รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล

ประวัติและผลงาน (Resume & Role Profile)

(ข้อมูลล่าสุด ประจำปีงบประมาณ 2563)

ชื่อ-สกุล
ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล
Dr. Ruchareka Wittayawuttikul
ตำแหน่ง
รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสังคมสัมพันธ์ (1 มิ.ย. 63 - ปัจจุบัน)
ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (24 เม.ย. 59-23 เม.ย. 63)
ที่ปรึกษาบัณฑิตวิทยาลัย และกรรมการวิชาการบัณฑิตศึกษา
(ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเผยแพร่ผลงานวิชาการและสิ่งตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยมหิดล (27 พ.ค. 58- 30 พ.ย.61)
ประธานแผนกวิจัยและพัฒนา กรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชุดที่ 37 พ.ศ. 2560-2561
บรรณาธิการวารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ (TLA Research Journal) ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560) - ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562)
ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Reviewer) วารสารสารสนเทศศาสตร์ (2561-ปัจจุบัน)
กรรมการอำนวยการเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2559-ปัจจุบัน)
รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศและสื่อสารองค์กร คณะวิทยาศาสตร์ (1 ธ.ค. 58-23 เม.ย. 59)
รักษาการผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร (1 ต.ค.-30 พ.ย. 58)
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ (1 ธ.ค. 54-30 พ.ย. 58)
หัวหน้างานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข (1 มี.ค. 46-19 ธ.ค. 54)
หัวหน้าหน่วยสารสนเทศงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. 2544-2546)
พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง นักเอกสารสนเทศ (ระดับเชี่ยวชาญ)
ตำแหน่งอื่นๆ
- ที่ปรึกษาบัณฑิตวิทยาลัยและกรรมการวิชาการบัณฑิตศึกษา (27 พ.ค. 58- 30 พ.ย. 61)
- (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเผยแพร่ผลงานวิชาการและสิ่งตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยมหิดล
- กรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชุดที่ 37 และหัวหน้ากองบรรณาธิการวารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ (TLA Research Journal) พ.ศ. 2560-2562
ติดต่อ
งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข / งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ
สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
272 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 02-201-5891 โทรสาร 02-354-7144
e-mail : ruchareka.wit@mahidol.edu
   Ruchareka CV
 linkedin.com/in/ruchareka
 facebook.com/ruchareka
 LINE ID : ruchareka
การศึกษา
พ.ศ. 2521-2524

วท.บ. (เทคนิคการแพทย์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. 2526-2528

วท.ม. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2553-2557

ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การพัฒนาแบบจำลองเครือข่ายทางสังคมเพื่อเพิ่มผลผลิตงานวิจัยของอาจารย์ใน มหาวิทยาลัยวิจัยไทย

การฝึกอบรมและดูงาน
พ.ศ. 2543

ผ่านการฝึกอบรมโครงการ Library Development Fellowship Program ของ Thailand-Australia Science & Engineering Assistance Project (TASEAP) ณ ประเทศออสเตรเลีย ระยะเวลา 4 สัปดาห์ (15 ต.ค.-11 พ.ย. 43)

พ.ศ. 2546

ศึกษาดูงานระบบสารสนเทศและห้องสมุด ณ มหาวิทยาลัยโอซาก้า มหาวิทยาลัยเกียวโต และ Nara Institute of Science and Technology ประเทศญี่ปุ่น (3-8 พ.ย. 46)

พ.ศ. 2547

ผ่านการอบรมหลักสูตร Managing & Leading Teams for Innovation and Success สำหรับผู้บริหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (15 พ.ค. 47)

พ.ศ. 2548

ศึกษาดูงานด้านจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ ณ มหาวิทยาลัยโอซาก้า มหาวิทยาลัยเกียวโต และมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (29 พ.ย.-3 ธ.ค. 48)

พ.ศ. 2549

ผ่านการอบรมการวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สำหรับผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ (24-28 เม.ย. 49)

พ.ศ. 2550

ผ่านการอบรม โครงการพัฒนานักบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Executive Development Program) รุ่นที่ 4 ระยะเวลา 4 เดือน (20 มี.ค. - 26 ก.ค. 50)

