Home » Archive by category อบรมวิชาการ (Page 2)

โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) ประจำปี 2558

การฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) ประจำปี 2558 ระหว่างวันที่ 23 – 24 กุมภาพันธ์ 2558  เวลา 8.30 – 16.00 น. ณ ห้องฝึกอบรม ชั้น 2 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)  วิทยากร : นายจิรวัฒน์ พรหมพร แผนกสนับสนุนฝ่ายทรัพยากอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ผู้เข้าอบรม : อัมฤตา เปรื่องกระโทก การสืบค้นสารสนเทศ 1. การเตรียมคีย์เวิร์ด (Preparing your keywords) ควรจะเป็นคํานาม (Noun) คําพ้องความหมาย คําเหมือน...
Continue reading

Brand Storytelling Workshop

ฟังบรรยายเรื่อง Brand Storytelling Workshop วิทยากร : กิตติภัต ลลิตโรจน์วงศ์ และ ชนินทร์ วิศาลบูชนีย์ ผู้เข้าร่วม : อริศรา เฉิดมนูเสถียร นักเอกสารสนเทศ Brand Storytelling มีการสำรวจจากบุคคลภายนอกว่าจุดเด่น จุดด้อยของ มหาวิทยาลัยมหิดล คืออะไรบ้าง โดยมีการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสามกลุ่มคือ เด็กสายวิทย์ เด็กสายศิลป์ และผู้ปกครอง ดังนี้ ปัจจุบันสังคมไทยส่วนใหญ่รู้จักและยอมรับมหาวิทยาลัยมหิดลในแง่มุมของมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ และสาธารณะสุขเป็นหลัก วัตถุประสงค์ของกลยุทธ์แบรนด์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือ เป็นมหาวิทยาลัยของโลก ที่สร้างผู้นำความคิดระดับโลก นักคิด และนักปฏิบัติ   จุดยืนของแบรนด์มหาวิทยาลัยมหิดล MU Brand Positioning เป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ท่ามกลางผู้ร่วมแข่งขันที่หลากหลายและเพิ่มมากขึ้น เป็นจุดแข็งในการครองพื้นที่กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ยังไม่มีใครเป็นเจ้าของ ความหมายของแบรนด์มหาวิทยาลัยมหิดล MU Brand...
Continue reading

การเขียนจดหมายราชการ

3 มี.ค. 2558 เวลา 9.00-16.00 น. K102 คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล วิทยากร โดย นางกฤตยา จันทรเกษ   ผู้อำนวยการส่วนระเบียบกลาง , นางสาวสุพิชฌาย์ กลิ่นหอม นิติกรชำนาญการ สำนักกฎหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้เข้าร่วมสัมมนา วรัษยา สุนทรศารทูล หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการได้แก่ หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึง บุคคลภายนอก หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์   ชนิดและแบบของหนังสือราชการ หนังสือภายนอก หนังสือภายใน หนังสือประทับตรา หนังสือสั่งการ หนังสือประชาสัมพันธ์ หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ   เอกสารราชการแบ่งชั้นความลับเป็น 3...
Continue reading

e-Database2014@mahidol

การฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น e-Database2014@mahidol วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคารราชรัตน์ ชั้น7 คณะเภสัชศาสตร์ โดย : คุณจิรวัฒน์ พรหมพร แผนกส นับสนุนฝ่ายทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์เซอร์วิส จำกัด ผู้เข้าอบรม : นางสาวรัตน์ชนก ยอดพินิจ และนายครรชิต บุญเรือง ในการฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นในครั้งนี้ มีด้วยกันทั้งหมด 6 ฐาน คือ การใช้โปรแกรม EndNote ฐานข้อมูล ISI Web of Science ฐานข้อมูล Journal Citation Reports ฐานข้อมูล ProQuest Dissertation &...
Continue reading

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ฯ : พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ฯ

สัมมนาเครือข่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๔ ศุกร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ณ พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินานาถ มิวเซียมแห่งนี้เปิดดำเนินการโดยใช้ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในเขตพระราชฐานชั้นนอก อาคารแห่งนี้เป็นอาคารโบราณสร้างมาตั้งแต่ต้นกรุง มาปรับปรุงและเพิ่มเติมครั้งใหญ่ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ ทำหน้าที่เป็นที่ทำการกรมพระคัลงมหาสมบัติ คือจัดการด้านภาษีอากร ต่อมาก็ขยับขยายเป็นสำนักงานของหน่วยงานอื่นๆ อีก ๔ แห่ง คือ สำนักงานธนาคารชาติไทย กรมธนารักษ์ ราชบัณฑิตยสถาน และกองราชพิธี อยู่มาหน่วยงานเหล่านี้ก็แยกย้ายออกไป อาคารจึงว่างเปล่า จนถึงปี ๒๕๔๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นอาคารสำหรับมิวเซียมแห่งนี้ แต่กว่าจะเปิดอย่างเป็นทางการก็เมื่อปี ๒๕๕๕
Continue reading

การอบรมเชิงปฏิบัติแผนกลยุทธการสื่อสารมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2557

