Home » Archive by category ประชุมวิชาการ (Page 2)

โครงการเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 29

ในหัวข้อ “การบริหารสินทรัพย์ความรู้ (knowledge assets)” วันที่ 7-9 กันยายน 2558 ณ อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1) นางสาววรัษยา สุนทรศารทูล 2) นายอภิชัย อารยะเจริญชัย กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย ช่วงเช้า การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การบริหารสินทรัพย์ความรู้ (knowledge assets)” วิทยากร อาจารย์ธวัชชัย หล่อวิจิตร จากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ วิทยากรเล่าว่า การจัดการความรู้ต้องมี output และ outcome ที่ชัดเจน มีองค์ความรู้เพิ่ม ต้องพิจารณาว่าความรู้ประเภทไหนที่เป็นความเสี่ยงมากหรือน้อย ที่เสี่ยงมากควรเริ่มทำ KM ก่อน สำหรับรูปแบบการถ่ายทอด เรื่องใดที่ถ่ายถอดยากน่าจะมีความเสี่ยงสูงกว่า ควรพิจารณาทำก่อน การที่จะรู้ว่า “มีความรู้หรือไม่” ต้องมีการวัด วิธีวัดวัดอย่างไร...
Continue reading

ประชุมคณะทำงานพัฒนาและส่งเสริมบริการสารสนเทศ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2558 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล  ตัวแทนผู้เข้าประชุม นายเฉลิมพันธุ์ ตาทิพย์ นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา สรุปสำระสำคัญที่เกี่ยวข้อง 1.    การนำเสนอผลงานการจัดทำ R2R สำนักงานเครือข่ายบริการห้องสมุด ทางหอสมุดฯ ได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมจัดทำ R2R (Routine for Research) หรือการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย เพื่อส่งผลงานเข้าร่วมในงาน Mahidol R2R EXPO 2015 ที่กำลังจะมาถึงในช่วงเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ R2R คือ การนำเอากระบวนการวิจัยเข้ามาใช้แก้ปัญหาในงานประจำอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีหัวใจสำคัญ คือ การพัฒนางานพร้อมกับการพัฒนาคน โดยไม่หลงติดกับคำว่า “วิจัย” เพราะ R2R เป็นเครื่องมือ ไม่ใช่เป้าหมาย สำหรับประโยชน์จากการทำ...
Continue reading

การศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้รับบริการด้วย Focus Group

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00 น. – 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย :   ผศ.ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล   การสนทนากลุ่ม (Focus Group) เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ใช้การเก็บข้อมูลเชิงลึกสำหรับการทำวิจัยเชิงคุณภาพ การสนทนากลุ่มนั้น จะแบ่งตามรูปแบบเป็น 2 ประเภท คือ การทำวิจัยทางการตลาด (Market Research) การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social Science) ในการอบรมครั้งนี้ จะเน้นที่การทำ Focus Group เพื่อการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยการทำ Focus Group เพื่อทำวิจัยทางสังคมศาสตร์จะมีลักษณะที่เป็นโครงสร้างน้อยกว่าการทำวิจัยทางการตลาด...
Continue reading

บริการห้องสมุดเพื่อวัยใสวัยมันส์ Gen Y & Gen Z

เรื่อง “จัดบริการห้องสมุดอย่างไร เข้าถึงใจ…เข้าถึง Gens” วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม 2557 เวลา 8.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วรัษยา สุนทรศารทูล บริการห้องสมุดเพื่อวัยใสวัยมันส์ Gen Y & Gen Z โดย อ.ดร.ภก.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร   ความแตกต่างของคนแต่ละ Gen และสิ่งที่คนแต่ละ Gen รู้จัก Gen B (1946-1964 นีล อาร์มสตรอง ทีวี ยาคุม สงครามเย็น) ในประเทศไทย เติบโตมาในยุคจอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม ประภาส ยุคเผด็จการ...
Continue reading

บริการห้องสมุดตอบโจทย์รุ่นใหญ่ Gen X & BB

เรื่อง “จัดบริการห้องสมุดอย่างไร เข้าถึงใจ…เข้าถึง Gens” วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม 2557 เวลา 8.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วรัษยา สุนทรศารทูล บริการห้องสมุดตอบโจทย์รุ่นใหญ่ Gen X & BB โดย อ.ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ห้องสมุดควรศึกษาคุณลักษณะ ความต้องการ พฤติกรรม เพื่อนำไปสู่บริการผู้ใช้”   ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามีกลุ่มเป้าหมายคือ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาตรี/โท/เอก ชุมชนรอบข้าง การมีหลาย Gen ของกลุ่มผู้ใช้บริการ ดังนั้นการบริการคนหลาย Gen ย่อมมีความแตกต่าง  ดังนี้ Gen BB...
Continue reading

สรุปรายงานการประชุมคณะทำงานพัฒนางานเทคนิค ครั้งที่ 3/2557

วันพุธที่ 3 กันยายน 2557 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล   ตัวแทนผู้เข้าประชุม นางสาวณิชดาภา  อัจฉริยสุชา นางสาวกนกพร งามสว่างรุ่งโรจน์ 1. เรื่องแจ้งเพื่อทราบ 1.1 สรุปผลการจัดชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) ของกลุ่มงานเทคนิค รวมถึงการคัดเลือกประธาน ผู้ประสานงาน และเลขานุการประจำกลุ่มงานเทคนิค ผลคือ คุณวัฒนา ได้รับการเสนอเป็นประธานและผู้ประสานงานของกลุ่ม และคุณอภิชยาภา ได้รับการเสนอเป็นเลขาประจำกลุ่ม แต่ในที่ประชุมคุณวัฒนาอยากให้มีการพิจารณาเสนอชื่อใหม่ โดยอยากให้เลือกคนรุ่นใหม่มากกว่า ซึ่งนำเข้าที่ประชุม CoPs อีกครั้ง 1.2 สรุปผลโครงการปรับปรุงฐานข้อมูล Mahidol IR      ยังไม่มีการสรุปผล 1.3  การจัดกิจกรรมมหิดลบุ๊คแฟร์ประจำปี 2557   โดยในที่ประชุม คุณพรรณทิพาได้เสนอและแจกแจงตารางการจัดงานในแต่ละที่ไว้คือ...
Continue reading

การเสวนาวิชาการจดหมายเหตุ: เบื้องหลังการวบรวมต้นฉบับหนังสือผู้ประศาสน์การและอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การเสวนาวิชาการจดหมายเหตุ เบื้องหลังการวบรวมต้นฉบับหนังสือผู้ประศาสน์การและอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2477-2556): ประวัติชีวิต ความคิด และการทำงาน และเปิดตัวหนังสือ ธรรมศาสตรานุกรม 80 ปี (พ.ศ. 2477-2557) จัดโดย หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2557 ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องด้วยในปี พ.ศ. 2557 นับเป็นปีที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาปนามาครบรอบ 80 ปี โดยได้เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ มีศิษย์เก่ามากมายที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ ของสังคมไทย โดยเฉพาะแวดวงการเมืองการปกครอง หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้จัดทำหนังสือเพื่อเป็นที่ระลึกแห่งการสถาปนา และเพื่อเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของมหาวิทยาลัยไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง จุดมุ่งหมายในการเข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้คือการไปเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานของคณะทำงานของหนังสือเล่มนี้ เพราะ หน่วยจดหมายเหตุฯ คณะวิทยาศาสตร์ มีแนวคิดที่จะจัดทำหนังสือในทำนองนี้อยู่เหมือนกัน...
Continue reading

การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (ตอนที่ 2)

“ห้องสมุด” กับ “การตลาด” ขอดเกล็ดความรู้มาจากการประชุมวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (Connecting Knowledge: Library, New Media & Technology) (ข้อเขียนนี้ดึงแนวคิดสำคัญจากการร่วมสัมมนาออกมา รายละเอียดดูและขยายความรู้ต่อได้จากสไลด์ของวิทยากรด้านท้าย และมีการเพิ่มเติมความรู้จากแหล่งอื่นๆ ด้วยเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น) หนึ่งในการสัมมนาครั้งนี้ที่มีการหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้งคือการดำเนินกิจการของห้องสมุดภายใต้กรอบความคิดทางการตลาด เมื่อพูดถึงการตลาด คนส่วนใหญ่มักคิดถึงกิจกรรมทางธุรกิจที่มุ่งเป้าเพื่อผลกำไรทางการค้า แต่ความจริงแล้วการตลาดอยู่ใกล้ชิดกับเรามากกว่าที่คิด การตลาดอยู่รอบตัวเราตั้งแต่เกิดจนตาย กับห้องสมุดแล้ว การตลาดเข้ามามีบทบาทอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และในช่วงเวลาที่ก่อให้เกดความคลางแคลงใจต่อการมีอยู่ของห้องสมุด การตลาดนิ่งมีส่วนสำคัญในการดำรงอยู่ของห้องสมุดมากยิ่งขึ้น ทุกคนพยักหน้ากันอย่างพร้อมเพรียงเมื่อถูกถามว่าการตลาดสำคัญต่อห้องสมุดใช่ไหม แต่มีไม่กี่คนที่บอกได้ว่าแล้วตกลงห้องสมุดของท่านนำกลยุทธ์ทางการตลาดอะไรมาปรับใช้
Continue reading

การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (ตอนที่ 1)

การประชุมวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร 2557 การเชื่อมโยงความรู้: ห้องสมุด สื่อใหม่ และเทคโนโลยี (Connecting Knowledge: Library, New Media & Technology) ผู้เข้าร่วมสัมมนา: อภิชัย อารยะเจริญชัย โดยทั่วไปหากมีการประชุมเรื่องทำนองนี้ เรามักได้ข้อมูลหรือข้อคิดเห็นจากฝ่ายห้องสมุดเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าใครจัดก็มักจะเชิญวิทยากรที่มาจากวงการห้องสมุด สิ่งที่ได้รับคือคำถามเดิมๆ คำตอบเดิมๆ  แนวคิดเดิมๆ เปรียบเหมือนการส่องกระจก ส่องทีไรก้เห็นแต่ตัวเอง ถ้า “ยอมรับ” ตัวเองได้ก็ดีไป แต่ข้อเสียหนักๆ คือห้องสมุดจะได้คำตอบหรือมุมมองจากคนห้องสมุด รู้เรา แต่ไม่รู้เขา ไม่รู้โลก ไม่รู้ผู้ใช้ ก็จะไม่ต่างอะไรกับการพายเรือวนในอ่าง วนไปวนมาสิบกว่าปีก็ยังอยู่ที่เดิม แม้การประชุมครั้งนี้จะได้รับเกียรติจากวิทยากรที่อยู่ในแวดวงห้องสมุดเหมือนเคย ตามหน้าตาของเจ้าภาพ แต่ไม่แออัดเท่าครั้งก่อนๆ เมื่อดูรายชื่อวิทยากรแล้วพบว่ามาจากหลายวงการที่ล้วนแต่มีความเชื่อมโยงกับห้องสมุดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ ผศ. (พิเศษ) ดร. เนตร หงษ์ไกรเลิศ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร....
Continue reading

สรุปการอบรมบรรยายเรื่อง “การตรวจสอบภายในยุคใหม่”

สรุปการอบรมบรรยายเรื่อง “การตรวจสอบภายในยุคใหม่” วันพฤหัสบดี ที่ 6 มีนาคม 2557 วิทยากร : นายสุรพงษ์ ชูรังศฤษฎิ์   ผู้เข้าร่วมอบรม นางสาวภัคจิรา วงศ์กิจเจริญ, นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา และนายครรชิต บุญเรือง             การตรวจสอบภายในนั้น เริ่มแรกเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ สืบเนื่องจากการบริหารจัดการด้วยตัวเองเพียงลำพังไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงได้มีการตรวจสอบภายในขึ้นมา หลังจากนั้น จึงเกิดเป็นกระแสโลกในเรื่องของ Governance ซึ่งเป็นเรื่องของความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน สามารถธิบาย และตรวจสอบงานที่ทำอยู่ได้ เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์ หลังจากนั้นจึงเกิดเป็น “กฎหมาย” ประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน 1. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ หากการทำงานมีการกำกับดูแลที่ดี ใส่ใจรายละเอียด ก็จะส่งผลให้ธุรกิจนั้นมีความมั่นคง และเกิดผลกำไร 2. ส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ (Accountability) แบ่งความรับผิดชอบงานที่ชัดเจน ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้...
Continue reading