พ.ศ. 2552

ผ่านการอบรมหลักสูตร โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการทำงาน สำหรับบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ รุ่นที่ 1 ระยะเวลา 4 เดือน (9 มี.ค. - 2 มิ.ย. 52)
เข้าร่วมการประชุม The 5th QS Asia Pacific Professional Leaders in Education Conference and Exhibition (5th QS-APPLE) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ร่วมกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล (24-26 พ.ย. 52)

พ.ศ. 2553

เข้าร่วมการประชุม The 6th QS Asia Pacific Professional Leaders in Education Conference and Exhibition (6th QS-APPLE) ที่มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมเป็นเจ้าภาพ ณ Suntec Singapore International Convention & Exhibition Center ประเทศสิงคโปร์ (15-19 พ.ค. 53)
เข้าร่วมการประชุมและอบรม Social Media Conference 2010 ของ NECTEC สวทช. (23-24 มี.ค. 53)

พ.ศ. 2554

ผ่านการอบรมหลักสูตร TOEIC Success (32 hours) ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (7 มี.ค.-8 เม.ย. 54)
ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัย Curtin University, Perth ประเทศออสเตรเลีย (27-31 ก.ค. 54)
เข้าร่วมการประชุมและอบรม European Summer School for Scientometrics ที่มหาวิทยาลัย Vienna ประเทศออสเตรีย (12-16 ก.ย. 54)

พ.ศ. 2557

ศีกษาดูงานด้านระบบการเรียนการสอนระดับปริญญาเอก สาขาสารสนเทศศาสตร์ และศึกษาดูงานห้องสมุด มหาวิทยาลัย และหอสมุดแห่งชาติสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) (15-21 ก.พ. 2557)

พ.ศ. 2559

เข้าร่วมประชุม 12th AUNILO Meeting: Libraries of ASEAN University Network ณ Universiti Brunei Darussalam ประเทศเนกาบรูไนดารุซาลาม (22-26 พ.ย. 59)
ศึกษาดูงาน Entrepreneurship and Innovation Ecosystems: Universities and Agencies in Singapore ณ ประเทศสิงคโปร์ (10-11 พ.ย. 59)
เข้าร่วมการประชุม Asia Pacific Regional Council Meeting 2016 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (30 พ.ย.-3 ธ.ค. 59)
เข้าร่วมการประชุม IFLA World Library and Information Congress (IFLA-WLIC 2017) ณ เมืองวรอตสวัฟ ประเทศโปแลนด์ในฐานะกรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ (16-27 ส.ค. 2560)

พ.ศ. 2561

เข้าร่วมการประชุม EBSCO Academic Advisory Board ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (21 ม.ค.-23 ม.ค. 61)
เข้าร่วมประชุม 14th AUNILO Meeting: Libraries of ASEAN University Network ณ มหาวิทยาลัยเกิ่นเทอ ประเทศเวียดนาม (2-4 ก.ค. 61)

พ.ศ. 2562

ผ่านการอบรมโครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Advanced Management Program: MU-AMP) รุ่นที่ 4 ระยะเวลา 90 ชั่วโมง (14 มี.ค.– 18 มิ.ย. 62)
ผ่านการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร ตาม กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 (เลขทะเบียนวุฒิบัตร จป.บร-62-0012)
เข้าร่วมประชุมและเป็นตัวแทนประเทศไทย นำเสนอ Country Report ในงานประชุม 15th AUNILO Meeting: Libraries of ASEAN University Network ณ มหาวิทยาลัยกัดจาห์ มาดา เมืองยอกยาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย (4-9 ส.ค. 62)
เข้าร่วมการประชุม Wiley Asia-Pacific Library Advisory Board (Lab) Meeting 2019 ณ ประเทศสิงคโปร์ (4-6 ก.ย. 62)
ผ่านการอบรมหลักสูตรครูสมาธิรุ่นที่ 44 จตุจัตตาฬีสโม วุฒิญาณ (ความเจริญแห่งความรู้) หลักสูตร 6 เดือน ของมูลนิธิสถาบันพลังจิตตานุภาพ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร สำนักงานใหญ่ วัดธรรมมงคล