โดย ทีมงานบริษัท เป็นสุข จำกัด วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ณ ห้องประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)  ผู้ร่วมสัมมนา : นุชสรา  บุญครอง วัตถุประสงค์ : เพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจและสามารถนำแผนกลยุทธ์การสื่อสารมหาวิทยาลัยมหิดลปี 2557 ไปปรับใช้และนำไปปฏิบัติได้จริงในแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การประชาสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน Brand หรือ แบรนด์  คือ  ความรู้สึก หรือ ความประทับใจ ที่ถูกสร้างขึ้นภายในจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การใช้สินค้า ภาพลักษณ์ขององค์กร และบุคคล Branding คือ การสร้าง Brand ให้เป็นที่รู้จัก เป็นที่นิยม ในกลุ่มเป้าหมาย เป็นความรู้สึก ซึ่งจับต้องเป็นรูปธรรมไม่ได้ ในการสร้าง Brand จะเริ่มจากการเลือกอารมณ์ ว่าอยากให้กลุ่มเป้าหมายอยากจดจำแบบนไหน โดยใช้เครื่องมือเรียกว่า Brand Role : เหมือนธาตุทั้ง...
Continue reading

การนำเสนอข้อมูลห้องสมุดในรูปแบบ Infographic ครั้งที่ 1/2557

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2557 เวลา 10.00 -12.00 น. ณ ห้องสมุดมารวย สาขาเอสพละนาด (ศูนย์การค้าเอสพละนาด รัชดาภิเษก ชั้น 2) วิทยากร : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ ผู้ร่วมกิจกรรม เฉิดฉันทร์ ราชบุรณะ, นุชสรา บุญครอง                                               แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Infographic...
Continue reading

สรุปการอบรมบรรยายเรื่อง “การตรวจสอบภายในยุคใหม่”

สรุปการอบรมบรรยายเรื่อง “การตรวจสอบภายในยุคใหม่” วันพฤหัสบดี ที่ 6 มีนาคม 2557 วิทยากร : นายสุรพงษ์ ชูรังศฤษฎิ์   ผู้เข้าร่วมอบรม นางสาวภัคจิรา วงศ์กิจเจริญ, นางสาวบุญญาวดี พงษ์ศิลา และนายครรชิต บุญเรือง             การตรวจสอบภายในนั้น เริ่มแรกเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ สืบเนื่องจากการบริหารจัดการด้วยตัวเองเพียงลำพังไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงได้มีการตรวจสอบภายในขึ้นมา หลังจากนั้น จึงเกิดเป็นกระแสโลกในเรื่องของ Governance ซึ่งเป็นเรื่องของความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน สามารถธิบาย และตรวจสอบงานที่ทำอยู่ได้ เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์ หลังจากนั้นจึงเกิดเป็น “กฎหมาย” ประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน 1. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ หากการทำงานมีการกำกับดูแลที่ดี ใส่ใจรายละเอียด ก็จะส่งผลให้ธุรกิจนั้นมีความมั่นคง และเกิดผลกำไร 2. ส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ (Accountability) แบ่งความรับผิดชอบงานที่ชัดเจน ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้...
Continue reading

ทักษะในศตวรรษที่ 21 และการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถาบันอุดมศึกษา

ชื่อกิจกรรม: ทักษะในศตวรรษที่ 21 และการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถาบันอุดมศึกษา วันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2557 ณ. ศูนย์การเรียนรู้มหิดล วิทยากร: ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช            เรื่องของ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการพูดถึงกันมามากในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา คีย์แมนสำคัญท่านหนึ่งคือ อาจารย์วิจารณ์ พานิช ก็เป็นชาวมหิดล โดยท่านเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนยุคใหม่ให้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่านี้ แต่คำถามสำคัญคือเมื่อไหร่เราจึงจะเห็นอะไรสักอย่างที่เป็นรูปธรรมเสียที            แนวคิดนี้ถูกนำเสนอขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่แล้ว ในหลายๆ ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบางครั้งก็เป็นการดำเนินการไปในแนวทางนี้โดยที่ไม่รู้ตัว ไม่ได้อ้างอิงทฤษฎีใดๆ หรือแนวคิดใดๆ เพียงแต่ดำเนินการไปตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและของตัวผู้เรียนและผู้สอน อย่างเช่นกรณีของประเทศสิงคโปร์ ที่มีการจัดระบบความคิดเรื่องการศึกษาที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ เอาแค่ในระดับเอเชียหรืออาเซียนนี่ก็ได้ ทำไมสิงคโปร์จึงติดอันดับท็อปเสมอเมื่อมีการจัด Ranking  ด้านการศึกษา สิงคโปร์ไม่ใช่เป็นหัวหอกในแนวคิดนี้ แต่สิงคโปร์ทำไปก่อนล่วงหน้า อาจจะเรียกว่าสัญชาตญาณก็คงไม่ผิดนัก            ย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย หากแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ นักวิชาการ นักการศึกษา...
Continue reading

อบรมบรรยายเรื่อง “การตรวจสอบคุณภาพระเบียนบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม MARC Analyzer”

สรุปการอบรมบรรยายเรื่อง “การตรวจสอบคุณภาพระเบียนบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม MARC Analyzer” วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) วิทยากรบรรยาย : ดร.ศิวนาถ นันทพิชัย และนางสาวพรพิมล วัชรกุล หน่วยวิจัยนวัตกรรมด้านสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้เข้าร่วมการอบรม   นางสาวณิชดาภา อัจฉริยสุชา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมฟังบรรยายเรื่อง “การตรวจสอบคุณภาพระเบียนบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม MARC Analyzer” ซึ่งการอบรมเป็นเพียงการบรรยายยังไม่มีภาคปฏิบัติ พร้อมให้แสดงความคิดเห็นระหว่างบุคลากรได้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอสรุปให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแนวคิดและหลักการคร่าวๆ ของโปรแกรมดังกล่าว ดังนี้
Continue reading