ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี

ประวัติ l คำประกาศเกียรติคุณ l วาทะนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น l ห้องแสดงภาพ



Emeritus Professor Dr.Yongwimon Lenbury
B.Sc. (A2 Hons., ANU, Australia), Ph.D. (Vanderbilt, USA)
2007 Outstanding Scientist Award (Mathematics)

การศึกษา

พ.ศ. 2519 : B.Sc. with A2 Honours (Applied Mathematics), Australian National University, ออสเตรเลีย
พ.ศ. 2551 : M.Sc. (Applied Mathematics), Australian National University, ออสเตรเลีย
พ.ศ. 2528 : Ph.D. (Mathematics), Vanderbilt University, สหรัฐอเมริกา

ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งทางวิชาการ
พ.ศ. 2520-2530 : อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2530-2533 : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2533-2539 : รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2539-2548 : ศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน : ศาสตราจารย์ ระดับ 11 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ตำแหน่งบริหาร
พ.ศ. 2532-2538 : ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2533-2537 : รองหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2541-2549 : หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2541-ปัจจุบัน : ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หน้าที่และกิจกรรมในองค์กรระดับประเทศ
พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน : ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์
พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน : สมาชิกมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน : กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์ภายภาพและคณิตศาสตร์
พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน : กรรมการประเมินผลการดำเนินงาน ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

หน้าที่และกิจกรรมในองค์กรระดับนานาชาติ
พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน : Reviewer, Mathematical Reviews, American Mathematical Society
พ.ศ. 2545 : Chair of Local Organizing Committee, International Conference in Computational Mathematics and Modeling, 2002, Bangkok, Thailand
พ.ศ. 2546 : Chair of Organizing Committee, International Conference in Algebra and Geometry, 2003, Bangkok, Thailand
พ.ศ. 2548 : Scientific Committee, International Conference in Mathematics and Applicable 2005, Bangkok, Thailand
พ.ศ. 2549 : Scientific Committee, International Conference on Applicable Harmonic Analysis : Approximation and Computation, 2006, Beijing, PR China
พ.ศ. 2550 : Program Committee, International Conference on Simulation and Modeling, 2007, Chiang Mai, Thailand
พ.ศ. 2550 : Chair of Local Organizing Committee, International Conference in Mathematics and Applications 2007, Bangkok, Thailand
พ.ศ. 2551 : Program Committee, the 10th International Conference on Molecular Systems Biology Quezon City, Philippines

เกียรติคุณและรางวัล

พ.ศ. 2536 : รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
พ.ศ. 2538-2543 : ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย) จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
พ.ศ. 2541 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
พ.ศ. 2542-2548 : ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส) จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน : ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
พ.ศ. 2550 : รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาคณิตศาสตร์ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. 2526 : จัตุถาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2530 : ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2534 : ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2538 : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2541 : ประถมมาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ. 2544 : ประถมากรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2545 : เหรียญจักรพรรดิมาลา
พ.ศ. 2547 : มหาวชิรมงกุฏ

^ Go to top

คำประกาศเกียรติคุณ
รางวัล "นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น" มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

                ด้วยคณะกรรมการวางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ได้พิจารณาเห็นว่า ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่น สาขาคณิตศาสตร์ โดยเป็นผู้หนึ่งซึ่งบุกเบิกในการนำคณิตศาสตร์ไปใช้ศึกษาระบบต่าง ๆ ทางชีววิทยาการแพทย์และนิเวศวิทยา โดยมีความเชี่ยวชาญทางการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาระบบไม่เชิงเส้นการวิคราะห์และแปลผล ให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับระบบที่ศึกษา ตอบปัญหาอันเป็นที่กังขาของผู้ดำเนินการในการควบคุม ดูแล หรือรักษาโรค โดยที่งานวิจัยในด้านนี้ซึ่งเป็นการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ เข้าไปประยุกต์ใช้ในทางชีวการแพทย์ เพิ่งมีผู้สนใจเข้ามาดำเนินการในระยะไม่นานมานี้ จนเกิดเป็นกาวิจัยทางด้าน Biomathematics และ System Biology ในเวลาต่อมา ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล จึงถือว่าเป็นผู้ที่ทำงานวิจัยในหัวข้อที่บุกเบิกล้ำหน้ามาโดยตลอด

                ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล ได้นำทฤษฏีเกี่ยวกับระบบไม่เชิงเส้นเข้าไปใช้ในการจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การหลั่งฮอร์โมนหลากหลายชนิดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งความผิดปกติในการหลั่งฮอร์โมนเหล่านี้เกี่ยวโยงกับอาการป่วยเป็นโรคสำคัญต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคทางการผิดปกติของการเจริญเติบโตของร่างกาย โรคทางสมอง โรคกระดูกพรุน มะเร็ง โรคเส้นเลือดสู่หัวใจอุดตัน เป็นต้น ซึ่งผลจากการวิเคราะห์แบบจำลองสามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยและการรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

                การที่ต้องนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ในด้านชีวการแพทย์จำเป็นต้องใช้เวลามาก เพื่อศึกษาค้นคว้าให้เข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อนเกี่ยวกับระบบที่จะนำคณิตศาสตร์เข้าไปวิเคราะห์ ดังนั้นจึงต้องใช้ความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในงานวิจัยมาก ซึ่งในระยะแรก (จนกระทั่งในปัจจุบัน) ยังมีผู้ไม่เชื่อถืออีกมากว่า คณิตศาสตร์จะสามารถช่วยทางด้านชีววิทยาได้อย่างไร ทำให้เป็นการยากที่งานวิจัยจะได้รับการตีพิมพ์ เพราะมักจะต้องการเห็นหลักฐานทางคลินิก และคำอธิบายโต้เถียงอย่างเข้มข้น น่าเชื่อถือ กว่าจะเป็นที่ยอมรับ

                เนื่องจากระบบที่สำคัญในการดำรงชีวิตหลาย ๆ ระบบที่ต้องการศึกษา อาจมีความซับซ้อนมาก หรือมีขนาดเล็กมาก ๆ (ระดับนาโน) ไม่สามารถมองเห็นด้วยสายตา จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคทางการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ เพื่อจำลองระบบนั้น ๆ ให้เกิดความเข้าใจการทำงานของระบบนั้น ๆ ได้ดีขึ้น และเพิ่มความสามารถในการควบคุมและพยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ล่วงหน้า เช่น การควบคุมระดับกลูโคสในกระแสเลือดโดยอินซูลินของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สามารถช่วยให้แพทย์คาดการณ์ได้ว่า การให้อาหารป่วยร่วมกับการฉีดอินซูลิน จะมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างสับสน หรือสามารถควบคุมได้โดยวิธีใด นอกจากนั้นการที่มีความหน่วงเวลาในปฏิกิริยาของอินซูลินต่อระดับน้ำตาล จะเป็นผลอย่างไรต่อความพยายามของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น

                งานวิจัยเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนช่วยให้คาดการณ์ได้ว่า การใช้เอสโตรเจนในลักษณะต่าง ๆ แก่ผู้สูงวัยชะลออาการของโรคกระดูกพรุน จะมีประสิทธิภาพได้มากน้อยเพียงใด ระหว่างการหยุดให้ฮอร์โมนเป็นช่วง กับการให้ฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็งได้ ซึ่งในส่วนของการเกิดมะเร็งอันเกี่ยวกับการผิดปกติบางประการในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์มีชีวิตที่ตอบสนองต่อการหลั่งฮอร์โมนซึ่งเป็นต้วส่งสัญญาณนั้น ทีมวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล ก็ยังได้ศึกษาวิจัยโดยการสร้างและวิเคราะห์แบบจำลองของการส่งสัญญาณของเซลล์ จนมีผลงานวิจันที่ได้รับการยอมรับตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ

                ทั้งนี้ในระดับนานาชาติ งานวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล ได้รับการอ้างอิงมากจนมีนำงานวิจัยของศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล ไปใช้เป็นบทเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ และอ้างอิงในหนังสือเรียน ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมนานาชาติหลายครั้ง ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีนและยุโรป เป็นต้น เป็นกรรมการวิชาการของการประชุมนานาชาติ เช่น การประชุมด้าน Applicable Harmonic Analysis ณ เมื่อง Beijing ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี ค.ศ. 2006 และด้าน Molecular Systems Biology ณ เมื่อง Quezon City ประเทศฟิลิปปินส์ ปี ค.ศ. 2008 และมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ได้อยู่ได้ Top 25 hottest articles (ในวารสาร) ที่ได้รับการ download ไปอ่านทาง internet เป็นจำนวนมากที่สุด

                ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล ยังเป็นผู้ที่มีลักษณะสมานฉันท์ ให้ความช่วยเหลือผลักดันนักวิจัยรุ่นหลัง โดยไม่กีดกั้นแต่เฉพาะในสถาบันที่งานสังกัด โดยศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล เป็นผู้สร้างทีมและหัวข้อวิจัยใหม่ ๆ ได้หลายโครงการที่ลักษณะสหวิทยาการ ใช้ความเชียวชาญของบุคคลจากหลายสาขาและหลายสถาบันมาร่วมมือกันทำงานวิจัย จนกระทั่งมีผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียงติดต่อมาขอร่วมงานวิจัยด้วย จึงถือว่า ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล อยู่ในกลุ่มของผู้บุกเบิกให้การใช้เทคนิคทาง dynamical modelling จนเป็นที่ยอมรับว่าสามารถมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในทางชีวการแพทย์

                ด้วยเหตุที่ ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี เป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณวุฒิและคุณธรรม คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ยกย่อง ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาคณิตศาสตร์ ประจำปีพุทธศักราช 2550

คัดจากหนังสือ :  มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2550). รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2550.
                         กรุงเทพฯ : มูลนิธิ.

^ Go to top

วาทะ “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น”

                “...เหตุที่เราต้องเรียนคณิตศาสตร์ เพราะว่าคณิตศาสตร์นั้นเกี่ยวกับการแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับ การหาสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร หรือการสร้างที่อยู่อาศัย การจัดการโซ่อุปสงค์อุปทานและอื่น ๆ ถ้าเราไม่พัฒนาให้มีนักคณิตศาสตร์มากกว่านี้ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ก็จะทำไม่ได้ สิ่งที่เรียนมาเราก็ได้นำมาใช้ในการทำวิจัย อย่างการสร้างสมระบบการหลั่งฮอร์โมนเชื้อโรค การเพิ่มจำนวนของมันเป็นอย่างไร ระบบต้านทานเป็นอย่างไร โดยเราไม่ต้องทดลองกับคน แต่เราใช้กับโมเดลเปรียบเทียบกันว่าทางใดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เราอยากรู้เรื่องไหนก็ทำวิจัยเรื่องนั้น ไม่มีการบังคับ และยังมีทุนสนับสนุนให้กับการทำวิจัยอีกด้วย...”

^ Go to top

ห้องแสดงภาพ "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี"

^ Go to top

ที่มาภาพ : หน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2550). รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2550. กรุงเทพฯ : มูลนิธิ.