พ.ศ. 2563

ผ่านการอบรมโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2563 หลักสูตร TQA Criteria รุ่นที่ 11 ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

พ.ศ. 2563

ผ่านการอบรมหลักสูตร "การกำกับและบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย ตามกรอบแนวทาง COSO Enterprise Risk Management Integrating with Strategy and Performance" รุ่น 2 จากสถาบันคลังสมองของชาติ (27-28 ส.ค. 63)

เป็นกรรมการและงานพิเศษอื่นๆ
ระดับคณะ
  • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและประเมินผลการควบคุมภายใน คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมพิเศษ และวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะกรรมการบริหารงานบุคคล คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะกรรมการพัฒนาการทำงานของคณะวิทยาศาสตร์
  • คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาและการจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะอนุกรรมการสวัสดิการคณะวิทยาศาสตร์
ระดับมหาวิทยาลัย
  • คณะกรรมการพิจารณาวารสารและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะกรรมการวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะกรรมการพัฒนาหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
ระดับประเทศ
  • คณะกรรมการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในประเทศ ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • เลขานุการคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ และ session chair ของงานประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2558 (16th Congress of Southeast Asian Librarians - CONSAL XVI)
  • หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง "การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ปี 2557 (คณะทำงาน 1)" ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • คณะกรรมการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 3 พ.ศ. 2558 ของ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
  • หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง "การวิเคราะห์ คุณภาพผลงานวิจัยในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2548-2557) ของอาจารย์และนักวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ" ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ประธานกรรมการฝ่ายลงทะเบียนและพิธีการ คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 49 ประจำปี พ.ศ. 2560
ผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ (Publications)

1) รุจเรขา อัศวิษณุ (2548) “ค่า Impact Factor ความสำคัญที่มีต่อบทความวิจัยระดับนานาชาติ” ใน ยอดหทัย เทพธรานนท์ และประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ บรรณาธิการ การเขียนบทความวิจัยระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน้า 23-30 กรุงเทพมหานคร มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

2) Svasti MRJ, Asavisanu R. (2006). “Update on Thai publications in ISI databases (1999-2005).” ScienceAsia 32, 2:101-106.

3) Svasti MRJ, Asavisanu R. (2006). “Don't forget the name of your university/institution and remember how it is spelled: another look at ISI databases.” ScienceAsia 32, 3:207-213.

4) Svasti MRJ, Asavisanu R. (2549) “Four Decades of Excellence in Research – Revealed by International Database Searches.” ใน 48 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2501-2549) หนังสือที่ระลึก 4 รอบ แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 21 ตุลาคม 2549 กรุงเทพมหานคร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หน้า 67-70

5) Svasti MRJ, Asavisanu R. (2007). “Aspects of Quality in Journals: A Consideration of the Journals Published in Thailand.” ScienceAsia 33, 2:137-143.

6) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2551) “Social Networking กับการประยุกต์ใช้ในมหาวิทยาลัย”. รังสิตสารสนเทศ, มกราคม-มิถุนายน 14(1), 18-21

7) Chatsurachai S, Wittayawuttikul R, and Suriyaphol P. (2009). “Comparison of Using Scopus and PubMed for Compiling Publications with Siriraj Affiliation.” Siriraj Medical Journal 61, 2(March-April): 71-74.

8) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2552) “การจัดการความรู้: ประสบการณ์ของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข”. โดมทัศน์, กรกฎาคม-ธันวาคม 30(2), 3-9

9) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2553) “Information Commons กับแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้” ใน การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 28 วันที่ 22-24 กันยายน 2553 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์กลางนครราชสีมา หน้า 46-49

10) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล (2553) “การวิเคราะห์เนื้อหาในงานวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ระดับนานาชาติ” ใน การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง จากการสนเทศสู่นวัตกรรม (From Information to Innovation) วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน้า 1-9

11) สถิตย์ สิริสิงห สิทธิชัย ขุนทองแก้ว รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2553) “การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานวิจัยระดับนานาชาติ ของคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2543-พ.ศ. 2551เชียงใหม่ทันตแพทยสาร, กรกฎาคม-ธันวาคม 31(2), 47-57

12) Sirisinha S, Koontongkaew S, Phantumvanit P, Wittayawuttikul R. (2011). “Reflections on a decade of research by ASEAN dental faculties: analysis of publications from ISI-WOS databases from 2000 to 2009”. Journal of Investigative and Clinical Dentistry 2: 72-80.

13) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2555) “ข้อควรระวัง หากส่งบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสารประเภท Open Access”. บัณฑิตศึกษาสารสนเทศ, พฤษภาคม 23(192), 8-9

14) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล และ น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2555) “การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม กับงานวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์”. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, กรกฎาคม-ธันวาคม 5(2), 126-140

15) Ruchareka Wittawuttikul. (2013). "Science Library works closely with Elsevier to support young research scientists at Mahidol University." Library Connect. Aug 14, 2013.

16) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2556) “การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ : ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต (1)”. ประชาคมวิจัย, พฤษภาคม-มิถุนายน 19(109), 39-50 (ดาวน์โหลด)

17) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2556) “การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ : ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต (2)”. ประชาคมวิจัย, กรกฏาคม - สิงหาคม 19(110),33-47

18) น้ำทิพย์ วิภาวัน และ รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2557) “Massive Open Online Course (MOOC) กับความท้าทายของห้องสมุดมหาวิทยาลัย”. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, มกราคม-มิถุนายน 7(1), 78-89

19) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล, น้ำทิพย์ วิภาวัน และ นงเยาว์ เปรมกมลเนตร. (2558) “การพัฒนาแบบจำลองเครือข่ายทางสังคมเพื่อเพิ่มผลผลิตงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย”. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, มกราคม-มิถุนายน 8(1), 1-21

20) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2558) “BIG DATA, LITTLE DATA, NO DATA: SCHOLARSHIP IN THE NETWORKED WORLD (บทวิจารณ์หนังสือ)”. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, กรกฎาคม-ธันวาคม 8(2), 128-130

21) ชุติมา สัจจานันท์, ปรียาพร ฤกษ์พินัย, รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล, ทัศนา หาญพล, สุจิตร สุวภาพ, และประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์. (2559). “ห้องสมุด ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และสังคม : การประชุมวิชาการนานาชาติห้องสมุดและสารสนเทศของอิฟล่า ค.ศ. 2017” . วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, กรกฎาคม-ธันวาคม 61(2), 9-26.

22) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2560) “คู่มือสร้างโมเดลธุรกิจ (บทวิจารณ์หนังสือ)”. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, มกราคม-มิถุนายน 10(1), 112-113

23) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2562) “OKRs@Work บริหารผลงานสู่ความเป็นเลิศด้วย OKRs (บทวิจารณ์หนังสือ)”. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, กรกฎาคม-ธันวาคม 12(2), 115-117

24) รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2564) “AI Superpowers: จีน อเมริกา มหาอำนาจ Technology เงินตรา อนาคต (แนะนำหนังสือดีที่น่าอ่าน)”. วารสารการอ่าน สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย, มกราคม-มิถุนายน 25(1).

Keynote Speaker และ Session Chair
พ.ศ. 2556

ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษ หัวข้อ “ข้อควรพิจารณาในการตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการที่เป็น Open Access” ในการประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2556 ณ โรงแรมเดอะรีเจนท์ชะอำบีช รีสอร์ท หัวหิน ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
รายละเอียด 1 l รายละเอียด 2

พ.ศ. 2557

ได้รับเชิญเป็น Keynote speaker บรรยายในหัวข้อ”Open Access Journals: Quantity VS Quality” ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 2nd ASEAN Plus Three Graduate Research Congress (2nd AGRC) ระหว่าง วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงแรมเอส 31 สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สภาคณบดี บัณฑิตวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2558

ได้รับเชิญเป็น Parallel Session Chair ในงานประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2558 (16th Congress of Southeast Asian Librarians - CONSAL XVI) จัดโดยหอสมุดแห่งชาติและสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

พ.ศ. 2559

ได้รับเชิญเป็น Keynote speaker บรรยายพิเศษ หัวข้อ “How to Choose a Good Quality of Open Access Journal: Significance and Impact” ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 38 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกัยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ประชุมคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทคบร.) และสภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.)

ได้รับเชิญเป็น Invited Speaker บรรยายพิเศษ หัวข้อ "Journal and Article Metrics: Pros and Cons" และเป็น Co-chair ในงานประชุมวิชาการ Asia Pacific Association of Medical Journal Editors ประจาปี 2559 (APAME2016) จัดโดย แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2560

ได้รับเชิญเป็น Keynote Speaker บรรยายพิเศษ หัวข้อ "บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ในการสนับสนุนมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0" ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 7 จัดโดย สานักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัย

ส่วนภูมิภาค (PULINET) ระหว่างวันที่ 11-12 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับอาเซียน 13th AUNILO Meeting: Libraries of ASEAN University Network ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา (7-11 ส.ค. 60)

ได้รับเชิญเป็น Speaker ในงาน Elsevier eBooks Forum 2017 – SEA Connecting the Dots: Reshaping the Library to Enhance Research Output ณ โรงแรม DoubleTree by Hilton Sukhumvit (7 ก.ย. 60)

พ.ศ. 2561

ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษหัวข้อ "การเลือกฐานข้อมูลการเลือกวารสารในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ" โครงการ Research Mentorship 2561 วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล (8 มิ.ย. 61)

ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษ หัวข้อ "เทคนิคการสืบค้น Citation และตัวชี้วัดคุณภาพวารสาร เพื่อการเลือกวารสารตีพิมพ์" โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่ความเป็นนักวิจัยมืออาชีพครั้งที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (11 มิ.ย. 61)

ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษ หัวข้อ "นวัตกรรมการบริการสารสนเทศและการส่งเสริมการเรียนรู้ ในยุคไทยแลนด์ 4.0" โครงการสัมมนาวิชาการ หลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (26 ก.ค. 61)

พ.ศ. 2562

ได้รับเชิญเป็นผู้ร่วมเสวนา หัวข้อ "The Future of Libraries in Research Universities" งานวันสถาปนาครบรอบปีที่ ๔๒ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (24 พ.ค. 62)

ได้รับเชิญเป็นผรู้่วมเสวนาหัวข้อ "Rethink and Reform:สู่บริการห้องสมุดเต็มประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน" งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 34 จัดโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (6 มิ.ย. 62)

ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษ หัวข้อ “แนวทางการนำเกณฑ์ EdPEx/TQA/Baldrige ไปใช้กับงานหอสมุด” ที่สานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร (7 มิ.ย. 62)

ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “EdPEx กับการพัฒนากระบวนการทำงาน สู่ความเป็นเลิศ” ที่มหาวิทยาลัยพะเยา (2 ก.ย. 62)

พ.ศ. 2563

ได้รับเชิญเป็นผู้ร่วมเสวนาออนไลน์ "Virtual Forum : Library Service Through COVID-19 Challenges and Opportunities for Library" จัดโดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น (30 เม.ย. 63)

Oral Presentation

สถานภาพการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย” นำเสนอในการประชุมทางวิชาการระดับชาติ มสธ.วิจัย ประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558 ณ อาคารสัมมนา 1 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ทุนวิจัยที่ได้รับ
พ.ศ. 2557

ทุนวิจัยจากสำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ประจำปี 2557 จากโครงการวิจัยเรื่อง "การพัฒนาแบบจำลองเครือข่ายทางสังคมเพื่อเพิ่มผลผลิตงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย"

พ.ศ. 2558

ทุนอุดหนุนโครงการวิจัย ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โครงการ "การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ปี 2557 (คณะทำงาน 1)"

พ.ศ. 2559

ทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง "การวิเคราะห์ คุณภาพผลงานวิจัยในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2548-2557) ของอาจารย์และนักวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ"

รางวัลและการยกย่องเชิดชูเกียรติ
พ.ศ. 2545

ได้รับพระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทดีเด่นเฉพาะทาง สาขาการบริการ ประจำปีการศึกษา 2544 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2545

