ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนฑล
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2537-2538)
นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2537-2540)
เกิดเมื่อ พ.ศ. 2485 ชาวจังหวัดกรุงเทพ เป็นนักวิจัยที่มีผลงานทางด้านชีวเคมีของระบบสืบพันธุ์เพศชาย, ชีวเคมีจากพืช เลคติน และมันสำปะหลัง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและการบริหารจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ประวัติการศึกษา
- พ.ศ. 2505-2509 : ทุนโคลอมโบ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพ University of New South Wales, Australia
- พ.ศ. 2509 : ปริญญาตรีเกียรตินิยม อันดับ 1 สาขาชีวเคมี University of New South Wales, Australia
- พ.ศ. 2510-2514 : ทุนมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ภาควิชาเคมี University of California, U.S.A.
- พ.ศ. 2514 : ปริญญาเอก สาขาชีวเคมี University of California, U.S.A.
ประวัติการทำงาน
- พ.ศ. 2514-2518 : อาจารย์โท ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2518-2521 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2519-2523 : หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิด
- พ.ศ. 2520-2522 : กรรมการ WHO Steering Committee of the Task Force on Methods for the Regulation of Male Fertility
- พ.ศ. 2521-2526 : รองศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2522-2524 : ผู้อำนวยการศูนย์บริการประยุกต์วิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2525-2526 : ประธาน สาขาชีวเคมี สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ฯ
- พ.ศ. 2526-2531 : ศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2526 : เลขาธิการจัดการประชุมการ The Third Congress of Federation of Asian and Oceanian Biochemists (FAOB), กรุงเทพ ฯ 29 พ.ย.-2 ธ.ค. 2526
- พ.ศ. 2527-2528 : ประธาน จัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท) ครั้งที่ 10-11
- พ.ศ. 2529-2523 : ประธานคณะกรรมการิจารณทุน FAOB
- พ.ศ. 2531 : ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2531-2533 : ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (กพวท.)
- พ.ศ. 2533-2534 : รองผู้อำนวยการ กพวท.
- พ.ศ. 2535 : รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- พ.ศ. 2537 : ที่ปรึกษาคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอาเซียน
- พ.ศ. 2537-2538 : รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2537-2540 : นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ
- พ.ศ. 2538 : ประธานคณะทำงานด้านเทคโนโลยี มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลัง แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2539-2540 : กรรมการ Steering Committee of Cassava Biotechnology Network
รางวัลและเกียรติ
- พ.ศ. 2520 : รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทวิจัย
- พ.ศ. 2534 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฏ
- พ.ศ. 2537 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ. 2539 : รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2539 มูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย
- รางวัลทุนนักวิจัยอาวุโส สวทช.
- พ.ศ. 2540 : รางวัลบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน สาขาการศึกษาและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
- สำนักนายกรัฐมนตรี
ผลงาน
งานวิจัยและงานบริหารของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนฑล มีจุดมุ่งหมายหลักที่จะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างองค์กรความรู้ที่จะเกื้อหนุนให้สันติสุขที่ถาวรเกิดแก่มวลมนุษยชาติ จุดมุ่งหมายนี้ได้มีส่วนให้เลือกทำงานวิจัยและพัฒนาในเรื่องที่ขะช่วยสร้างคุณภาพชีวิต ในระหว่างการทำงานได้ยึดหลักความถูกต้องทางวิชาการและความเที่ยงธรรม ผลงานจะต้องมีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล พลังที่ผลักดันให้ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 25 ปีเศษ คือความหรรษาแห่งการค้นพบ นอกจากผลงานวิจัยแล้ว การวิจัยยังเป็นโอกาสสำหรับฝึกอบรมบัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอก บัณฑิตเหล่านี้ได้ปฏิบัติอาชีพและหน้าที่ทั้งในภาครัฐและเอกชนทั่วราชอาณาจักร เป็นกำลังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติต่อไป เอกสารเหล่านี้จะแสดงผลงานรวม 4 ส่วน ประกอบด้วย ผลงานวิจัย 3 ส่วน และผลงานบริหารและสนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ส่วน
1. ผลงานวิจัยเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย
อัตราการเพิ่มของประขากรโลก มีส่วนคุกคามสันติสุของมนุษย์และความสมดุลของธรรมชาติ แม้ว่าจะมียาและวิธีคุมกำเนิดในสตรีแล้วก็ตาม แต่วิธีคุมกำเนิดเพศชายยังมีข้อจำกัดที่เหนี่ยวรั้ง ความยอมรับและการใช้อย่างแพร่หลาย จึงควรที่จะดำเนินการศึกษาระดับพื้นฐานเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การพัฒนายาและกรรมวิธีที่เหมาะสมกับการคุมกำเนิดบุรุษเพศต่อไป ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนฑล ได้จัดตั้งกลุ่มวิจัยชีววิทยาระบบสืบพันธุ์ ได้ร่วมมือกับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทูรย์ โอสถานนท์ แห่งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณาจารย์ในภาควิชาชีวเคมีอันได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิชัย บุญแสง รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรยศ วิฑิตสุวรรณกุล และศาสตราจารย์ ดร.นงนุช ตันไพจิตร ดำเนินโครงการวิจัยต่าง ๆ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างประเทศหลายแห่ง เช่น มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ องค์การอนามัยโลก และ International Development Research Centre เป็นต้น ผลงานวิจัยพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
ก. ตัวอสุจิ ได้มุ่งศึกษากลไกการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิเพื่อหาวิธียับยั้งการเคลื่อนที่ออันจะนำไปสู่การคุมกำเนิดในบุรุษได้พบว่าสารคาฟเฟอีนสามารถกระตุ้นกาเคลื่อนที่อของตัวอสุจิได้ศึกษาการใช้พลังงาน (ATP) ของตัวอสุจิ กลไกของการสะบัดทาง และบทบาทของ cAMP และการเติมฟอสเฟทลงในโปรตีนไมโครทูบูลในการเคลื่อนที่ ความรู้นี้ได้ถูกนำไปทดสอบในคลีนคิคผสมเทียม โดยการเติมคาฟเฟอีนไปช่วยเร่งการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ
ข. ท่ออีพิดิไดมิส ตัวอสุจิที่ผลิตจากลูกอัณฑะจะยังไม่สามารถผสมกับไข่ได้ ความสามารถในการปฏิสนธิจะเพิ่มขึ้นเมื่อตัวอสุจิได้ผ่านการเจริญตัวในท่ออีพิดิไดมิส ดังนั้น กลุ่มวิจัยของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนฑล จึงได้ศึกษาชีวเคมีของท่ออีพิดิไดมิส ได้พบว่าตัวอสุจิขณะที่เจริญตัวผ่านท่อนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงผิวของตัวอสุจิ โดยการวัดปริมาณกรดไซยาลิคหมู่ประจุลบ ไซยาไกลโคโปรตีน และความสามารถในการจับกับเลคติน ท่ออีพิดิไดมิสซึ่งยาภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเทสทอดเตอโรน จะหลั่งโปรตีนทลายชนิด บางชนิดก็จับกับผิวของตัวอสุจิขณะเจริญตัว คณะวิจัยได้พบไซยาโลไกลโคโปรตีนที่มีฤทธิ์เป็นอัลฟาแลคอัลบูมิน ซึ่งจะจับกับส่วนของตัวอสุจิที่จะไปจับกับผิวของไข่ในขณะเกิดการปฏิสนธิ และยังได้พบโปรตีนอิมโมบิลินในท่ออิดิไดมิส ที่สามารถทำให้น้ำในท่ออีพิดิไดมิสมีความหนืดสูง เพื่อบังคับไม่ให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่เพื่อประหยัดพลังงานขณะที่ตัวอสุจิจะถูกหลั่งออกจากท่ออีพิดิไดมิส
ค. โปรตีนในน้ำอสุจิ คณะวิจัยได้ค้นพบโปรตีนและเอนไซม์ตัวใหม่ในน้ำอสุจิ ที่หล่อเลี้ยงตัวอสุจิที่ถูกหลั่งออกมาเพื่อผสมกับไข่ ได้พบเอนไซม์เอซิคิด โปรตีนเอส และโปรเอนไซม์ของมัน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเอนไซม์ที่ทำงานได้ ได้พบไซยาโลไกลโคโปรตีนจากต่อมลูกหมากที่สามารถจับกับสเตรอยด์ และพบไซยาโลไกลโคโปรตีนจากต่อมเซมินัล เวซิเคิล ซึ่งทำให้น้ำอสุจิกลายเป็นวุ้นเมื่อถูกหลั่งออกมาใหม่ ๆ ความรู้นี้ได้นำไปสู่แนวคิดที่จะคุมกำเนิดบุรุษ โดยการเพิ่มความหนืดของน้ำอสุจิด้วยการเติมเลคติน ที่สามารถจับไกลโคโปรตีนในน้ำอสุจิ
2. ผลงานวิจัยเกี่ยวกับเลคติน
ประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาไกลโคโปรตีนบนผิวของตัวอสุจิและในน้ำอสุจิโดยใช้เลคตินซึ่ง เป็นโปรตีนที่สามารถจับกับน้ำตาลอย่างจำเพาะ ทำให้เกิดความสนใจเลคตินซึ่งมีราคาแพงและหายาก ประกอบกับได้พิจารณาเห็นว่าพืชและสัตว์ในแถบร้อนมีอยู่มากในประเทศไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนฑล จึงได้ดำเนินการวิจัยที่จะมุ่งหาเลคตินใหม่ ๆจากแหล่งพืชพันธุ์ในประเทศไทย การวิจัยได้นำไปสู่การค้นพบเลลคตินตัวใหม่ที่มีคุณสมบัติที่น่าสนใจรวมทั้งสิ้น 4 ตัว ดังนี้
ก. JFL เป็นเลคตินจากเมล็ดขนุน มีคุณสมบัติที่จะจับกับกาแลคโตสได้อย่างจำเพาะมีประโยชน์ในการใช้ตรวจการเปลี่ยนแปลงของผิวเซลล์มะเร็ง และตรวจเชื้อไวรัสเอดส์ได้
ข. เลคติตจากเผือก คณะวิจัยได้พบเลคตินจากหัวเผือก ที่สามารถจับกับตัวอสุจิที่ยังไม่เจริญเต็มที่
ค. Monodin เป็นเลคตินจากเลือดของกุ้งกุลาดำ ที่สามารถจับกับกรดไซยาเลคได้อย่างจำเพาะ และยังได้พบว่าเลคตินนี้จะมีมากในกุ้งกุลาดำที่ติดเชื้อบักเตรี Vibrio unlnificus อันเป็นเชื้อร้ายแรงของกุ้งกุลาดำ เลคตินนี้สามารถทำให้เชื้อนี้จับกลุ่มกันได้
ง. MLL เป็นเลคตินจากใบหม่อน ที่สามารถจับกับ กรดไซยาลิคได้อย่างจำเพาะมีฤทธิ์ในการกระตุ้น เอนไซม์ในทางเดินอาหารของตัวไหมที่ใช้ย่อยโปรตีน และมีฤทธิ์ทำให้เชื้อโรคของใบหม่อนจับกลุ่มกัน จึงอาจจะมีประโยชน์ต่อการเลี้ยงไหมและ อุตสาหกรรมไหมไทย
3. ผลงานวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตชาวไร่จำนวนมากและผูกพันกับอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลายชนิด แต่มันสำปะหลังมีสารประกอบไชยาไนด์ที่เป็นพิษต่อคนและสัตว์ที่ต้องบริโภคมันสำปะหลังเป็นอาหารหลัก เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่จะใช้เสริมสร้างความปลอดภัยในการบริโภคมันสำปะหลัง จึงควรมีการศึกษาชีวเคมีการสร้างและการสลายไซยาโนเจติคกลูโคไซด์หลัก 2 ตัว ใน มันสำปะหลัง อันได้แก่ สินามาริน และโลทอสตราสิน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนฑล จึงได้ร่วมงานกับ รองศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอโครงการวิจัยเอนไซม์ในมันสำปะหลัง ที่เกี่ยวข้องกับการสลายลินามาริน และได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การยูเสด และต่อมาได้ร่วมมือกับ ศาสตราจารย์ ดร.บี แอล โมลเลอร์ แห้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสัตวบาลในกรุงโคเปนฮาเก็น และศาสตราจารย์ ดร.เอ็ม.เอ ฮิวส์ แห่งมหาวิทยาลัยนิวคาสเสิล ประเทศอังกฤษ ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ศึกษาคุณสมบัติของเอนไซม์ลินามาเรสและไฮดรอกซิไนไตรส์ ไลเอส ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการสลายสินามาวิน นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ยังได้ร่วมการวิจัยเกี่ยวกับสินามาเรส การศึกษาการสังเคราะห์สินามารินในระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยือ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ยุพา มงคลสุข แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำไปสู่การค้นพบสารยังยั้งหลายชนิด ที่จะเป็นประโยชน์ในการควบคุมปริมาณสารไขยาไนด์ในมันสำปะหลังในไร่
4. ผลงานบริหารและการสนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เนื่องจากบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยยังมีจำนวนน้อย จึงจำเป็นที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งจะต้องมีบทบาทในการบริหารและพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นระบบที่มีประสิทธิ์ภาพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนฑล มีผลงานบริหารและสนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายประการดังนี้
ก. ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เคยเป็นหังหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์จัดระบบการดำเนินงานที่เกื้อหนุนให้คณาจารย์สามารถทำงานวิจัยได้เต็มที กระตุ้นให้มีกลุ่มวิจัยมาลาเรียพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพได้เป็นผู้อำนวยการศูนย์บริการประยุกต์วิชาการเพื่อนำผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยไปแก้ปัญหาในภาครัฐและภาคเอกชน ได้เป็นรองอธิการบดี ปฏิบัติภารกิจด้านวิชาการที่ได้รับมอบหมายจากอธิการบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี
ข. ระดับประเทศ ได้เป็นรองผู้อำนวยการพจารณาให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาแก่นักวิจัยไทย ภายใต้โครงการความร่วมมือไทย-สหรัฐ ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีส่วนร่วมก่อตั้งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) และช่วยดำเนินการในระยะแรกในฐานะรองผู้อำนวยการ สวทช เคยมีบทบาทหน้าที่หลายอย่างในสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ฯ นับตั้งแต่ประธานสาขาชีวเคมี ประธานจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งปรเทศไทย และในปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม ฯ ได้กระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์ไทยมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในระดับเยาวชนนักวิชาการและประชาชนทั่งไป ได้เป็นหัวหน้าคณะดำเนินโครงการศึกษาการจัดระบบบริหารด้านวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยีของรัฐ และให้ข้อเสนอแนะต่างๆ แก่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน นอกจากนี้ ได้ช่วยมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยดำเนินการพัฒนาและจัดหาเทคโนโลยีเพื่อช่วยอุตสาหกรรมมันสำปะหลังของไทย
ค. โปรตีนในน้ำอสุจิ เคยเป็นกรรมการวิชาการพิจารณาโครงการวิจัยระดับนานาชาติภายใต้โครงการเจริญพันธุ์ของคน ขององค์การอนามัยโลก เป็นกรรมการของเครือข่ายเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านมันสำปะหลัง เคยเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสำนักงานอาเซียน จัดทำกลยุทธ์การดำเนินงานตามแผนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอาเซียน เป้นผู้จัดประชุมวิชาการให้แก่สหพันธ์นักชีวเคมีแห่งเอเชียและโอเชียเนีย และเคยเป็นประธานให้ทุนของสหพันธ์ฯ
ที่มาข้อมูล : มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย. (2547). 10 ปี มูลนิธิโทเรฯ พ.ศ. 2537-2546. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ที่มาภาพ : หน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล