ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ฉัตรชัย เหมือนประสาท
รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาสรีรวิทยา ประจำปี 2556
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ฉัตรชัย เหมือนประสาท (ตำแหน่งทางวิชาการขณะได้รับรางวัล คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2525 ที่จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายบัณฑิต และ นางวาสนา เหมือนประสาท สำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในระหว่างที่เรียนแพทย์ นายแพทย์ ดร.ฉัตรชัย ได้รับทุนโครงการผลิตอาจารย์แพทย์ (Ph.D.-M.D. Program) เพื่อศึกษาระดับปิญญาเอกสาขาสรีรวิทยา ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วรนุช ฉัตรสุทธิพงษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ขณะที่ศึกษาปริญญาเอก ได้รับทุนจาก University of California, San Francisco ประเทศสหรัฐอเมริกาไปศึกษาวิจัยเรื่องการคิดคันยาที่ห้องปฏิบัติการของ Professor Alan S. Verkman เป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งทำให้ นายแพทย์ ดร.ฉัตรชัย ค้นพบสารเคมียับยั้งโปรตีนช่องทางผ่านคลอโรด์ Cystic fibrosis transmembrane conductance regulator (CFTR chloride channel) ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นยารักษาโรคท้องร่วง จนได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก หลังจากจบปริญญาเอก นายแพทย์ ดร.ฉัตรชัย ได้กลับไปเรียนแพทยศาสตรบัณฑิตจนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นได้กลับมารับตำแหน่งอาจารย์ที่ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาสรีรวิทยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554
ด้วยการสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร และทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วรนุช ฉัตรสุทธิพงษ์ เป็นนักวิจัยพี่เลี้ยง และทุนพัฒนานักวิจัยจาก สกว. และมหาวิทยาลัยมหิด โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วรนุช ฉัตรสุทธิพงษ์ เป็นนักวิจัยพี่เลี้ยง และทุนพัฒนานักวิจัยจาก สกว. และมหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้นายแพทย์ ดร.ฉัตรชัย มีผลงานวิจัยออกมาอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยของนายแพทย์ ดร.ฉัตรชัย ประยุกต์ใช้ความรู้ทางสรีรวิทยาในการศึกษากลไกการเกิดโรค ตลอดจนพัฒนาวิธีการใหม่ในการป้องกันและรักษาโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ หรือโรคที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ หรือ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรทางธรรมชาติของประเทศ เช่น พืชสมุนไพรผลไม้หรือของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นต้น และเป็นการวิจัยแบบสหสาขาวิชาร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ต่างสาขาวิชาหลายท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.อภิชาต สุขสำราญ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิตย์ สุขสำราญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พจนีย์ ศรีมาโนชย์ และ ดร.สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา
งานวิจัยที่ นายแพทย์ ดร.ฉัตรชัย ได้ดำเนินการแล้วคือ การพัฒนาวิธีการรักษาโรคท้องร่วงอหิวาตกโรค นายแพทย์ ดร.ฉัตรชัย ได้พัฒนาแบบจำลองการเกิดการติดเชื้ออหิวาต์ (Vibrio cholerae) ขึ้นในสัตว์ทดลองและพบว่าการคัดหลั่งคลอไรด์ของเซลล์บุลำไส้ผ่าน CFTR เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วง และได้คันพบสารเคมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ยับยั้ง CFTR และมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นยารักษาโรคท้องร่วงอหิวาตกโรค ได้แก่ สารกลุ่ม steviol ซึ่งได้รับมาจาก stevioside สารให้ความหวานจากใบหญ้าหวาน สาร hydrolysable tannin จากผลสมอ สารกลุ่ม chalcone จากดอกทองกวาว และสาร xanthone จากเปลือกมังคุด นอกจากนี้ นายแพทย์ ดร.ฉัตรชัย ยังได้ศึกษาวิจัยบทบาทของโปรตีน CFTR ในการควบคุมปริมาณอนุมูลอิสระภายในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย จนค้นพบว่า CFTR ทำหน้าที่ขนส่งกลูตาไธโอนซี่งเป็นสารด้านอนุมูลอิสระที่สำคัญออกจากเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วย และการยับยั้งการทำงานของโปรตีน CFTR สามารถเพิ่มปริมาณกลูตาไธโอนและลดปริมาณอนุมูลอิสระภายในเม็ดเลือดแดง ตลอดจนช่วยยืดอายุเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียได้
งานวิจัยอีกแนวทางหนึ่งที่ นายแพทย์ ดร.ฉัตรชัย ดำเนินการคือ การศึกษากลไกการควบคุมหน้าที่ปกป้อง (barrier function) ของลำไส้และการประยุกต์ใช้คาร์ไบไฮเดรตพอลิเมอร์จากธรรมชาติในการเพิ่มหน้าที่โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังและโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยนายแพทย์ ดร.ฉัตรชัย ได้ค้นพบว่า สารไคโตโอลิโกแซกคาไรด์ (chitooligosaccharide) เตรียมจากเปลือกุ้งสามารถเพีมหน้าที่ปกป้องของลำไส้ และสามารถใข้ในการป้องกันและฟื้นฟูเนื้อเยื่อของลำไส้ที่ถูกทำลายเนื่องจากการอับเสบได้
ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาตราจารย์ นายแพทย์ ดร.ฉัตรชัย มีผลงานตีพิมพ์ทั้งหมด 22 เรื่อง ในวารสารวิขาการนานาชาติที่มีชื่อเสียง อาทิ Pharmacology & Therapeutics. PLOS Neglected Tropical Diseases, Pharmacological Research, PLOS ONE, Pharma-ceutical Research. Journal of Pharmacology and Experimental Therapeutics และ American Journal of Physiology อีกทั้งยังได้รับเชิญเป็น reviewer ของวารสารนานาชาติชั้นนำหลายฉบับ เช่น PLOS ONE Current Pharmaceutical Design, Pharmacological Research, Carbohydrate Polymers, Future Medicinal Chemistry และ Acta Pharmacologica Sinica และได้รับรางวัลและเกียรติประวัติ อาทิ รางวัลผลการเรียนยอดเยี่ยมตลอดหลักสูตรรายวิชาสรีรวิทยาขณะเป็นนีกศึกษาแพทย์ รางวัล Dean's List สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาทีมีผลการศึกษาดีเยี่ยม จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมือง ลินเดา ครั้งที่ 60 ประจำปี พศ. 2555 ของ สกว. เมธีวิจัย สกว. ปี 2556 และรางวัลอาจารย์ตัวอย่าง ระดับต้นถึงระดับกลาง ประจำปี พศ. 2556 จากสภาอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาข้อมูล : รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2556. [กรุงเทพฯ] : มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2556. ISBN 978-616-12-0289-7
ที่มาภาพ : หน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หมายเหตุ : คัดลอกตามต้นฉบับ