พ.ศ. 2551

ได้รับรางวัลบุคลากรสายสนับสนุนผู้มีผลงานดีเด่น ด้านบริการดีเด่น จากที่ประชุมประธานสภาข้าราชการ และลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) ประจำปี 2550 (เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2551)

ได้รับเกียรติบัตร ในฐานะศิษย์เก่าที่นำชื่อเสียงมาสู่คณะฯ ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล (เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2551 ในงานคืนสู่เหย้า ครบรอบ 48 ปี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน)

เป็นประธานคณะกรรมการเครือข่ายผู้ดูแลเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Webmaster เว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล (ภาคภาษาอังกฤษ) ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ (Gold Medal) จากการประกวด QS-APPLE Creative Award ประเภท Best International Website Pages ในงานประชุมวิชาการ QS Asia Pacific Professional Leaders in Education Conference and Exhibition ครั้งที่ 4 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี (9-11 กรกฎาคม 2551)

พ.ศ. 2552

เป็นที่ปรึกษาทีม Webmaster ของเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับ รางวัลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2551 รางวัลชนะเลิศประเภทเว็บไซต์ยอดนิยม (รับรางวัลในวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล 2 มี.ค. 2552)

ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทบริการ ประจำปี 2551 (มี.ค. 2552)

พ.ศ. 2553

เป็นที่ปรึกษาทีม Webmaster ของเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับรางวัลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2552 ระดับดีเยี่ยม และรางวัลชนะเลิศด้านปริมาณของเว็บไซต์ (รับรางวัลในวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล 2 มีนาคม 2553)

พ.ศ. 2554

เป็นที่ปรึกษาทีม Webmaster ของเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับ รางวัลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2553 จำนวน 3 รางวัล คือ รางวัลการพัฒนาเว็บไซต์ระดับดีเด่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภท Visibility รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภท Size (Web Pages) (รับรางวัลในวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล 2 มีนาคม 2554)

ได้รับการยกย่องประกาศเกียรติคุณยกย่องเป็น คนดีศรีมหิดล ของสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ (จุลสารศิษย์เก่ามหิดลสัมพันธ์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2554)

พ.ศ. 2556

เป็นที่ปรึกษาทีม Webmaster ของเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับ รางวัลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2555 จำนวน 2 รางวัล คือ รางวัลชนะเลิศประเภทเว็บไซต์ออกแบบดีเด่น และ รางวัลชมเชยประเภทเว็บไซต์ยอดนิยม (รับรางวัล 27 กุมภาพันธ์ 2556)

ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นักเอกสารสนเทศ (ระดับเชี่ยวชาญ) สาขาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ย. 2555)

ได้รับโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณนักศึกษาดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2555 ด้านความสำเร็จในอาชีพ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พ.ศ. 2558

ได้รับโล่รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากผลงานวิจัยเรื่อง "การพัฒนาแบบจำลองเครือข่ายทางสังคมเพื่อเพิ่มผลผลิตงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย"
จากการประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 3 จัดโดยสำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
www.nstru.ac.th/herp3/index.php/th/result_award
ภาพข่าวรับรางวัล

พ.ศ. 2559

ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2558 จาก สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
http://www.tla.or.th
ภาพข่าวรับรางวัล

ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น สาขาผลงานเด่น ประจำปีการศึกษา 2558 จากงานวันสถาปนา ครบรอบ 38 ปี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ภาพข่าวรับรางวัล

พ.ศ. 2560

ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณและเกียรติบัตร ผ่านการตรวจประเมินมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2559 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้อานวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพข่าวรับรางวัล

ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณในฐานะผู้ให้การสนับสนุนข้อมูลเข้าระบบ “คลังทรัพยากรการศึกษาระบบเปิด” และ “คลังบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด” ประจำปี 2560 ตามโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 มษายน 2558 ของ สวทช. (ในฐานะผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล)
ภาพข่าวรับรางวัล

พ.ศ. 2562

ได้รับรางวัลสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับประเทศ ระดับดีเยี่ยม (ทอง) ประจำปี 2561 ของ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ในฐานะผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล)
ภาพข่าวรับรางวัล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)