functional Competency ของบุคลากรในวิชาชีพสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการให้ความรู้เรื่องการกำหนดสมรรถนะเฉพาะทางวิชาชีพ โดย ผศ.ดร.จิตรลดา อมรวัฒนา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นจะมีการระดมความเห็นเพื่อกำหนด FC ซึ่งในสายวิชาชีพสารสนเทศจะประกอบด้วย บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ และนักวิชาการสารสนเทศ
Continue reading

งานสัมมนา Public Relations on Click (ตอนที่ ๒: กรณีศึกษา SCB Thailand และมหาวิทยาลัยมหิดล)

สรุปเนื้อหาการสัมมนา “Public Relations on Click” วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดย นางสาววรัษยา สุนทรศารทูล และ นายอภิชัย อารยะเจริญชัย กรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมคือ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของ SCB Thailand หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จากวิทยากรคือ คุณจันทร์เพ็ญ จินทนา ผู้จัดการบริหารสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สายบริหารงานสื่อสารองค์กร แม้ว่าจะเป็นกรณีศึกษาจากองค์กรเอกชน แต่เราเองก็สามารถนำเอาจุดเด่นจุดด้อยมาประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุดได้เช่นกัน
Continue reading

งานสัมมนา Public Relations on Click (ตอนที่ ๑ : สื่อออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์)

สรุปเนื้อหาการสัมมนา “Public Relations on Click” วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดย นางสาววรัษยา สุนทรศารทูล และ นายอภิชัย อารยะเจริญชัย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ ตุลาคม มีโอกาสได้เข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหิดล ศาลายา งานนี้มีผู้เชี่ยวชาญและคร่ำหวอดกับวงการสื่อออนไลน์ที่จะมานำเสนอกรณีศึกษาที่น่าสนใจอย่าง คุณคงเดช กี่สุขพันธ์ blogger คนดังด้านไอที คุณจันทร์เพ็ญ จันทนา ผู้บริหารสายงานสื่อสารองค์กรจากธนาคารไทยพาณิชย์ และ อาจารย์ชนกพร พัวพัฒนากุล ผู้ช่วยคณบดีฝายพัฒนาคุณภาพและสื่อสารองค์กร คณะศิลปศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดลนี่เอง พอเห็นรายชื่อวิทยากรแล้วก็ตัดสินใจทันทีว่างานนี้ไม่น่าพลาด
Continue reading

การบรรยาย “บรรณารักษ์ใช้ชีวิตอย่างไรในโลกอาเซียน”

สรุปเนื้อหาการเสวนาพิเศษในการประชุมสามัญประจำปี ๒๕๕๕ ชมรมห้องสมุดเฉพาะ เรื่อง “บรรณารักษ์ใช้ชีวิตอย่างไรในโลกอาเซียน” วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) โดย นายอภิชัย อารยะเจริญชัย วันนี้ (๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕) ได้มีโอกาสไปฟังบรรยายพิเศษ โดย อาจารย์อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ในเรื่อง “บรรณารักษ์ใช้ชีวิตอย่างไรในโลกอาเซียน” จัดโดย ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้มุมมองอะไรแปลกๆ จากวิทยากรที่ไม่ใช่เป็นบรรณารักษ์ แต่ทำหน้าที่ดูแล TCDC ที่มีห้องสมุดเป็นจุดขาย เพราะนี่คือห้องเฉพาะ (จริงๆ) ที่ผมว่าเลิศที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
Continue reading