งานมหกรรมหนังสือมหิดล-พญาไทบุ๊คแฟร์ (Mahidol-Phayathai Book Fair)

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้และเพื่อนำพาคณะวิทยาศาสตร์ ก้าวไปสู่ "สังคมรักการอ่าน" จึงได้ริเริ่มจัดงาน "มหกรรมหนังสือ มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์" ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2548 และได้ดำเนินการต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลากว่าสิบปี โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมนิสัยการรักการอ่านให้แก่นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 2 Excellence in outcome-based education for globally – competent graduates ของมหาวิทยาลัยมหิดล ภายในงานมีการออกร้านจำหน่ายหนังสือตำราวิชาการภาษาไทยและต่างประเทศที่ผ่านการ คัดสรรจากสำนักพิมพ์ที่ได้รับการยอมรับจากแวดวงวิชาการ เป็นโอกาสอันดีที่นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร จะได้เลือกซื้อหนังสือที่มีคุณภาพ ในราคายุติธรรม สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังออกร้านจำหน่ายหนังสือทั่วไปทั้งประเภทสารคดีและบันเทิงคดี เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้นอกตำรา ช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เติมเต็มให้นักศึกษามีความรู้และประสบการณ์ที่ดี เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 1
(2-4 กุมภาพันธ์ 2548)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 2
(7-11 กุมภาพันธ์ 2549)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 3
(7-9 กุมภาพันธ์ 2550)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 4
(2-6 กุมภาพันธ์ 2552)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 5
(1-5 กุมภาพันธ์ 2553)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 6
(1-4 กุมภาพันธ์ 2554)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 7
(7-10 กุมภาพันธ์ 2555)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 8
(5-8 กุมภาพันธ์ 2556)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 9
(3-6 กุมภาพันธ์ 2558)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 10
(8-11 กุมภาพันธ์ 2559)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 11
(7-10 กุมภาพันธ์ 2560)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 12
(20-23 กุมภาพันธ์ 2561)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 13
(20-22 กุมภาพันธ์ 2562)

มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 14
(29 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2563)

BookDay@Mahidol Science
(1-3 มีนาคม 2566)