ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส พรหมโคตร
ประวัติการศึกษา
- พ.ศ. 2515 : ปริญญาตรี (เกียรตินิยมเหรียญทอง) สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2517 : ปริญญาโท เคมีอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2521 : ปริญญาเอก (Dr. rer.nat.) Organic Chemistry Justus Liebigs University เมือง Giessen ประเทศเยอรมนี
- พ.ศ. 2521 - 2522 : Postdoctoral Research Organic Chemistry Swiss Federal Institute of Technology เมือง Zurich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ประวัติการทำงาน
- พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน : ศาสตราจารย์ระดับ 10 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2542 : รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมีมหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
- พ.ศ. 2517 - 2525 : อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2525 - 2527 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2527 - 2536 : รองศาสตราจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547 - 2551 : หัวหน้าภาควิชาเคมี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2530 - 2545 : อนุกรรมการด้านบรรณาธิการตำรายาไทย (Thai Pharmacopoeia) กองวิเคราะห์ยา กระทรวงสาธารณสุข
- พ.ศ. 2542 - 2546 : ผู้ประสานงานเครือข่ายโครงการปริญญาเอก กาญจนาภิเษก สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- พ.ศ. 2547 : หัวหน้าผู้ประสานงานเครือข่ายโครงการปริญญาเอก กาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2547 : มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ. 2542 : มหาวิชรมงกุฎ
- พ.ศ. 2542 : เหรียญจักรพรรดิมาลา
- พ.ศ. 2539 : ประถมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ. 2536 : ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ. 2533 : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ. 2529 : ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ. 2527 : ตริตาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ. 2524 : ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
ผลงานวิจัยโดยสรุป
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส พรหมโคตร ได้อุทิศตนทำงานวิจัยทางด้าน New Synthetic Methodology และ Total Synthesis of Natural Products อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติถึงปัจจุบัน จำนวน 88 เรื่อง ในจำนวนนี้มีผลงานวิจัยดีเด่นที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่มี Impact Factor สูง เช่น Angewandte Chemie, Organic Letters, Journal of Organic Chemistry เป็นต้น นอกจากนี้ผลงานวิจัยบางเรื่องที่เกี่ยวกับวิธีการสังเคราะห์ที่ได้พัฒนาขึ้นยังได้ถูกนำไปใช้เป็นตัวอย่างในตำราเรียนที่มีจำหน่ายทั่วโลก ผลงานวิจัยดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการการศึกษา และการพัฒนาทางด้านเคมีอินทรีย์ของประเทศ จากผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้รับเชิญเป็น Invited Speaker ในการประชุมระดับนานาชาติ ได้รับรางวัล lectureship Award จากการประขุม The 1st International Conference on Cutting-Edge Organic Chemistry in Asia Okinawa, Japan, October 2006 เพื่อไปบรรยายในประเทศ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ในปี 2550 และจากการประขุม The 2nd International Conference on Cutting-Edge Organic Chemistry in Asia, Busan, Korea, September 2007 เพื่อไปบรรยายที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2551
งานวิจัยที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
- 1. กำลังดำเนินการสังเคราะห์สาร polyhydroxylated Indolizidine Alkaloids บางตัวที่เป็นสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติแบบอสมมาตร เช่น (+)-Swainsonine และ (+)-Lentiginosine โดยใช้ปฏิกิริยา Cyclization ของ α-Sulfinyl Carbanions
- 2. ศึกษาวิธีการสังเคราะห์สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ Gmelinol และอนุพันธ์ของมันแบบอสมมาตร นอกจากนี้กำลังดำเนินการสังเคราะห์สาร gem-Difluorinated Furofurans โดยใช้ Succinic Acid Derivatives เป็น 4-Carbon Building Block
- 3. การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสาร PhSCF2Sime3 เป็น gem-Difluoromethylating Building Block ในการเตรียมสารประกอบ gem-Difluoromethylated 1-Azabicyclic Compounds และ gem-Difluoromethylated Cyclopentones และ Cyclohexanones
- 4. กำลังศึกษาวิธีการสังเคราะห์สารประเภท Caged Xanthone ซึ่งเป็นสารที่แยกได้จากพืชวงศ์ garcinia ซึ่งสารบางตัวมีฤทธิ์ทางด้าน anti-HIV และ antitumor ร่วมกับนักวิจัยในภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
งานวิจัยในอนาคต
- 1. จะดำเนินการศึกษาการสังเคราะห์สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติประเภท Indolizidines และ Quinolizidines ที่มีฤทธิ์ทางชีววิทยาโดยใช้ปฏิกิริยา Cyclization ของ α -Sulfinyl Carbanions ที่ได้พัฒนาขึ้น
- 2. ศึกษาวิธีการสังเคราะห์ gem-Difluorinated Indolizidines, gem-Difluorinated Pyrrolizidines โดยประยุกต์ใช้ และสารประเภท gem-Difluorinated Hirsutanes โดยใช้วิธีการที่ได้พัฒนาขึ้น
- 3. พัฒนาวิธีการสังเคราะห์สาร Organofluorines และนำไปประยุกต์ใหม่ในการสังเคราะห์ใช้ในการเตรียมสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มี Fluorine Atom ในโมเลกุล
- 4. ศึกษาวิธีการสังเคราะห์สารประเภท γ-Lactams โดยใช้ปฏิกิริยา Organocatalysis
- 5. ศึกษาวิธีการสังเคราะห์ Bioactive Natural Product บางตัวที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจ
ที่มาข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2551). รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงาน
ที่มาภาพ : หน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล